สัญญาณอันตราย คุณกำลังเสี่ยงภาวะ “หมดไฟในการทำงาน” หรือไม่?

สัญญาณอันตราย คุณกำลังเสี่ยงภาวะ “หมดไฟในการทำงาน” หรือไม่?

สัญญาณอันตราย คุณกำลังเสี่ยงภาวะ “หมดไฟในการทำงาน” หรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เคยไหมที่ทำงานแล้วรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากทำงานอย่างสาเหตุไม่ได้ แม้ว่าคุณจะไม่ได้ป่วยอะไรเลยก็ตาม คุณอาจกำลังเสี่ยงภาวะหมดไฟในการทำงาน (ฺBurnout) ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่วัยทำงานหลายคนกำลังประสบอยู่


สัญญาณอันตราย คุณกำลังเสี่ยงภาวะ “หมดไฟในการทำงาน” หรือไม่?

อาการทางกาย

  • เหนื่อย อ่อนล้าตลอดเวลา

  • ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ

  • ภูมิคุ้มกันต่ำลง เจ็บป่วยบ่อย

  • ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง ทั้งไม่อยากอาหาร และหิวตลอดเวลา

  • การนอนเปลี่ยนแปลง นอนไม่หลับ นอนดึกตื่นสาย นอนดึกตื่นเร็ว หรือนอนไม่เป็นเวลา


อาการทางพฤติกรรม

  • ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง และคนรอบข้าง

  • แปลกแยกจากคนอื่น อาจลามไปถึงเพื่อน และคนในครอบครัว

  • เฉื่อยชา ในเวลามากขึ้นในการทำงานเดิมที่เคยทำได้

  • หันไปใช้ตัวช่วยอย่างยา แอลกอฮอล์ เพื่อแก้เครียด

  • ระบายความอึดอัดใจกับคนรอบข้าง

  • ขาดงาน เข้าสาย หรือกลับบ้านก่อน


อาการทางอารมณ์

  • รู้สึกล้มเหลวในชีวิต ไม่ภูมิใจในตัวเอง และสิ่งที่ตัวเองทำ

  • เกิดความสงสัยในตัวเอง เช่น ตัวเองเก่งหรือไม่ ทำไมตัวเองทำได้ไม่ดี

  • ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน

  • รู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้แพ้

  • รู้สึกแปลกแยกจากสังคมรอบข้าง

  • ไม่พอใจในตัวเอง รวมถึงไม่รู้สึกว่าตัวเองประสบความสำเร็จในการทำงาน


วิธีแก้ไข ภาวะหมดไฟในการทำงาน

  1. หาสาเหตุที่ทำให้รู้สึกแย่กับตัวเอง ว่ามาจากความคิดของตัวเอง คำพูดของคนรอบข้าง เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย หรือใดๆ ก็ตาม

  2. สำรวจคุณภาพงานของตัวเองอย่างซื่อตรง ว่าตัวเองทำได้ดีอย่างที่ควรเป็นหรือไม่ ควรพัฒนาฝีมือตัวเองให้ดีขึ้น หรือจริงๆ ทำดีแล้วแต่คนอื่นไม่เห็น

  3. มองหาคุณค่าของงานที่ตัวเองทำ ว่างานของเราทำให้คนที่ได้รับไปมีความสุขหรือไม่ เป็นประโยชน์ต่อใครหรือไม่

  4. ถามใจตัวเองให้ดีว่า รักในงานที่ตัวเองทำอย่างแท้จริงหรือไม่ ถ้าไม่ ตัวเองอยากทำอะไร แล้วมองหางานที่ตัวเองอยากทำจริงๆ

  5. ไม่กดดันตัวเองมากเกินไป แต่ก็พยายามรักษามาตรฐานงานของตัวเองอยู่เรื่อยๆ อย่าให้ต่ำกว่ามาตรฐาน สามารถสอบถามความพึงพอใจของงานตัวเองกับหัวหน้างานได้โดยตรง (อาจถามเพื่อนร่วมงานที่ไว้ใจเพิ่มเติมด้วยได้)

  6. เปิดใจ รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น แต่หากมีปัญหาขัดแย้งกัน ให้พูดคุยกันด้วยเหตุผล

  7. รักษาสมดุลของชีวิตการทำงาน และเรื่องส่วนตัวให้ดีอยู่เสมอ (work-life balance)

  8. ออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพของตัวเองอยู่เสมอ

  9. เล่าเรื่องที่ไม่สบายใจให้คนรอบตัวที่ไว้ใจได้รับฟัง

  10. หากมีอาการผิดปกติ เช่น เครียดจนนอนไม่หลับ กินข้าวไม่ลง คิดงานไม่ได้ ควรพบจิตแพทย์เพื่อหาทางรักษาต่อไป

>> “เบิร์นเอาท์” หมดไฟในการทำงาน กับ 5 สิ่งที่ควรทำเพื่อกลับมามีพลังอีกครั้ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook