จักรวาลโรค “โฟเบีย” อาการกลัวอะไรบ้างที่เราควรรู้จัก

จักรวาลโรค “โฟเบีย” อาการกลัวอะไรบ้างที่เราควรรู้จัก

จักรวาลโรค “โฟเบีย” อาการกลัวอะไรบ้างที่เราควรรู้จัก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คำที่เราคุ้นเคยกันดีนั่นคือ Phobia โฟเบีย แปลว่าความกลัว หรืออาการหวาดกลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากเกินไป

ความจริงคนเราทุกคนย่อมมีสิ่งที่กลัวเป็นเรื่องปกติ สิ่งนั้นอาจจะเป็นสัตว์ สิ่งของ ความมืด ความสูง ฯลฯ และความกลัวบางอย่างอาจส่งผลดี เพราะจะทำให้เราหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญกับมัน สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับตัวเองได้ด้วย

แต่ก็มีบางคนที่มีอาการกลัวบางสิ่งบางอย่างมากเกินไปจนส่งผลเสียให้ตัวเอง ทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเสียสุขภาพกายและจิต ส่งผลกระทบถึงหน้าที่การงาน ซึ่งอาการนี้อาจเข้าข่ายโรคโฟเบีย หรือเป็นความผิดปกติทางจิตเวชอย่างหนึ่ง สาเหตุของการกลัวของแต่ละคนไม่มีตายตัว อาจจะเกิดจากปมในอดีต เกิดจากความไม่สมดุลของสารเคมีบางอย่างในสมอง เกิดจากพันธุกรรม และพฤติกรรมของคนในครอบครัว บางอาการกลัวเป็นสิ่งที่แปลกและไม่น่ากลัวจนคนทั่วไปอาจจะไม่เชื่อและคิดว่าเป็นเรื่องตลก แต่สำหรับคนที่กลัวจริง ๆ เราไม่มีทางเข้าใจได้เลยว่ามันอาจจะหนักกว่าที่คิด เพราะฉะนั้นควรเลี่ยงการแกล้งคนอื่นจากอาการกลัวเหล่านั้นจะดีกว่า

สามารถแบ่งโรคความกลัวได้เป็น 3 ประเภทหลัก

  1. โรคกลัวเฉพาะอย่าง เป็นความกลัวที่พบได้ทั่วไป เช่น กลัวงู แมลงสาบ กลัวสัตว์เลื้อยคลาน กลัวเลือด กลัวความสูง กลัวความมืด

  2. โรคอะโกราโฟเบีย หรืออาการกลัวสถานการณ์บางอย่างที่อาจจะช่วยเหลือได้ยาก เช่น กลัวที่เบียดเสียด กลัวที่แคบ กลัวการขึ้นเครื่องบิน กลัวห้องที่ไม่มีหน้าต่าง เป็นต้น

  3. โรคกลัวกิจกรรมทางสังคม รู้สึกกลัวเมื่อตกเป็นที่สนใจของผู้อื่น เช่น การกลัวการพูดหน้าชั้น กลัวการพูดผ่านไมโครโฟน

เราขอพูดถึงโรคความกลัวที่น่าสนใจที่ตอนนี้เราน่าจะได้ยินกันมากขึ้นว่ามันคืออะไร? มีที่มาจากอะไร และมีแนวทางรักษาหรือเปล่า?

Trypophobia หรือ โรคกลัวรู

 lotus-podiStockTrypophobia หรือ โรคกลัวรู

โรคกลัวรู คือความกลัวอย่างหนึ่งเมื่อเห็นอะไรก็ตามที่มีลักษณะเป็นรูจำนวนมากอยู่ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นรูหรือนูนขึ้นมา มีจุดโผล่ขึ้นมาจากรู อย่างเช่น เม็ดบัว รังผึ้ง ปะการัง จะทำให้รู้สึกอึดอัด ขยะแขยง ขนลุก มีเหงื่อออก ตัวสั่น คลื่นไส้

หรือ iPhone 11 จาก Apple ที่ถูกวิจารณ์อย่างหนักด้วยรูปลักษณ์ของกล้องสามตัวที่ทรมานใจคนเป็นโรคกลัวรู หรือคนที่ไม่กลัวก็ตามที

apple_iphone-11-pro_colors_09Apple.comApple iPhone 11 Pro

สาเหตุของโรคกลัวรู้เกิดจากอะไร? 

เกิดจากสมองสั่งการให้เราคิดไปเองว่ารูนั้นอาจทำให้เกิดอันตราย แม้แต่อยู่ในสถานการณ์ที่รู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถเกิดอันตรายจากรูนั้นได้ อาจเป็นเพราะประสบการณ์ในอดีต อาจมีความผิดปกติที่เกี่ยวกับการทำงานของสมอง หรืออาจมาจากพฤติกรรมของคนในครอบครัว

แก้อาการกลัวรูยังไงดี

  • ทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกสบายตัว การหายใจเข้า-ออกลึก ๆ เล่นโยคะ ออกกำลังกายที่ต้องเคลื่อนไหว
  • รับประทานอาหารมีประโยชน์ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ค่อย ๆ เข้าใกล้สิ่งที่ตัวเองกลัวทีละนิด เพื่อเป็นการทำตัวให้ชิน และให้รางวัลตัวเองเมื่อสำเร็จไปทีละขั้น

 

Nomophobia โรคกลัวการขาดสมาร์ทโฟน

หากเป็นในยุคนี้อาการโฟเบียที่กำลังเป็นที่น่ากังวลน่าคือ Nomophobia โนโมโฟเบีย มาจากคำว่า No mobile phone phobia หรืออาการกลัวการขาดสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เราใช้สมาร์ทโฟนตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน จนเกิดอาการกังวลเมื่อไม่มีสมาร์ทโฟนติดมือ จะเกิดอาการหงุดหงิด กังวลไปก่อนหน้าว่าหากไม่มีโทรศัพท์แล้วจะทำอะไร ต้องคอยจับกระเป๋าอยู่ตลอดเวลา ซึ่งแต่ละคนก็จะมีอาการกังวลที่แตกต่างกันไป บางคนอาจไม่รู้สึกอะไรมากหากไม่มีโทรศัพท์มือถือ แต่บางคนอาจรู้สึกกระวนกระวายเมื่อไม่มีโทรศัพท์ หรือเวลาไม่มีสัญญาณ นั่นอาจเข้าข่ายอาการโนโมโฟเบีย

smartphoneiStockNomophobia โรคกลัวการขาดสมาร์ทโฟน

อาการแบบไหนเข้าข่าย Nomophobia

  • พกโทรศัพท์ติดตัวตลอดเวลา เกิดอาการกังวลเมื่อมือถือไม่ได้อยู่กับตัว
  • เช็กโทรศัพท์ โซเชียลมีเดีย หรือแอปพลิเคชันตลอดเวลาแม้ไม่มีเรื่องด่วน
  • จับโทรศัพท์ตั้งแต่ตื่นนอน และเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน
  • เมื่อหาโทรศัพท์ไม่เจอจะกังวลมากกว่าหาอย่างอื่นไม่เจอ
  • เล่นโทรศัพท์ตลอดเวลาในขณะที่ทำกิจกรรมอื่น ๆ เช่น กินข้าว เข้าห้องน้ำ ขับรถ
  • กลัวโทรศัพท์หายแม้จะเก็บไว้ในที่ปลอดภัยแล้ว
  • ไม่เคยปิดโทรศัพท์มือถือ
  • เล่นหรือคุยกับคนในโทรศัพท์มากกว่าคนรอบข้าง

อาการโนโมโฟเบียไม่เพียงส่งผลด้านจิตใจที่ทำให้เครียดกระวนกระวายแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพร่างกายด้วย ไม่ว่าจะเป็นนิ้วล็อก ทำให้ปวดเมื่อยข้อมือ เส้นเอ็นยึด ไปจนถึงเป็นพังผืด ส่งผลถึงสายตาที่จ้องหน้าจอนาน ๆ แสงสีฟ้าจากหน้าจออาจทำให้วุ้นในตาเสื่อม ตาล้า ตาพร่า ตาแห้ง เกิดอาการปวดเมื่อยที่คอ บ่า และไหล่

แก้อาการ Nomophobia และการติดสมาร์ทโฟนอย่างไรดี?

  • หากิจกรรมอื่น ๆ ที่ได้ทำร่วมกับคนในบ้าน นัดเพื่อนออกไปนั่งคุยหรือไปเที่ยวกัน พูดคุยกับคนแบบต่อหน้าแทนการคุยผ่านแอปพลิเคชัน
  • ตั้งกฎกับตัวเองว่าจะไม่แตะสมาร์ทโฟนเป็นเวลา 30 นาที แล้วค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาเรื่อย ๆ
  • กำหนดให้ห้องนอนเป็นที่ปลอดสมาร์ทโฟน เพื่อป้องกันการจับสมาร์ทโฟนทันทีที่ตื่น และเล่นสมาร์ทโฟนจนหลับ


Neophobia โรคกลัวสิ่งใหม่

kidiStockNeophobia โรคกลัวสิ่งใหม่

ปกติจะพบมากในเด็กอายุ 2-6 ปี ที่จะเริ่มเกิดอาการกินแต่อะไรเดิม ๆ กลัวที่จะลองกินอาหารแปลกใหม่ แสดงอาการกลัวอย่างเห็นได้ชัดเมื่อต้องลองอะไรใหม่ ๆ รู้สึกไม่อยากกลืน หรือถึงขั้นอ้วกออกมา ซึ่งหากไม่รีบแก้ไขอาจจะติดมาจนโต เป็นอาการที่ต่างจากเด็กเลือกกิน การเลือกกินคือการปฏิเสธสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบและเลือกกินแต่สิ่งที่ชอบ แต่หากให้ลองอะไรใหม่ ๆ ก็กินได้

อาการนีโอโฟเบียอาจรวมถึงวิถีชีวิตอื่น ๆ ด้วยนอกจากการกินอาหาร นั่นคือ การกลัวการใช้ของใหม่ ๆ ไม่เต็มใจจะลองอะไรใหม่ ๆ เพราะกลัวว่าจะไปทำลายวิถีชีวิตเดิม ๆ

หากเกิดอาการกลัวการกินอาหารใหม่ ๆ ในเด็ก ก็จะมีวิธีรักษาอยู่บ้าง แต่ต้องอาศัยบรรยากาศรอบข้างที่ดีตามไปด้วย อย่างเช่นการช่วยกันให้กำลังใจจากครอบครัว การที่พ่อแม่กินของที่ไม่ชอบกินของใหม่ ๆ ให้ดูเป็นตัวอย่าง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook