ปัจจัยเสี่ยง "มะเร็งปอด" อาการของโรคมะเร็งปอด ที่พบบ่อย และวิธีป้องกัน

ปัจจัยเสี่ยง "มะเร็งปอด" อาการของโรคมะเร็งปอด ที่พบบ่อย และวิธีป้องกัน

ปัจจัยเสี่ยง "มะเร็งปอด" อาการของโรคมะเร็งปอด ที่พบบ่อย และวิธีป้องกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมการแพทย์เผยสัญญาณอันตราย มะเร็งปอด หากพบไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะเป็นเลือด หายใจลำบาก เหนื่อยหอบมีเสียงหวีด เสียงแหบหรือเสียงเปลี่ยนไป เจ็บหน้าอกหรือหัวไหล่ ปอดติดเชื้อง่าย เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา ลดเสี่ยงมะเร็งปอด

นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคมะเร็งเป็นปัญหาสำคัญ ทางสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคมะเร็งปอดที่คนทั่วโลกป่วยและเสียชีวิตมากที่สุด สำหรับประเทศไทย โรคมะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับที่ 2 ในเพศชาย และอันดับ 5 ในเพศหญิง สถาบันวิจัยมะเร็งนานาชาติ องค์การอนามัยโลก รายงานว่ามีผู้ป่วยรายใหม่ทั่วโลก 2 ล้านคนต่อปี และเสียชีวิต 1.7 ล้านคนต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติในปี 2557 มีผู้ป่วยมะเร็งปอดเพศชายรายใหม่จำนวน 9,779 คน หรือคิดเป็น 27.4 คนต่อประชากรแสนคนและเพศหญิงจำนวน 5,509 คน หรือคิดเป็น 14.2 คนต่อประชากรแสนคน และในปี 2559 มีคนไทยเสียชีวิต 13,414 คนต่อปี

ปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งปอด

นายแพทย์วีรวุฒิ  อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคมะเร็งปอด คือ

  1. การสูบหรือรับควันบุหรี่

  2. พันธุกรรม

  3. สัมผัสสารก่อมะเร็งอื่นๆ ที่พบว่าเป็นสาเหตุได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งปอดเช่น ก๊าซเรดอน แร่ใยหิน รังสีควันธูป ควันจากท่อเสีย และมลภาวะทางอากาศ 

อาการของโรคมะเร็งปอด ที่พบบ่อย ได้แก่

  • ไอเรื้อรัง

  • ไอมีเสมหะเป็นเลือด

  • หายใจลำบาก

  • เหนื่อยหอบ

  • มีเสียงหวีด

  • เสียงแหบหรือเสียงเปลี่ยนไป

  • เจ็บหน้าอกหรือหัวไหล่

  • ปอดติดเชื้อง่าย

  • เหนื่อยง่าย

  • อ่อนเพลีย

  • เบื่ออาหาร

  • น้ำหนักลด 

มะเร็งปอด ไม่มีตรวจคัดกรอง

ในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดที่มีประสิทธิภาพในระดับประชากร แต่มีคำแนะนำให้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงในการเกิดมะเร็งปอดเข้ารับการคัดกรองเป็นประจำทุกปี หรือหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้อย่างต่อเนื่องเกิน 3 สัปดาห์ ควรรีบปรึกษาแพทย์การรักษาโรคมะเร็งนี้ คือการผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัดการฉายรังสี และการรักษาโดยให้ยามุ่งเป้าทำลายเซลล์มะเร็ง ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ในระยะใดของโรคดังนั้นการตรวจคัดกรองในรายที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดสูงอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปอดในระยะเริ่มแรกได้และให้การรักษาตั้งแต่เนิ่นๆทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้นแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ 

วิธีป้องกันโรคมะเร็งปอด

การป้องกัน ด้วยวิธีง่ายๆเพียงแค่เริ่มต้น “เลิกสูบบุหรี่” เพื่อตัวคุณเอง ครอบครัวและสังคมรอบข้าง และหมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์  

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook