วัยใด ควรตรวจ "ตา" บ้าง? บ่อยแค่ไหน?

วัยใด ควรตรวจ "ตา" บ้าง? บ่อยแค่ไหน?

วัยใด ควรตรวจ "ตา" บ้าง? บ่อยแค่ไหน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เด็กแรกเกิดและทุกช่วงอายุ ตลอดจนกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงและผู้มีโรคประจำตัว ควรได้รับการตรวจสุขภาพดวงตาอย่างน้อยปีละครั้ง

นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ดวงตาเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีความสำคัญ การมีดวงตา สายตาที่ปกติทำให้ประกอบภารกิจประจำวันทั้งเรื่องส่วนตัวและการงานได้อย่างครบถ้วน มีชีวิตที่เป็นสุข สุขภาพจิตดี ครอบครัวมีความสุข อย่างไรก็ตามพบว่าโรคตาหลายชนิดมักเกิดจากโรคซึ่งรักษาได้หากมารับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม ดังนั้นการตรวจตาจึงเป็นสิ่งจำเป็น แม้ยังไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ได้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น ได้รับการวินิจฉัยโรคตาที่ไม่มีอาการเตือนได้แต่เนิ่นๆ เพื่อการรักษา ที่เหมาะสม

อายุเท่าไร ควรตรวจตาบ่อยแค่ไหน?

แพทย์หญิงสายจินต์ อิสีประดิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้มีอาการผิดปกติทางตา ควรไปพบจักษุแพทย์ทันทีที่มีอาการ สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการผิดปกติ ได้แก่ กลุ่มคนปกติกับกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงควรได้รับการตรวจเช่นกัน

ในกลุ่มคนปกติ คือ เด็กแรกเกิด กุมารแพทย์จะตรวจร่างกายเป็นประจำ ช่วงอายุ แรกเกิดถึง 5 ปี ควรได้รับการตรวจดวงตา สายตา ภาวะตาเข และป้องกันภาวะตาขี้เกียจ หากตรวจพบการรักษาจะได้ผลดี 

ช่วงอายุ 6 – 20 ปี เป็นช่วงวัยเรียนชั้นประถม มัธยม และมหาวิทยาลัย มักมีภาวะสายตาผิดปกติอาจสายตาสั้น ยาว หรือเอียง ซึ่งควรได้รับการแก้ไข

ในช่วงอายุ 20 – 29 ปี เป็นวัยเรียนต่อกับวัยทำงาน อาจไม่พบโรคตามากนักนอกจากมีอาชีพที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ

ช่วงอายุ 30 – 39 ปี เป็นวัยสายตาเริ่มเปลี่ยนแปลงควรได้รับการตรวจสัก 2 ครั้ง

ส่วนช่วงอายุ 40 – 65 ปี เป็นวัยเริ่มเข้าสู่ผู้สูงอายุ อาจพบโรคตาได้ควรได้รับการตรวจ 1-2 ปีต่อครั้ง

และอายุ 65 ปีขึ้นไป มักมีโรคตาที่เสื่อมตามวัยควรตรวจตาปีละครั้ง 


กลุ่มเสี่ยงที่ต้องตรวจตาตามเวลาอย่างเคร่งครัด

กลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยง ควรตรวจตาอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำ ได้แก่

  1. เด็กเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม หรืออายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์

  2. ผู้มีปัจจัยเสี่ยงของโรคต้อหิน เช่น สายตาสั้นมาก มีประวัติต้อหินในครอบครัว เคยได้รับการผ่าตัดตามาก่อน

  3. ผู้เป็นเบาหวาน

  4. ผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อจอตาฉีกขาดและหลุดลอก ได้แก่ เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา สายตาสั้นมาก มีประวัติโรคนี้ในครอบครัว

  5. ผู้มีโรคทางกายที่ต้องใช้ยาบางตัวต่อเนื่อง เช่น ยารักษาวัณโรค ยารักษาโรคข้อ เป็นต้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook