อันตรายของ "บุหรี่ไฟฟ้า" เพราะไม่มีอะไรปลอดภัย 100%

อันตรายของ "บุหรี่ไฟฟ้า" เพราะไม่มีอะไรปลอดภัย 100%

อันตรายของ "บุหรี่ไฟฟ้า" เพราะไม่มีอะไรปลอดภัย 100%
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในวงการสิงห์นักสูบ ที่ดูเหมือนตอนนี้ถึงแม้การสูบบุหรี่จริงจะลดลงไป (แต่ยังเยอะอยู่) ในหมู่วัยรุ่นและวัยทำงาน และหันไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทน ซึ่งมีความเชื่อว่าช่วยลดและเลิกอาการติดบุหรี่แบบมวนได้ รวมถึงเป็นเทรนด์ในหมู่พวกพ้องอีกด้วย แน่นอนการใช้บุหรี่ไฟฟ้ช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ แต่นั่นแปลว่าทำให้หันมาติดบุหรี่ไฟฟ้าแทน ซึ่งไม่ได้หมายความว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้นไม่อันตราย

"แม้ไม่เสี่ยงต่อโรคถุงลมโป่งพองดังเช่นผลของบุหรี่มวน
แต่มีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคปอดและอาจถึงขั้นการหายใจล้มเหลว"

ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐฯ ระบุว่าผู้ป่วยที่เจ็บป่วยด้วยโรคปอดที่มีโอกาสสัมพันธ์กับบุหรี่ไฟฟ้ามีมากถึง 450 รายในระยะเวลา 2 เดือน ซึ่งเสียชีวิตแล้วกว่า 7 รายในตอนนี้ ซึ่งอาการของผู้ป่วยบางรายรุนแรงถึงขั้นระบบหายใจล้มเหลวฉับพลัน ซึ่งความร้ายแรงที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่มวนนั้นแตกต่างกัน ซึ่งบุหรี่มวนมีความเสี่ยงต่อโรคถุงลมโป่งพองที่เนื้อปอดจะเสียหายช้า ๆ แบบผ่อนส่ง แต่บุหรี่ไฟฟ้านั้นจะเห็นผลที่รวดเร็วกว่า จึงกล่าวได้ว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้นมีความอันตรายไม่แพ้กัน

ความดึงดูดของบุหรี่ไฟฟ้าที่อาจส่งผลให้เยาวชนหรือวัยรุ่นหันมาติดกันมากขึ้น นอกเหนือจากการกล่าวอ้างการเลิกบุหรี่แล้ว เป็นเพราะเทรนด์ความนิยมที่มาแรง มีกลิ่นและรสให้เลือกสรรมากมาย ทั้งกลิ่นขนม ผลไม้ ลูกอม ประกอบกับการออกแบบรูปลักษณ์ที่ทันสมัยน่าใช้สะดวกต่อการใช้งาน สามารถปรับแต่งได้ตามต้องการทั้งรสชาติและมวลของนิโคตินที่ได้รับ จนกลายเป็นกระแสที่หลายคนหันหน้าลองใช้แล้วติด ไม่ใช่เพื่อการเลิกบุหรี่อย่างที่หลายคนกล่าว

อีกทั้งมาตรฐานการผลิตน้ำยา E-Liquid ที่ไม่มีมาตรฐานตามองค์การอาหารและยากำหนด ซึ่งสารอันตรายที่ส่งผลต่อร่างกายที่เป็นโลหะหนักและสารทำลายเซลล์ในปากและสารประกอบมากมายในไอบุหรี่ไฟฟ้าที่อันตรายต่อร่างกาย

ด้วยกลิ่นที่ค่อนข้างเป็นมิตรแต่แฝงด้วยอันตรายอย่างรุนแรง ทั้งกลิ่นที่แต่งได้หอมหวานตามใจและมีให้เลือกหลากหลาย ง่ายต่อการที่เยาวชนจะริลองและอาจส่งผลให้เกิดการเสพติดได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจทำให้เกิดการเสพติดนิโคตินเหลว โดยเห็นได้ชัดแล้วว่าทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่มวนมีความอันตรายต่อสุขภาพร่างกายเพียงแต่การแสดงผลอาจแตกต่างกัน และเมื่อคิดที่จะเลิกอาจสายเกินการณ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook