“ชานมไข่มุก” ในไทย ยี่ห้อไหน “น้ำตาล” สูงที่สุด?
ฉลาดซื้อเผยผลตรวจวิเคราะห์สารกันบูด น้ำตาล และโลหะหนัก ในชานมไข่มุก 25 ยี่ห้อ พบตัวอย่างเม็ดไข่มุกมีสารกันบูด 100% แต่ไม่เกินมาตรฐาน มีเพียง 2 ยี่ห้อ ที่น้ำตาลน้อยกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ บางยี่ห้อสูงถึง 18 ช้อนชา
ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ สุ่มเก็บตัวอย่างชานมไข่มุกในเดือนพฤษภาคม 2562 จำนวน 25 ยี่ห้อ ขนาดแก้วปกติ แบบไม่ใส่น้ำแข็ง ที่มีราคาตั้งแต่แก้วละ 23 - 140 บาท ส่งตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ ได้แก่ ปริมาณพลังงาน น้ำตาล และไขมัน รวมถึงทดสอบหาโลหะหนักประเภทตะกั่ว และสารกันบูดในเม็ดไข่มุก
จากผลทดสอบพบว่า ยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลต่อแก้วน้อยที่สุด ได้แก่ ยี่ห้อ KOI Thé โดยมีปริมาณน้ำตาลเท่ากับ 16 กรัม (4 ช้อนชา) และยี่ห้อที่มีปริมาณน้ำตาลต่อแก้วมากที่สุด ได้แก่ ยี่ห้อ CoCo Fresh Tea & Juice มีปริมาณน้ำตาล 74 กรัม (18.5 ช้อนชา)
ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำปริมาณน้ำตาลที่ได้รับต่อวัน ไม่ควรเกิน 24 กรัม (6 ช้อนชา) และพบว่า มีเพียง 2 ยี่ห้อเท่านั้นที่มีปริมาณน้ำตาลน้อยกว่า 24 กรัม คือ ยี่ห้อ KOI Thé และ ยี่ห้อ TEA 65°
ลำดับ |
ยี่ห้อชานมไข่มุก |
ปริมาณต่อแก้ว (กรัม) * |
คุณค่าทางโภชนาการ (หน่วย / น้ำหนักหนึ่งแก้ว) |
ราคาแก้วละ (บาท) |
|
ปริมาณน้ำตาล(g.) |
ปริมาณน้ำตาล (ช้อนชา) *** (น้ำตาล 4 กรัม = 1 ช้อนชา) |
||||
1 |
KOI Thé |
173 g. |
16 |
4 |
70.- |
2 |
TEA 65° |
306 g. |
22 |
5.50 |
80.- |
3 |
Brown Café & Eatery |
272 g. |
29 |
7.25 |
65.- |
4 |
Fire Tiger by Seoulcial Club |
289 g. |
31 |
7.75 |
140.- |
5 |
ATM |
280 g. |
32 |
8 |
65.- |
6 |
Mister Donut |
255 g. |
33 |
8.25 |
35.- |
7 |
Nobicha |
267 g. |
33 |
8.25 |
24.- |
8 |
BRIX Desert Bar |
277 g. |
33 |
8.25 |
85.- |
9 |
Mr.Shake |
306 g. |
36 |
9 |
55.- |
10 |
The ALLEY |
412 g. |
36 |
9 |
110.- |
11 |
Chamuku |
389 g. |
37 |
9.25 |
29.- |
12 |
Nuu tea |
451 g. |
38 |
9.50 |
24.- |
13 |
Monkey Shake |
393 g. |
39 |
9.75 |
35.- |
14 |
Nomi Mono |
375 g. |
43 |
10.75 |
75.- |
15 |
Crown Bubble |
452 g. |
43 |
10.75 |
50.- |
16 |
JIN |
306 g. |
44 |
11 |
35.- |
17 |
KAMU |
420 g. |
44 |
11 |
60.- |
18 |
Tea Story |
428 g. |
46 |
11.50 |
60.- |
19 |
DAKASI tea |
446 g. |
46 |
11.50 |
65.- |
20 |
Fuku MATCHA |
445 g. |
47 |
11.75 |
50.- |
21 |
Ochaya |
438 g. |
50 |
12.50 |
35.- |
22 |
Cha…Ma |
341 g. |
59 |
14.75 |
23.- |
23 |
Formosa |
450 g. |
65 |
16.25 |
40.- |
24 |
MOMA’S Bubble Tea Bar |
404 g. |
68 |
17 |
24.- |
25 |
CoCo Fresh Tea & Juice |
699 g. |
74 |
18.50 |
70.- |
หมายเหตุ: * ปริมาณน้ำหนักต่อแก้ว (กรัม) ของชานมไข่มุก เป็นขนาดแก้วปกติของแต่ละยี่ห้อ (ไม่รวมน้ำแข็ง)
ส่วนผลการทดสอบสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) และกรดซอร์บิก (Sorbic Acid) ในเม็ดไข่มุก พบว่า ยี่ห้อที่มีปริมาณสารกันบูดน้อยที่สุด ได้แก่ ยี่ห้อ The ALLEY มีปริมาณกรดซอร์บิก เท่ากับ 58.39 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และยี่ห้อที่พบปริมาณสารกันบูดรวมมากที่สุด ได้แก่ ยี่ห้อ BRIX Desert Bar พบปริมาณกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกรวมกัน เท่ากับ 551.09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม แต่ไม่เกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ตามที่แสดงดังตารางต่อไปนี้
ลำดับ |
ยี่ห้อชานมไข่มุก |
สารกันบูด (mg/kg) |
โลหะหนัก |
||
กรดเบนโซอิก |
กรดซอร์บิก |
รวม |
ตะกั่ว |
||
1 |
The ALLEY |
- |
58.39 |
58.39 |
- |
2 |
Mister Donut |
34.44 |
27.02 |
61.46 |
- |
3 |
CoCo Fresh Tea & Juice |
- |
62.55 |
62.55 |
- |
4 |
Nuu tea |
68.19 |
52.85 |
121.04 |
- |
5 |
ATM |
67.51 |
57.52 |
125.03 |
- |
6 |
MOMA’S Bubble Tea Bar |
68.64 |
57.42 |
126.06 |
- |
7 |
TEA 65° |
63.01 |
63.56 |
126.57 |
- |
8 |
Tea Story |
73.52 |
59.00 |
132.52 |
- |
9 |
Brown Café & Eatery |
77.69 |
67.87 |
145.56 |
- |
10 |
Fuku MATCHA |
88.93 |
59.52 |
148.45 |
- |
11 |
Mr.Shake |
82.82 |
66.11 |
148.93 |
- |
12 |
Formosa |
86.93 |
70.18 |
157.11 |
- |
13 |
Crown Bubble |
120.46 |
53.17 |
173.63 |
- |
14 |
KAMU |
104.30 |
73.33 |
177.63 |
- |
15 |
DAKASI tea |
122.03 |
55.81 |
177.84 |
- |
16 |
Nobicha |
95.10 |
95.94 |
191.04 |
- |
17 |
Cha…Ma |
111.73 |
90.71 |
202.44 |
- |
18 |
Nomi Mono |
112.86 |
93.64 |
206.50 |
- |
19 |
KOI Thé |
- |
216.95 |
216.95 |
- |
20 |
Monkey Shake |
122.89 |
101.37 |
224.26 |
- |
21 |
JIN |
129.99 |
104.36 |
234.35 |
- |
22 |
Ochaya |
160.21 |
131.55 |
291.76 |
- |
23 |
Fire Tiger by Seoulcial Club |
152.04 |
186.71 |
338.75 |
- |
24 |
Chamuku |
221.07 |
292.41 |
513.48 |
- |
25 |
BRIX Desert Bar |
300.60 |
250.49 |
551.09 |
- |
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหาร นิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า จากผลการทดสอบต้องการให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า ชานมไข่มุกบางยี่ห้อ มีน้ำตาลมากเกือบ 19 ช้อนชา หากลองนึกภาพตามว่าน้ำตาลปริมาณ 19 ช้อนชานั้นมากมายขนาดไหน ก็จะทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการบริโภคได้มากขึ้น และทุกยี่ห้อมีสารกันบูด แต่ไม่มียี่ห้อไหนที่ให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคเลย
นางสาวสารี กล่าวอีกว่า ฉลากสัญญาณไฟจราจรจะทำให้ผู้บริโภคทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ได้ทราบถึงปริมาณของพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้ ตัวอย่างเช่น หากเป็นผู้ที่มีปัญหาสุขภาพและทานโซเดียมมากไม่ได้ เมื่อเห็นสัญญาณไฟจราจรสีแดงตรงโซเดียมก็จะทำให้คนนั้นทราบและลดการทานผลิตภัณฑ์ดังกล่าวน้อยลงได้ จึงอยากฝากข้อเสนอไปถึงผู้ประกอบการให้มีการปรับปรุงหรือลดปริมาณสารอาหารให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ด้วยการปรับฉลากให้เป็นมิตรกับผู้บริโภค ดูแล้วเข้าใจได้ง่าย เพื่อทำให้ผู้บริโภคได้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพมากขึ้นในท้องตลาด อีกทั้งอยากให้มีการปรับลดขนาดปริมาณต่อแก้ว (Serving Size) ลงให้เหมาะสม เพื่อควบคุมไม่ให้ผู้บริโภคได้รับปริมาณพลังงานและน้ำตาลต่อแก้วสูงจนเกินไป เพราะเมื่อผู้บริโภคซื้อชานมไข่มุก ก็อาจบริโภคจนหมดแก้วเพราะความเสียดาย ทำให้พลังงานและน้ำตาลที่ได้รับในหนึ่งมื้อนั้นมากจนเกินความจำเป็น
“ในชานมไข่มุกนั้นมีสารกันบูด จึงขอให้ผู้ประกอบการระบุในฉลากให้ถูกต้อง ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาด้วย และ อย. ควรเร่งผลักดันให้เกิดฉลากสัญญาณไฟจราจร เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพอาหารให้เป็นมิตรกับผู้บริโภคเพิ่มขึ้น และหวังว่าการให้ข้อมูลเรื่องชานมไข่มุกจะมีประโยชน์กับการตัดสินใจของผู้บริโภค” นางสาวสารีกล่าว
ผลักดันไอเดีย "ฉลากสัญญาณไฟจราจร" ให้ทราบปริมาณสารอาหารอย่างชัดเจน
ส่วนนายพชร แกล้วกล้า นักวิชาการด้านอาหาร มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ต้นแบบฉลากสัญญาณไฟจราจร หรือ ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (Guidline Daily Amounts : GDA) หรือฉลากหวานมันเค็มมีที่มาจากประเทศอังกฤษ ได้เกือบ 20 ปีแล้ว โดยในอังกฤษเป็นการเริ่มทำแบบที่เรียกว่าฉลากสมัครใจ ต่อมาจึงเป็นฉลากแบบบังคับ จนถึงตอนนี้ซุปเปอร์มาร์เก็ตในทุกห้างทั่วประเทศอังกฤษมีการบังคับให้มีการติดฉลากแบบนี้ทั้งหมดแล้ว ฉลากดังกล่าวเป็นการแสดงปริมาณสารอาหาร 4 ช่อง แบ่งเป็น พลังงาน (กิโลแคลอรี) น้ำตาล (กรัม) ไขมัน (กรัม) และโซเดียม (มิลลิกรัม) ต่อหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ (ถุง ซอง กล่อง) โดยจะแสดงฉลากด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นได้ชัดเจนและอ่านได้ง่ายขึ้น เพื่อให้เห็นว่าหากทานหมดถุงแล้วจะเป็นอย่างไร
แต่อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าฉลากบนนี้ไม่ได้บอกให้ทราบว่าควรกินมากน้อยแค่ไหน เพียงแต่บอกปริมาณที่ทานว่ามีปริมาณเท่าไรเท่านั้น ตัวอย่างเช่น บอกว่าพลังงาน 900 กิโลแคลอรี น้ำตาล 30 กรัม ไขมัน 50 กรัม และโซเดียม 1,000 มิลลิกรัม คำถาม คือ ตัวเลขเหล่านี้เยอะหรือน้อย ซึ่งแต่ละคนให้ค่าตัวเลขเหล่านี้ไม่เท่ากัน เช่น 1,000 สำหรับบางคนอาจจะเยอะมากหรือสำหรับบางคนอาจจะเล็กน้อยก็ได้ ดังนั้น หากนำปริมาณสารอาหารเหล่านี้มาใส่เกณฑ์อาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นกว่าหรือไม่ กล่าวคือ นำสิ่งที่นักโภชนาการแนะนำว่าควรทานเท่าไรมาทำเกณฑ์สี ได้แก่ สีแดงจะอยู่ในปริมาณที่สูงเกินเกณฑ์ ควรหลีกเลี่ยงในการทานครั้งต่อไป สีเหลืองอยู่ระดับสูงแต่พอดีเกณฑ์ ควรระมัดระวังในการทานครั้งต่อไป หากเลี่ยงได้ก็ควรจะเลี่ยง และสีเขียวอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถรับประทานได้แต่ไม่ควรทานเกินสองครั้งต่อหนึ่งวัน
มองว่าการทำฉลากสัญญาณไฟจราจรจะทำให้ฉลากสัญญาณไฟจราจรจะทำให้ผู้บริโภคทุกๆ คน ทราบถึงปริมาณของสารอาหารในผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้ และยังทำให้สามารถเลือกทานอาหารที่เหมาะกับตัวเองได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย
ปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมในแต่ละวัน
ด้านทันตแพทย์หญิงมัณฑนา ฉวรรณกุล รองผู้จัดการโครงการฯ เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน กล่าวว่า ด้านปริมาณน้ำตาล องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา (24 กรัม) โดยผลทดสอบชานมไข่มุก ยี่ห้อที่มีน้ำตาลน้อยสุด คือ 16 กรัม (4 ช้อนชา) และมากสุด คือ 74 กรัม (18.5 ช้อนชา) ซึ่งเกินกว่าปริมาณที่ควรได้รับถึง 3 เท่า และแม้เครื่องดื่มจะมีน้ำตาลน้อยกว่า 24 กรัม แต่ก็พบว่า ในหนึ่งแก้วมีปริมาณน้ำตาลต่อวันไปแล้ว 2 ใน 3 ซึ่งคาดได้ว่า ปริมาณการบริโภคจะเกินข้อแนะนำ
“เครื่องดื่มเหล่านี้เป็นเครื่องดื่มที่ควรงดการดื่ม เพราะเป็นแหล่งอุดมน้ำตาล ซึ่งปริมาณน้ำตาลที่สูงหากได้รับในคราวเดียว จะรบกวนระบบการ Metabolite ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นกลุ่มโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต (NCDs) ได้” ทันตแพทย์หญิงมัณฑนากล่าว