เลี่ยง “โรคติดเกม” ด้วย 3 ข้อตกลงที่ควรบอกลูก

เลี่ยง “โรคติดเกม” ด้วย 3 ข้อตกลงที่ควรบอกลูก

เลี่ยง “โรคติดเกม” ด้วย 3 ข้อตกลงที่ควรบอกลูก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปี ค.ศ. 2018 องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศ "โรคติดเกม" (Gaming Disorder) เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวช มีผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพ ครอบครัว การศึกษา การงานอาชีพ และสังคม


โรคติดเกม = เสพติดเกมเหมือนยาเสพติด

นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า โรคติดเกม คือ โรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสพติดในทางสมองมีลักษณะคล้ายกับติดสารเสพติด เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาสมอง พัฒนาการ และพฤติกรรมของเด็ก ส่วนใหญ่จะติดจากการเล่นเกมผ่านอินเทอร์เน็ต 


อาการของโรคติดเกม

อาการสำคัญของโรคติดเกม มีดังนี้

  1. ใช้เวลาเล่นนานเกินไป

  2. ขาดการควบคุมตนเองในการใช้ชีวิตปกติ เช่น การกิน การนอน

  3. เสียหน้าที่ การเรียน และการงาน ดังนั้น ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กติดเกม สามารถป้องกันได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ซึ่งง่ายกว่าการแก้ไขภายหลัง


ข้อตกลง 3 ข้อ ก่อนปล่อยให้ลูกเล่นเกม

นายแพทย์เกียรติภูมิ แนะพ่อแม่ผู้ปกครองควรทำข้อตกลง 3 ประการก่อนให้ลูกเริ่มเล่นเกม ดังนี้

  1. เวลา ควรแบ่งเวลาให้ลูกเล่นเกมอย่างเหมาะสม กำหนดระยะเวลาในการเล่นเกมวันละ 1-2 ชั่วโมงต่อวัน และไม่ควรให้เล่นเกมในเวลาเรียน หรือเล่นในช่วงเวลากลางคืน

  2. เนื้อหา ในส่วนของเนื้อหาต้องไม่มีความรุนแรง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เด็กไปเสพข้อมูลความรุนแรงเพิ่มเติมจากทางอินเทอร์เน็ต

  3. พฤติกรรม การเล่นเกมต้องไม่นำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาทิ ไม่ยอมไปเรียน โดดเรียน ไม่กินข้าวตามเวลา ไม่ยอมนอน มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงทางกายและวาจา เป็นต้น


เรื่องติดเกมไม่ใช่เป็นปัญหาของแค่ตัวเด็ก แต่เป็นปัญหาของทั้งครอบครัวที่ต้องร่วมกันจัดการ หากไม่สามารถจัดการได้ ให้ปรึกษาจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นในสังกัดกรมสุขภาพจิต หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือโทรฯ ปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook