โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) ปัญหาสุขภาพจิตที่คนดัง และคุณอาจต้องเผชิญ

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) ปัญหาสุขภาพจิตที่คนดัง และคุณอาจต้องเผชิญ

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) ปัญหาสุขภาพจิตที่คนดัง และคุณอาจต้องเผชิญ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นอกจากโรคซึมเศร้าที่กำลังเป็นที่สนใจของคนไทยในปัจจุบันมากขึ้นแล้ว โรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตอีกโรคหนึ่งที่สร้างปัญหาให้คนดังหลายคน และอาจจะเป็นใครคนใดคนหนึ่งที่คุณรู้จัก รวมทั้งอาจเป็นคุณได้ด้วย คือ โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder)

มินะ สมาชิกเกิร์ลกรุ๊ปเกาหลีชื่อดัง TWICE ต้องพักรักษาตัวจนต้องยกเลิกการร่วมแสดงคอนเสิร์ตไปหลายงานเพื่อรักษาโรควิตกกังวล ในขณะที่สาว เจนนี่ จากวง BLACKPINK ก็มีอาการของโรควิตกกังวลจนแฟน ๆ สามารถสังเกตท่าทางไม่ปกติของเธอขณะกำลังแสดงอยู่บนเวที รวมไปถึงศิลปินวัยรุ่นชื่อดังระดับโลกจากอเมริกาอย่างหนุ่ม Shawn Mendes ที่เผยว่าเขามีอาการของโรควิตกกังวลจนต้องปรึกษาแพทย์ และกินยาระหว่างทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลก


โรควิตกกังวล คืออะไร ?

ความวิตกกังวล เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดที่มีประโยชน์ในบางสถานการณ์ เพราะช่วยให้เราตื่นตัว และพร้อมรับมือกับปัญหาหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามโรควิตกกังวลมีความแตกต่างจากความรู้สึกวิตกกังวลทั่ว ๆไป คนที่เป็นโรควิตกกังวลจะรู้สึกวิตกกังวล และกลัวอย่างเกินเหตุ จนมีผลทางลบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

โรควิตกกังวล เป็นโรคที่พบได้มากในกลุ่มประชากรทั่วไป ปัจจุบันกลุ่มโรควิตกกังวลได้แบ่งโรคในกลุ่มนี้ออกเป็น 12 โรค แต่ที่พบได้บ่อย คือ โรคแพนิก (panic disorder, PD) กับโรคกังวลทั่วไป (generalized anxiety disorder, GAD)


โรคแพนิก

โรคแพนิก จัดเป็นโรควิตกกังวลชนิดที่พบได้บ่อย สามารถพบได้ตั้งแต่ในวัย 20 ปีถึงวัยกลางคน มีลักษณะอาการที่สำคัญ ได้แก่

  1. มีอาการแพนิกที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน โดยใช้เวลาในการเกิดอาการราว 10 นาที เช่น
  • แน่นหน้าอก

  • ใจสั่น

  • หวาดกลัว

  • หายใจไม่ออก

  • เวียนศีรษะ

  • คลื่นไส้

  • จุกแน่นท้อง

  • มือเท้าเย็น

  • รู้สึกชา เหมือนเป็นเหน็บ

  • รู้สึกเหมือนควบคุมตัวเองไม่ได้

  • รู้สึกเหมือนตัวเองกำลังจะตาย หรือเป็นบ้า
  1. มีอาการมากกว่า 1 ครั้ง หรือเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เป็นเวลามากกว่า 1 เดือน

  2. ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดอาการขึ้นเมื่อไร อาจเกิดขึ้นตอนกำลัง

  3. พิสูจน์แล้วว่าอาการทั้งหมดที่เกิดขึ้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยา สารต่าง ๆ หรือสาเหตุทางกายอื่น ๆ

ระดับของอาการมีตั้งแต่ระยะแรกที่มีอาการไม่มาก ไปจนถึงมีอาการหนักจนส่งผลให้เกิดอาการของโรคซึมเศร้า เนื่องจากไม่สามารถดำเนินชีวิตตามปกติได้ หวาดกลัวจนไม่กล้าทำอะไรคนเดียว หลีกเลี่ยงทุกสิ่งที่หวาดกลัว ผิดหวัง และละอายกับตัวเอง บางรายหันไปพึ่งยาเสพติด แอลกอฮอล์ และไปสู่การฆ่าตัวตายได้เช่นกัน


โรคกังวลทั่วไป

อาการวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจะไม่มีอาการรุนแรงเหมือนโรคแพนิก แม้จะมีสิ่งที่ทำให้วิตกกังวล แต่ยังสามารถดำเนินกิจกรรมที่ทำอยู่ได้ ยังไม่ต้องหยุดทำกิจกรรมในทันทีเหมือนโรคแพนิก ไม่ได้มีอาการกลัวว่าตัวเองจะตาย ไม่มีพฤติกรรมหลีกเลี่ยง หรือพึ่งพาอะไรมากเกินไป

อาการวิตกกังวลอาจเกิดขึ้นจากการทำงาน เรียน ครอบครัว หรือเรื่องส่วนตัวอื่น ๆ โดยผู้ป่วยรู้ตัวว่าตัวเองมีความกังวล แต่ไม่สามารถควบคุมให้ตัวเองคลายความกังวลลงได้

อาการของโรคกังวลทั่วไป เช่น

  • กระสับกระส่าย

  • อ่อนเพลีย

  • หงุดหงิดง่าย

  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

  • สมาธิสั้น

  • นอนหลับยาก หรือหลับไม่สนิท


แนวทางในการรักษาโรควิตกกังวล

หลังจากการประเมิน และวินิจฉัยว่าเป็นโรควิตกกังวลจริง แพทย์อาจพิจารณาการรักษาโดยไม่ใช้ยาก่อนเป็นอันดับแรก โดยการอธิบายถึงโรค และอาการที่ผู้ป่วยกำลังเป็นอยู่ แนะนำให้ผู้ป่วยซักถาม รวมถึงญาติของผู้ป่วยด้วย เพื่อรับคำแนะนำจากแพทย์ในการปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการที่อาจเกิดขึ้น

นอกจากนี้แพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานยา ควบคู่ไปกับการฝึกสมาธิ ฝึกจินตนาการ ฝึกคิดในทางบวก


โรควิตกกังวล สามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับคำแนะนำ การรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การรับประทานยาเป็นประจำ จนสามารถลดความแรงของยา ลดความถี่ในการรับประทานยา จนสามารถหยุดยา และใช้ชีวิตตามปกติได้เหมือนเดิม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook