แพทย์เตือน ผู้ป่วย "โรคหัวใจ" ต้องระมัดระวังก่อนทำฟัน

แพทย์เตือน ผู้ป่วย "โรคหัวใจ" ต้องระมัดระวังก่อนทำฟัน

แพทย์เตือน ผู้ป่วย "โรคหัวใจ" ต้องระมัดระวังก่อนทำฟัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคหัวใจ เกี่ยวข้องอะไรกับการทำฟัน ?

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ปัญหาเรื่องสุขภาพในช่องปากของผู้ป่วยโรคหัวใจพบได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ปัญหาที่พบบ่อย ได้แก่ โรคฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์ ซึ่งการรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยโรคหัวใจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนเข้ารับการรักษาทุกครั้ง เพื่อให้แพทย์โรคหัวใจออกใบรับรองหากต้องการรักษาทางทันตกรรมต้องระมัดระวังเรื่องใดบ้าง ชนิดของโรคหัวใจที่เป็น และรับประทานยาชนิดใดอยู่เพื่อรักษาโรคหัวใจ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทันตแพทย์และผู้ป่วย 

และที่สำคัญต้องปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่น งดยาละลายเลือด รับประทานยาปฏิชีวนะก่อนรักษาทันตกรรม ดูแลบาดแผลในช่องปากที่เกิดขึ้นภายหลังการรักษา และไม่ควรหยุดยาใดๆเองหากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์


ผู้ป่วยโรคหัวใจ เสี่ยงติดเชื้อระหว่างทำฟันมากกว่าคนปกติ

นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การรักษาทางทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ต้องได้รับการเอาใจใส่และระมัดระวังเกี่ยวกับภาวะการติดเชื้อมากกว่าบุคคลทั่วไป เนื่องจากผู้ป่วยจะมีสภาพความผิดปกติของอวัยวะบางส่วนของหัวใจและเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ หากผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจและใส่ลิ้นหัวใจเทียม จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะขนาดสูงก่อนรับการรักษาทางทันตกรรมที่ต้องมีเลือดออก เช่น ถอนฟัน ขูดหินปูน รักษาโรคเหงือก หรือการให้บริการทันตกรรมอื่น ๆ

นอกจากนี้ผู้ที่รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น ยาละลายเลือด ที่อาจส่งผลให้เมื่อมีบาดแผลเลือดออกแล้วหยุดได้ยาก จำเป็นต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจดูค่าเวลาการหยุดเลือด หรือยาอมใต้ลิ้นในผู้ที่มีอาการแน่นหน้าอก ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนเริ่มรับการรักษา และควรนำยาอมใต้ลิ้นติดตัวมาด้วยทุกครั้ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook