เมื่อร่างกายขาด "วิตามิน" ส่งผลเสียต่อสุขภาพกายเราได้

เมื่อร่างกายขาด "วิตามิน" ส่งผลเสียต่อสุขภาพกายเราได้

เมื่อร่างกายขาด "วิตามิน" ส่งผลเสียต่อสุขภาพกายเราได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิตามินและแร่ธาตุ เป็นสารอาหารที่จำเป็นมาก ต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และแม้ว่าร่างกาย จะต้องการวิตามินแร่ธาตุเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ก็จะขาดไปไม่ได้เด็ดขาด เพราะหากร่างกายของคุณ ไม่ได้รับวิตามินและแร่ธาตุอย่างเพียงพอ ก็สามารถทำให้เจ็บป่วยได้ทันที และนี่คืออาการที่บ่งบอกว่า ร่างกายคุณขาดวิตามิน

เมื่อร่างกายขาด "วิตามิน" ส่งผลเสียต่อสุขภาพกายเราได้

  1. ผิวแห้ง หยาบกร้าน

ผิวแห้งหยาบกร้าน บ่งบอกได้ว่า ร่างกายขาดวิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี และกรดโฟลิก ซึ่งวิตามินเอ จะมีบทบาทสำคัญ ต่อการเสริมสร้างความแข็งแรงของเซลล์ผิวหนัง ช่วยรักษาสภาพเยื่อบุผิว ซึ่งช่วยป้องกันอาการผิวแห้งหยาบกร้านได้ ส่วนวิตามินซีและอี ก็มีส่วนช่วยในการสร้างคอลลาเจน บำรุงผิวพรรณ และช่วยรักษาแผลสด ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจถึงขั้นผิวหนังแตกจนเกิดรอยแผลเปิด และนำไปสู่การติดเชื้อได้

  1. นอนไม่หลับ

หากคุณต้องการพักผ่อน แต่ไม่สามารถหลับได้ หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ จะทำรู้สึกอ่อนเพลีย อารมณ์เสียง่าย ปวดหัว ไม่มีสมาธิ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่ ร่างกายมีระดับแมกนีเซียมต่ำ เพราะแมกนีเซียมมีบทบาทสำคัญ ในการช่วยคลายความเครียด ช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ทำให้คุณสามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น

  1. อ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อและข้อ

อาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดกล้ามเนื้อและข้อ เป็นสัญญาณว่า ร่างกายขาดวิตามินซีเนื่องจากวิตามินซี มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างสารคอลลาเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อประสานในร่างกาย บริเวณกระดูกอ่อน กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และผิวหนัง ซึ่งอันที่จริงแล้ว อาการเหล่านี้เป็นอาการสำคัญของภาวะโรคลักปิดลักเปิด ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการขาดวิตามินซี โดยในรายที่มีอาการรุนแรง จะมีเลือดออกตามไรฟัน  พบจุดจ้ำเลือดตามผิวหนัง เหงือกร่น และฟันหลุด ร่วมได้

  1. กล้ามเนื้อหดเกร็ง ขากระตุก เป็นตะคริวบ่อย ๆ

ร่างกายต้องการโพแทสเซียม เพื่อสร้างกล้ามเนื้อ และโปรตีน การที่มีโพแทสเซียมต่ำ อาจทำให้เกิดตะคริวได้ โดยเฉพาะที่บริเวณน่อง และยังอาจบ่งบอกถึง ภาวะที่ร่างกายมีระดับแคลเซียมที่ลดต่ำลง เนื่องจากแคลเซียม ทำหน้าที่ในการรักษา การตอบสนองของเซลล์ประสาท และกล้ามเนื้อ เมื่อแคลเซียมลดลง จะทำให้เซลล์เหล่านี้ถูกกระตุ้นได้ง่ายขึ้น ทำให้เกิดการหดตัว แข็งเกร็ง และเป็นตะคริวได้

  1. เลือดกำเดาไหลได้ง่าย เลือดหยุดไหลยาก

เนื่องจากวิตามินเค มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการแข็งตัวของเลือดในร่างกาย การที่ ร่างกายขาดวิตามิน เค จึงทำให้เลือดหยุดยาก รวมถึงอาจมีอาการเลือดออกผิดปกติ เช่น มีเลือดกำเดาไหล มีเลือดออกในทางเดินอาหาร และมีจุดจ้ำเลือดที่บริเวณผิวหนัง

  1. สิว

สิว หนึ่งในโรคผิวหนังที่สร้างความรำคาญใจให้กับคนหลาย ๆ คน โดยเฉพาะสาว ๆ โดยคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า สิวเกิดจาก การไม่รักษาความสะอาดบนผิวหน้า ทานของทอดของมัน รวมถึงมลภาวะต่าง ๆ เท่านั้น แต่ความจริงแล้ว การขาด วิตามินเอ หรือ วิตามินดี ก็สามารถทำให้เกิดตุ่มคล้ายสิวขึ้นได้เช่นกัน เพราะวิตามินเอ มีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดสิว ลดจุดด่างดำบนในหน้า และลดการอักเสบของสิวได้ เมื่อร่างกายมีนระดับวิตามินเอลดต่ำลง จึงมีความสัมพันธ์กับการเกิดสิวได้

  1. ผมร่วง

ภาวะการขาด สังกะสี อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดอาการผมร่วง ผมบาง ได้ เนื่องจากสังกะสี เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต การสร้างเนื้อเยื่อ รวมถึงการแบ่งตัวของเซลล์รากผมด้วย

  1. โรคปากนกกระจอก

โรคปากนกกระจอก เป็นโรคที่สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย และสามารถหายได้เองภายในระยะเวลาสั้น ๆ แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำอีกได้ โดยผู้ที่เป็นโรคนี้ จะมีรอยแตกบริเวณมุมปากทั้งสองด้าน หากไม่รีบรักษา อาจเป็นอุปสรรคต่อการพูดคุย หรือทานอาหารได้และสาเหตุของโรคปากนกกระจอก ก็เกิดจากการที่ร่างกายอยู่ในภาวะที่อ่อนแอ มีภูมิต้านทานต่ำ หรือภาวะขาดวิตามินบี โดยเฉพาะ วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 และ วิตามินบี 12 รวมถึงการขาดแร่ธาตุสังกะสี และธาตุเหล็ก

  1. ปวดชาบริเวณปลายมือ และ เท้า

เมื่อ ร่างกายขาดวิตามิน บี 1 วิตามินบี 6 และวิตามิน บี 12 มักจะทำให้เกิดอาการปวดชาบริเวณปลายมือปลายเท้า โดยวิตามินบี 1 และวิตามินบี 6 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสารสื่อประสาท และการส่งสัญญาณประสาท ส่วนวิตามินบี 12 นั้น เกี่ยวข้องกับการสร้างเยื่อไมอิลิน ที่ทำหน้าที่ช่วยส่งสัญญาณกระแสประสาท การขาดวิตามินเหล่านี้ จึงจะทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติ ปวด หรือชาบริเวณเส้นประสาทรอบนอก หรือปลายมือปลายเท้าได้

  1. เล็บเปราะ

เมื่อร่างกายของคุณมีธาตุเหล็กต่ำ ร่างกายบางส่วนจะเริ่มแสดงความอ่อนแอ ออกมาในรูปแบบของเล็บที่เปราะ หรือเยื่อบุตาซีด ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมามาก จะเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับผู้ที่ทานมังสวิรัติต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ เนื่องจากร่างกายจะสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีที่สุดจากเนื้อสัตว์ ผู้ที่ทานมังสวิรัติ จึงควรให้ความสำคัญกับการทานผักที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เช่น ผักโขม หรือถั่วลูกไก่ ร่วมกับอาหารที่มีวิตามินซีสูง เพื่อเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่ร่างกาย

  1. กระดูกเปราะ กระดูกหักง่าย

ความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกบาง ภาวะกระดูกพรุน และกระดูกหัก เนื่องจากมวลกระดูกลดลงนั้น เกิดจากการที่ร่างกายขาดแคลเซียม โดยกระดูกของคนเรานั้น จะแข็งแรงมากที่สุดเมื่อมีอายุได้ประมาณ 30 ปี ก่อนที่จะค่อย ๆ สูญเสียแคลเซียมไปเรื่อย ๆ การทานแคลเซียมในระดับที่เหมาะสมอยู่เสมอ จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งมีความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนสูง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook