“มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” ติด 1 ใน 6 มะเร็งที่เจอบ่อยในคนไทย เจอก่อนหายขาดได้

“มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” ติด 1 ใน 6 มะเร็งที่เจอบ่อยในคนไทย เจอก่อนหายขาดได้

“มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” ติด 1 ใน 6 มะเร็งที่เจอบ่อยในคนไทย เจอก่อนหายขาดได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศ.นพ.ธานินทร์ อินทรกำธรชัย ประธานชมรมโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแห่งประเทศไทย กล่าวว่า โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยาที่พบได้บ่อยติดอันดับ 1 ใน 6 ของโรคมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย สถานการณ์ของโรคในปัจจุบัน พบว่ามีผู้ป่วยใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองปีละกว่า 3,000 ราย หรือเทียบเท่า 8 รายต่อวัน โดยสูงสุดอยู่ที่ช่วงอายุ 60-70 ปี


สาเหตุของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ในปัจจุบันยังไม่สามารถบอกสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทุกรายได้อย่างชัดเจนแต่พบมีความสัมพันธ์กับหลายภาวะ ได้แก่ 

การติดเชื้อ : พบความสัมพันธ์ระหว่างโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง บางชนิดกับการติดเชื้อเช่น การติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร การติดเชื้อไวรัส EBV (Epstein-Barr Virus) 

ภาวะพร่องภูมิคุ้มกันของร่างกาย : ผู้ป่วยติดเชื้อ เอชไอวี พบอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้น โรคภูมิแพ้ตนเอง ผู้ป่วยโรคเอสแอลอี 

นอกจากนี้ยังพบอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้นการสัมผัสสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลงจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง


วิธีรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ถึงแม้โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะพบมาก แต่ก็เป็นโรคมะเร็งเพียงไม่กี่ชนิดที่มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ โดยยาเคมีบำบัดร่วมกับยาโมโนโคลนอลแอนติบอดี การฉายแสง และการปลูกถ่ายไขกระดูก หรือสเต็มเซลล์


มะเร็งต่อมน้ำเหลือง พบไว หายขาด หรืออาจกลับมาเป็นซ้ำ

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แบ่งเป็น 4 ระยะ หากผู้ป่วยได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะที่ 1 มีโอกาสหายขาดถึงร้อยละ 70-90%

ส่วนผู้ป่วยที่รับการรักษาในระยะที่ 2-4 มีโอกาสหายขาด ร้อยละ 60 โดย 60% ตอบสนองกับการรักษามาตรฐาน อีกกว่า 40% ไม่ตอบสนองกับการรักษา ซึ่งแบ่งเป็น 15% ที่ดื้อต่อการรักษา และ 25% ที่กลับมาเป็นซ้ำภายในระยะเวลา 2-3 ปี และจะมีอาการของโรคมากขึ้น เกิดภาวะดื้อยาไม่ตอบสนองกับการรักษา


อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันในคนไข้กลุ่มที่ไม่ตอบสนองกับการรักษา ได้มีวิธีการรักษารวมไปถึงยาที่ได้รับการพัฒนา เข้ามาเป็นทางเลือกให้คนไข้กลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งผลการรักษาได้ผลดีในระดับที่น่าพอใจและหลังจบการรักษาผู้ป่วยควรดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอและพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยามีจำนวนมากขึ้น ประจำอยู่ในเกือบทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ รวมไปถึงวิวัฒนาการการรักษาที่ช่วยให้คนไข้มีชีวิตที่ยืนยาวมากยิ่งขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook