"ตากระตุก" เกิดจากอะไร เป็นบ่อยๆ อันตรายหรือไม่

"ตากระตุก" เกิดจากอะไร เป็นบ่อยๆ อันตรายหรือไม่

"ตากระตุก" เกิดจากอะไร เป็นบ่อยๆ อันตรายหรือไม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“ขวาร้าย ซ้ายดี” เป็นความคิดของคนที่เกิดอาการ “ตากระตุก” กระตุกทีไรจะรีบเช็กทันทีว่าตากระตุกข้างซ้าย หรือข้างขวา เพราะเราเชื่อกันแบบนั้น แต่จริงๆ แล้ว อาการตากระตุกเกิดจากอะไร แล้วหากเกิดอาการตากระตุกบ่อยๆ จะอันตรายหรือไม่

ตากระตุก เกิดจากอะไร

นพ. นนท์ รัตนิน จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลจักษุรัตนิน ระบุว่า อาการตากระตุก เกิดจากกระแสประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณรอบดวงตามากผิดปกติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  

อาการตากระตุกมีความรุนแรงตั้งแต่ตากระตุกเล็กน้อย ไม่นานก็หายได้เอง ไปจนถึงตากระตุกจนตาปิด รวมไปถึงอาการตาเขม่น ที่เป็นอาการหนังตา หรือเปลือกตากระตุก เป็นได้ทั้งเปลือกตาบน และเปลือกตาล่าง  

ปัจจัยเสี่ยงของอาการตากระตุก

  1. ดวงตาอ่อนล้าจากการใช้งานดวงตาหนัก เช่น จ้องจอคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นานๆ

  2. ความเครียด ความกังวล

  3. พักผ่อนไม่เพียงพอ

  4. ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมาก

  5. อาการข้างเคียงของโรคลมชัก

ตากระตุกแบบไหน ถึงไม่ปกติ

โดยทั่วไปแล้วหากเกิดอาการตากระตุก ไม่ว่าจะเป็นด้านขวา หรือซ้าย ไม่ถือว่าเป็นโรคร้ายแรงหรืออันตรายใดๆ แต่หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบมาพบแพทย์

  1. ตากระตุกติดต่อกันทุกวันเกิน 1 สัปดาห์ 

  2. มีอาการกระตุกที่บริเวณอื่นด้วย เช่น มุมปาก 

  3. ตากระตุกพร้อมกันทั้งสองข้าง

  4. ตากระตุกแรงมากจนตาปิด รบกวนการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน

  5. มีอาการผิดปกติที่ตาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ตาบวม ตาแดง มีขี้ตามาก เป็นต้น

วิธีหลีกเลี่ยงอาการตากระตุก

ตามปกติแล้วอาการตากระตุกไม่อันตราย และสามารถหายได้เอง แต่หากไม่อยากมีอาการตากระตุก สามารถทำได้ดังนี้

  1. ลดการใช้งานคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้น้อยลง หากมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ดังกล่าว ควรพักสายตาราว 5-10 นาที ระหว่างการใช้งานทุกๆ 30 นาที - 1 ชั่วโมง

  2. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หรือ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน

  3. พยายามทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด หรือกังวลจนเกินไป

  4. ลดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนให้น้อยลง

  5. นายแพทย์สมาน ตั้งอรุณศิลป์ ระบุว่า หากตากระตุกหนักมาก แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัดแยกเส้นเลือดออกจากเส้นประสาท ไม่ใช่วิธีรักษาให้หายขาด แต่เป็นการช่วยบรรเทาอาการตากระตุกให้น้อยลง หรือเบาลงได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook