แค่ “เศร้า” VS “ซึมเศร้า” แตกต่างกันอย่างไร ?

แค่ “เศร้า” VS “ซึมเศร้า” แตกต่างกันอย่างไร ?

แค่ “เศร้า” VS “ซึมเศร้า” แตกต่างกันอย่างไร ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในปัจจุบันเราได้เรียนรู้ และทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้ากันมากขึ้นพอสมควร ทำให้เราเข้าใจว่าจริง ๆ แล้วสาเหตุ หรืออาการของคนรอบข้างเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ากันเยอะมาตั้งแต่ไหนแต่ไร แต่เราอาจไม่เคยรู้ ไม่เคยสังเกต คิดว่าเขาแค่มีอารมณ์เศร้าเฉย ๆ

แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรา หรือคนรอบข้างของเรา แค่มีอารมณ์เศร้าชั่วคราว หรือเสี่ยงโรคซึมเศร้า เรามีข้อมูลจาก อ. นพ. ชาวิท ตันวีระชัยสกุล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มาฝากกัน


แค่ “เศร้า” VS “ซึมเศร้า” แตกต่างกันอย่างไร ?

เราสามารถแยกอาการของคนที่มีอาการเศร้า กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ด้วยการสังเกตอาการความเศร้าปกติ กับโรคซึมเศร้า ด้วยการแยกความแตกต่างของอาการได้ ดังนี้


อารมณ์เศร้าปกติ

ความรุนแรง

ความเศร้าไม่รุนแรง มีอาการร่วมเพียงไม่กี่อย่าง และเป็นเพียงเล็กน้อย เช่น

  • นอนหลับยาก

  • เสียสมาธิเล็กน้อย

  • ไม่อยากอาหาร แต่น้ำหนักไม่ลด


ระยะเวลา

มักเป็นอยู่ไม่นาน หรือมีช่วงที่เศร้ามาก ๆ ไม่กี่วัน


การทำกิจกรรมที่สำคัญ

ใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติดีพอสมควร แม้คุณภาพจะลดลงไปบ้าง เช่น ไปทำงานได้ รวมถึงการดูแลตัวเอง เช่น อาบน้ำ กินข้าวได้ตามปกติ

 

โรคซึมเศร้า

ความรุนแรง

ความเศร้ามักอยู่ด้วยเกือบตลอดเวลา เกือบทุกวัน มีอาการร่วมด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น

  • น้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ

  • นอนไม่หลับ

  • ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจไม่ได้

  • รู้สึกผิดมากเกินควร

  • มีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ อยากฆ่าตัวตาย


ระยะเวลา

มักมีอาการเศร้าต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ (อย่างน้อย 2 สัปดาห์)


การทำกิจกรรมที่สำคัญ

ความเศร้าทำให้มีปัญหากับการเรียน การทำงาน หรือการดูแลตัวเอง


หากมีอาการเข้าได้กับโรคซึมเศร้า หรือเศร้าปกติแต่เป็นอยู่นานเกิน 2-3 เดือน ควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อปรึกษา หาทางแก้ไข และหากมีความคิดอยากฆ่าตัวตายแม้ในช่วงเวลาไม่กี่วัน ควรไปพบแพทย์ทันที

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook