4 โรคอันตรายจาก “ปลาร้า” และวิธีกินอย่างปลอดภัย

4 โรคอันตรายจาก “ปลาร้า” และวิธีกินอย่างปลอดภัย

4 โรคอันตรายจาก “ปลาร้า” และวิธีกินอย่างปลอดภัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปลาร้า ถูกนำมาประกอบอาหารอย่างหลากหลายในบ้านเรา ทั้งส้มตำ แกงเห็ด และอื่นๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะอาหารอีสานที่ขึ้นชื่อเรื่องรสชาติจัดจ้าน แต่อาหารหมักดองประเภทนี้ หากรับประทานไม่ถูกวิธี อาจเสี่ยงหลายโรค

 
4 โรคเสี่ยงจากปลาร้าและวิธีกินอย่างปลอดภัย

  1. พยาธิใบไม้ตับ

พยาธิใบไม้ตับ เป็นพยาธิใบไม้ชนิดหนึ่งที่ตัวแก่อาศัยอยู่ในท่อน้ำดีของคน สุนัขและแมว แต่สามารถพบได้ในปลาดิบ เนื้อปลาร้าดิบ น้ำปลาร้าดิบ ลักษณะของพยาธิจะมีรูปร่างแบนคล้ายใบไม้ ส่วนหัวและท้ายเรียวมน ขนาดยาว 5-10 มิลลิเมตร กว้าง 0.7-1.5 มิลลิเมตร สีแดงเรื่อคล้ายสีโลหิตจางๆ 

ผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ตับเมื่อเริ่มแสดงอาการ ผู้ป่วยจะแน่นท้องที่ใต้ชายโครงขวา อาจจุกแน่นไปที่ใต้ลิ้นปี่ อาการอื่น ๆ ได้แก่ เบื่ออาหาร ท้องอืด ตับโต ถ่ายเหลวเป็นบางครั้ง มีไข้ต่ำ ๆ มีอาการ “ออกร้อน” ในระยะท้ายของโรคผู้ป่วยอาจมี ท่อน้ำดีอุดตัน เกิดภาวะตัวเหลืองหรือดีซ่าน มีตับโตมาก คลำได้เป็นก้อนแข็ง ผิวขรุขระ ตับนุ่มอ่อน มีน้ำในช่องท้องและมีอาการบวมน้ำ ผู้ป่วยอ่อนเพลีย น้ำหนักลด เมื่อมะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะระบบอื่นๆ อาการจะทรุดหนักและเสียชีวิต

  1. มะเร็งท่อน้ำดี

พยาธิใบไม้ตับ เมื่อเป็นหนักๆ ในระยะเวลานาน อาจเสี่ยงมะเร็งท่อน้ำดีได้ เนื่องจากพยาธิใบไม้ตับเป็นพยาธิชนิดเดียวในประเทศไทยที่องค์การอนามัยโลกยอมรับ และจัดให้เป็นเชื้อก่อมะเร็ง นอกจากนี้ในปลาร้าดิบจะมีสารไนโตรซามีน ที่เป็นสารก่อมะเร็งในร่างกายอีกด้วย

  1. กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเหน็บชา

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดจากการขาดวิตามินบี 1 หรือภาวะเป็นโรคเหน็บชา ส่วนใหญ่มักมีอาการอ่อนแรงและชา ที่แขนและขา ปลายมือ ปลายเท้า บวม แดง ส่วนการขาดวิตามินบี 1 เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีวิตามินไม่เพียงพอ เช่น การรับประทานแต่ข้าวขาวที่ผ่านการขัดสี หรืออาหารที่มีสารทำลายวิตามินบี 1 ได้แก่ ปลาน้ำจืดดิบ หอยลายดิบ ปลาร้า ใบชา ใบเมี่ยง หมากพลู ปลาส้มดิบ แหนมดิบ เป็นต้น

  1. โรคไต

แน่นอนว่าปลาร้าเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีเทียบเท่าโปรตีนจากแหล่งอาหารอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีสารอาหารอื่นๆ เช่น ฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินเค อีกด้วย แต่ปริมาณโซเดียมที่สูงจัดจากการปรุงรสด้วยเกลือจำนวนมาก และการปรุงรสด้วยปลาร้าในอาหารต่างๆ ก็เหมือนกับการใส่เครื่องปรุงรสมากเกินไป จึงเสี่ยงต่อการได้รับโซเดียมมากเกินความต้องการในแต่ละวัน จนอาจเสี่ยงโรคไตได้

วิธีรับประทานปลาร้าอย่างปลอดภัย

  1. ต้มปลาร้าให้สุกก่อนรับประทานทุกครั้ง ทั้งเนื้อปลาร้า และน้ำปลาร้า

  2. ไม่รับประทานปลาร้า และน้ำปลาร้ามากเกินไป

  3. ดูแลรักษาสัตว์ที่เป็นแหล่งแพร่กระจายของพยาธิใบไม้ตับ คือ สุนัข แมว ฯลฯ (อาหารประเภท หอย ปลา กินแบบปรุงสุก) เพื่อกำจัดตัวอ่อน พยาธิใบไม้ในโฮส์กึ่งกลาง (อาหารทุกเมนูปรุงให้สุกด้วยความร้อน)

  4. รับประทานปลาร้ากับผักชนิดต่างๆ เพื่อให้ได้คุณค่าทางสารอาหารมากยิ่งขึ้น

  5. นำปลาร้าไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เช่น ปลาร้าบอง ปลาร้าสับ ฯลฯ ก่อนรับประทาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook