"ใช้ยาไม่สมเหตุผล" ต้นเหตุ "ดื้อยา" อันตรายที่คนมองข้าม

"ใช้ยาไม่สมเหตุผล" ต้นเหตุ "ดื้อยา" อันตรายที่คนมองข้าม

"ใช้ยาไม่สมเหตุผล" ต้นเหตุ "ดื้อยา" อันตรายที่คนมองข้าม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ขณะนี้เชื้อโรคดื้อยาค่อนข้างเยอะ ภาคใต้เจอคนไข้วัณโรคดื้อยาทุกชนิด ค่ารักษาตกราว 2 ล้านบาทต่อคน อัตราการหายจากโรค 30% สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากการใช้ยาปฏิชีวนะระดับชุมชนอย่างไม่เหมาะสม

เรื่องนี้ส่งผลต่อระบบงบประมาณด้วย จากพันกว่าบาทเป็นสามพันกว่าบาทต่อหัว ภายใต้งบประมาณจำนวนนี้ เกินครึ่งหนึ่งเป็นค่ายา ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลตั้งแต่ระดับชุมชนขึ้นมาเลย”


การใช้ยาอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม ปัญหาใหญ่ที่ต้องได้รับการแก้ไข

ปัญหา "การใช้ยาอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสม" อาจเป็นเรื่องที่ฟังดูไม่ร้ายแรง หากในทางปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบอย่างมากทั้งกับสุขภาพประชาชนและระบบงบประมาณ อีกทั้งการจัดการเรื่องนี้ก็ยากยิ่ง ร่างมตินี้จึงนำเสนอภาพรวมทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ นั่นคือ การสร้างจิตสำนึกที่ดีและการตระหนักรู้ของบุคคล การบริหารจัดการระบบยาที่ดี และการกำกับติดตามอย่างมีประสิทธิภาพ

เรื่องนี้ไม่เพียงเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศไทย แต่ยังเป็นปัญหาร่วมในระดับโลก องค์การอนามัยโลกระบุว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของการใช้ยาในประเทศกำลังพัฒนาเป็นการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมและสูญเปล่า

ทั้งนี้ ปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุผลที่พบบ่อย ได้แก่ จากผู้ให้บริการที่อาจจะมีการสั่งยาไม่เป็นไปตามแนวทางการรักษา หรือสาเหตุจากผู้ป่วยที่ในหลายกรณีมีการใช้ยาหลายขนานร่วมกัน มีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมซึ่งทำให้เกิดการดื้อยา การใช้ยาฉีดเกินจำเป็นทั้งที่ใช้ยาทานได้ และซื้อยากินเองจากร้านชำ ฯลฯ

ประเทศไทยมีมูลค่าการบริโภคยาประมาณร้อยละ 41 ของค่าใช้จ่ายสุขภาพ สูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านยาต่อค่าใช้จ่ายสุขภาพเพียงร้อยละ 10-20 ข้อมูลจากการศึกษาวิจัย พบการบริโภคยาอย่างไม่เหมาะสมในทุกระดับทั้งในสถานพยาบาลภาครัฐและเอกชน การใช้ยาในชุมชนโดยเฉพาะยาที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ยาต้านจุลชีพ ยาสเตียรอยด์ ยาชุด เป็นต้น

โดยในปี 2555 มีงานศึกษาพบว่า ผู้ป่วย 19.2 ล้านคนครอบครองยาเกินความจำเป็น และรัฐต้องสูญเสียงบประมาณจากการครอบครองยาเกินจำเป็นราว 2,370 ล้านบาท/ปี

 

ชัยณรงค์ สังข์จ่าง ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ความเห็นว่า โดยเจตนารมณ์ของการใช้ยาสมเหตุสมผลคือการมุ่งให้ประชาชนใช้ยาอย่างปลอดภัย แต่โจทย์หลักของการใช้ยาคือความคิดความเชื่อของคนในชุมชน การใช้ยาฆ่าเชื้อเป็นความเชื่อผิด ๆ ของคนจำนวนมาก จึงต้องขยับที่ประเด็น ไม่ใช่มุ่งเน้นที่หน่วยงาน เช่น ต้องสร้างบรรทัดฐานใหม่ที่จะปรับเปลี่ยนวิธีคิด เน้นงานสื่อสาร งานในพื้นที่ แล้วหน่วยงานอื่น ๆ ก็จะขยับตาม


หลีกเลี่ยงการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล เพื่อหยุดปัญหาดื้อยา

เราสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาการดื้อยาได้ง่าย ๆ ด้วยจนเอง โดยการปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนกินยาทุกครั้ง หากมีปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ปวดศีรษะ สามารถกินยาแก้ปวดได้ แต่ควรกินตามขนาดของยาที่กำหนด เช่น 1 เม็ดทุก 6 ชั่วโมง และไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 5 วัน หากยังไม่หายดีควรพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด นอกจากนี้ยาที่ควรระมัดระวังคือ ยาแก้อักเสบ ยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ไม่ควรซื้อกินเองโดยเด็ดขาด เพราะหากกินยาในขณะที่ไม่ได้มีเชื้อโรคให้ฆ่า หรือไม่ได้มีอาการอักเสบอะไร จะทำให้เกิดการดื้อยาได้

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook