“ประคบร้อน-ประคบเย็น” อาการแบบไหน ควรใช้วิธีใด

“ประคบร้อน-ประคบเย็น” อาการแบบไหน ควรใช้วิธีใด

“ประคบร้อน-ประคบเย็น” อาการแบบไหน ควรใช้วิธีใด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายครั้งที่เมื่อเกิดอาการบาดเจ็บ เราจะใช้วิธีประคบเพื่อบรรเทาอาการปวด แต่บางครั้งก็สงสัยว่าเราควรจะประคบร้อน หรือประคบเย็น อาการแบบไหนควรประคบแบบใด Sanook! Health จึงขอแนะนำการประคบร้อน ประคบเย็น เอาไว้ดังนี้


ประคบเย็น 

หากมีอาการปวดหรือได้รับบาดเจ็บเฉียบพลัน ควรประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำเย็นทันที (ภายใน 24-48 ชั่วโมง) ประคบนาน 20-30 นาที วันละ 2-3 ครั้ง 

อาการที่ควรประคบเย็น เช่น ปวดศีรษะ มีไข้สูง ปวดฟัน ปวดบวมข้อเท้า ข้อเคล็ด เลือดกำเดาไหล แขนขาฟาดกับของแข็งที่คาดว่าจะเกิดรอบฟกช้ำดำเขียว หรือ ปวดบวมบริเวณอื่นๆ ที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเพิ่งมีอาการใหม่ๆ

อาจใช้เจลสำหรับประคบร้อนเย็นแบบสำเร็จรูปหรือทำถุงน้ำแข็งขึ้นใช้เอง โดยการใช้ถุงพลาสติกขนาดพอเหมาะแล้วเติมน้ำเปล่าผสมน้ำแข็งอย่างละครึ่งลงไปในถุง ตรวจสอบว่าไม่เย็นเกินไปโดยการนำมาประคบผิวหนัง 

ถ้าบริเวณที่มีอาการเป็นบริเวณมือ แขน ขา หรือเท้า อาจใช้การแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเย็นแทน โดยแช่นานประมาณ 15-20 นาที


ประคบร้อน 

การประคบร้อนจะเริ่มใช้หลังจากมีอาการผ่านไปแล้ว 48 ชั่วโมง ให้ประคบครั้งละ 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อลดอาการปวดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ อาการที่ควรประคบร้อน เช่น ปวดตึงของกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า หลัง น่อง ปวดประจำเดือน รวมถึงรอยฟกช้ำดำเขียวที่เกิดขึ้นมากกว่า 48 ชั่วโมง

อาจใช้เจลสำหรับประคบร้อนเย็นแบบสำเร็จรูป ใช้กระเป๋าน้ำร้อน หรืออาจใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อน โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมไม่ควรเกิน 45 องศาเซลเซียส 

สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ ไม่ควรประคบด้วยความร้อนที่มากเกินไป เพราะจะทำให้รู้สึกแสบร้อนบริเวณที่ประคบ ไม่ควรประคบนานหรือถี่เกินไป และต้องไม่ประคบร้อนในบริเวณที่มีบาดแผลเปิดหรือมีเลือดออก เพราะจะยิ่งทำให้มีการอักเสบเพิ่มมากขึ้น จะประคบร้อนได้ก็ต่อเมื่อการอักเสบน้อยลงแล้ว ซึ่งสังเกตได้จากไม่มีอาการบวม แดง ร้อน

ผู้สูงอายุ เด็ก ประคบร้อน หรือประคบเย็น?

ผู้สูงอายุ และเด็กๆ มีผิวหนังที่บางกว่าวัยอื่นๆ การประคบเย็น หรือร้อน ควรทดสอบให้แน่ใจว่าไม่ร้อน หรือเย็นเกินไป การประคบร้อนหรือเย็นก็ไม่ควรประคบนานจนเกินไปเช่นกัน

การแช่เท้าด้วยน้ำอุ่นๆ หรือนอนแช่ในน้ำอุ่น ช่วยการผ่อนคลาย กระตุ้นการไหลเวียนโลหิต กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นได้ แต่อาจต้องวัดอุณหภูมิน้ำต้องมีความเหมาะสมด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook