สาเหตุที่ "ผู้สูงอายุ" เสี่ยงป่วย "โรคซึมเศร้า" มากกว่าวัยอื่น
หวั่นผู้สูงอายุป่วยซึมเศร้า เพราะขาดการติดต่อกับเพื่อน ขาดการทำกิจกรรมต่าง ๆ โรครุมเร้า ขาดการเอาใจใส่จากญาติมิตร
โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคซึมเศร้าเป็นการเจ็บป่วยทางจิตใจ ทำให้รู้สึกไม่มีความสุข ซึมเศร้า จิตใจหม่นหมอง หมดความกระตือรือร้น เบื่อหน่าย แยกตัวเอง ชอบอยู่เงียบ ๆ คนเดียว ท้อแท้ บางครั้งมีความรู้สึก สิ้นหวัง มองชีวิตไม่มีคุณค่า เป็นภาระต่อคนอื่น ถ้ามีอาการมากจะมีความรู้สึกเบื่อชีวิต คิดอยากตายหรือคิดฆ่าตัวตาย
นายแพทย์สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ค่อนข้างสูงกว่าวัยอื่น นอกจากอาการด้านจิตใจคือ ซึมเศร้า ไม่อยากทำอะไร ไม่ใส่ใจตนเอง รู้สึกตนเองไร้ค่า
สาเหตุของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
สาเหตุของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุมักเกิดจาก
- โรคทางกาย เช่น การเจ็บป่วยเรื้อรังจากโรคประจำตัว ทำให้ใช้ชีวิตไม่ได้ตามปกติและยากลำบากขึ้น
1. นอนไม่หลับ หรือหลับมากกว่าปกติ
2. มีอาการปวดตามที่ต่าง ๆ หลาย ๆ ที่พร้อมกัน เช่น ปวดหัว ปวดหลัง ปวดท้อง หรือ ไม่สบายตามร่างกาย
3. มีอาการอ่อนเพลียรู้สึกไม่มีแรง
4. มีอาการทางระบบทางเดินอาหารเช่น เบื่ออาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับถ่ายอุจจาระกะปริบกะปรอย แต่เมื่อไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพกลับไม่พบความผิดปกติใด ๆ - สาเหตุจากยา เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจบางชนิด ยารักษามะเร็งบางชนิด ยารักษาโรคพาร์กินสันบางชนิด
- สาเหตุทางจิตใจและสังคม ได้แก่ สูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รัก ไม่มีงานไม่มีรายได้ สูญเสียตำแหน่งหน้าที่การงาน ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมเหมือนเช่นเดิม เป็นต้น
วิธีการรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
- การรักษาด้วยยา ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป จึงจะเห็นผลการรักษา ซึ่งไม่ควรซื้อยากินเองแต่ควรปรึกษาแพทย์ เพราะยาแก้โรคซึมเศร้าอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายหากใช้ไม่ถูกวิธี
- การทำจิตบำบัดแบบประคับประคองด้านจิตใจ พฤติกรรมบำบัด เพื่อแก้ไขความคิดในด้านลบต่อตนเอง
- การรักษาทางด้านจิตใจ เช่น ให้คำปรึกษา
- การรักษาด้วยไฟฟ้าในผู้ป่วยเฉพาะรายที่อาการหนักไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษาอื่น ๆ
นอกจากนี้ ลูกหลานที่ดูแลผู้สูงอายุควรเข้าใจภาวะโรคซึมเศร้าก่อน ยินดีรับฟังเรื่องราวที่ผู้สูงอายุเล่าให้ฟัง มีความอดทนในการดูแลอย่างเพียงพอ เพราะผู้สูงอายุบางรายอาจมีลักษณะอารมณ์กลับมาเป็นเด็กหรืออาจหงุดหงิด จึงควรพูดคุยด้วยท่าทีที่อ่อนโยน รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง ทั้งนี้สามารถเข้ารับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญได้