อันตรายจาก “ฟอร์มาลีน” และวิธีเลือกซื้ออาหารทะเลให้ปลอดภัย

อันตรายจาก “ฟอร์มาลีน” และวิธีเลือกซื้ออาหารทะเลให้ปลอดภัย

อันตรายจาก “ฟอร์มาลีน” และวิธีเลือกซื้ออาหารทะเลให้ปลอดภัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เราอาจจะเคยได้ยินมานานมากแล้วว่ามีการตรวจพบ “ฟอร์มาลีน” ในอาหารทะเล เพื่อรักษาความสดของอาหารเอาไว้ให้ได้นานยิ่งขึ้น และที่น่ากลัวคือในปัจจุบันก็ยังสุ่มตรวจเจออยู่เรื่อย ๆ เราในฐานะผู้บริโภคควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้เอาไว้บ้าง เพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการบริโภคอาหารทะเลทั้งกับตัวเอง และครอบครัว


ฟอร์มาลีน คืออะไร ?

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เผยว่า ฟอร์มาลิน เป็นสารมีพิษใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ พลาสติก  สิ่งทอ และใช้เป็นยาฆ่าเชื้อโรคและเชื้อรา กรณีนี้ผู้ประกอบการนำมาใช้ในทางที่ผิด เพื่อให้อาหารสดคงความสดอยู่ได้นาน ไม่เน่าเสียง่าย


อันตรายจากฟอร์มาลีนที่ปนเปื้อนในอาหาร

การกินอาหารที่ปนเปื้อนฟอร์มาลินในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการผิดปกติกับร่างกายขึ้นได้ ได้แก่

  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง 
  • ปวดท้อง 
  • ปากและคอจะแห้ง 
  • หัวใจเต้นเร็ว 
  • แน่นหน้าอก 
  • อาจมีการถ่ายท้อง 
  • คลื่นไส้ อาเจียน 
  • ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะเป็นเลือด
  • เพลีย 
  • เหงื่อออก ตัวเย็น 
  • คอแข็ง

เป็นต้น


อาหารที่พบการปนเปื้อนฟอร์มาลีน

อาจพบฟอร์มาลีนได้ในอาหารทะเลสดทั่วไป โดยเฉพาะปลาหมึก และแมงกะพรุน รวมถึงอาหารทะเลประเภทอื่น ๆ เช่น ปลาหมึกกรอบ สไบนาง และเล็บมือนาง เป็นต้น


วิธีเลือกซื้อ-รับประทานอาหารทะเลให้ปลอดภัยจากฟอร์มาลีน

สำหรับผู้บริโภคในการเลือกซื้ออาหารทะเลสามารถใช้วิธีการดมกลิ่น ถ้าอาหารนั้นมีกลิ่นฉุนแสบจมูก ให้สงสัยว่ามีฟอร์มาลินอยู่ และก่อนการทำอาหารควรล้างให้สะอาด เพราะฟอร์มาลินส่วนมากจะถูกชะล้างออกไปหมดเนื่องจากมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี และควรปรุงอาหารให้สุกก่อนบริโภค 


ภาครัฐลงดาบผู้บริโภคผสมฟอร์มาลีนในอาหาร

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุขขอแจ้งว่า ฟอร์มาลินสามารถเกิดในสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติอยู่แล้วในปริมาณหนึ่ง ซึ่งเทคนิคการตรวจวิเคราะห์ในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุความแตกต่างระหว่างฟอร์มาลินที่เกิดตามธรรมชาติ และที่ตั้งใจเติมลงไปในอาหารเพื่อหวังผลในด้านการเก็บรักษาได้ ดังนั้นหากพบการเติมฟอร์มาลินลงไปในอาหาร และผลการตรวจวิเคราะห์พบฟอร์มาลินในปริมาณที่สูงจนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค จะเข้าข่ายเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งต้องถูกสั่งงดผลิตหรืองดจำหน่าย และประกาศผลการตรวจพิสูจน์ให้ประชาชนทราบด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook