เลี้ยงลูกอย่างไรให้ "ตัวสูง" ไม่แคระแกร็น

เลี้ยงลูกอย่างไรให้ "ตัวสูง" ไม่แคระแกร็น

เลี้ยงลูกอย่างไรให้ "ตัวสูง" ไม่แคระแกร็น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รู้หรือไม่ว่า ส่วนสูงของเราในปัจจุบัน เป็นผลมาปัจจัยหลายอย่าง ทั้งกรรมพันธุ์ การออกกำลังกาย และการเลี้ยงดูในตอนเด็ก ซึ่งปัจจัยที่เราควบคุมได้คงหนีไม่พ้น “อาหารการกิน” นอกจากนมแล้ว ยังมีอาหารอีกหลายอย่างที่ทำให้เจ้าตัวน้อยของเติบโตด้วยรูปร่างสูงใหญ่ได้

ศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ นายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเจริญเติบโตที่ไม่เหมาะสมในช่วงวัยเด็กเล็กมีผลเชิงลบต่อการพัฒนากระบวนการรู้คิดและสติปัญญาของเด็ก มีตัวอย่างการศึกษาผลระยะยาวในเด็กไทยที่ภาคใต้ พบว่าเด็กที่เตี้ยถาวรตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 8 ขวบครึ่งจะมีไอคิวต่ำกว่าเด็กที่ไม่เคยเตี้ยเลยถึง 2.25 จุด เมื่อจำแนกภาวะโภชนาการไม่เหมาะสมที่มีทั้งขาดและเกินตามอายุในช่วง 5 ปีแรก ภาวะที่พบสูงมากคือโภชนาการเกินหรือภาวะน้ำหนักเกินในเด็ก และช่วงหลังขวบปีแรกคือวัย 1-3 ปี จะพบภาวะขาดโภชนาการส่งผลให้เด็กมีภาวะเตี้ยแคระแกร็น โดยจะเห็นเส้นกราฟไต่ระดับคาบเกี่ยวกับภาวะน้ำหนักเกินที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น

"ภาวะโภชนาการเกินกำลังเป็นปัญหา หากปล่อยให้ลูกอ้วนไปเรื่อยตั้งแต่อายุ 3-6 ปี โอกาสเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานในเด็กจะสูงมาก ผลสำรวจพบว่ามีอัตราเสี่ยงถึง 1.6% และเมื่อโตเป็นวัยรุ่นก็จะเป็นวัยรุ่นที่เป็นเบาหวาน มีอัตราเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากถึง 6.4%"

การแก้ไขภาวะแคระแกร็นในเด็ก มีการศึกษาพบว่าถ้าจัดอาหารตามวัยให้ลูกกินได้หลากหลาย จะช่วยประกันได้ว่าเด็กเล็กตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปจะได้รับสารอาหารเพียงพอ ทางองค์การยูนิเซฟจึงได้จัดทำตัววัดคุณภาพอาหารในแต่ละวันที่เด็กต้องได้รับควรเป็นอาหาร 4 ใน 7 กลุ่ม ดังนี้คือ

  1. ข้าวและธัญพืชชนิดต่าง ๆ

  2. ถั่วและพืชตระกูลถั่ว

  3. นม และผลิตภัณฑ์นม

  4. เนื้อสัตว์ ปลา หมู ตับ เครื่องใน

  5. ไข่

  6. ผักผลไม้ที่มีวิตามินเอสูง

  7. ผลไม้อื่น ๆ


อาหารเพิ่มความสูง ในช่วงวัย 1-3 ขวบ

Young Child Formula (YCF) เป็นอาหารสูตรสำหรับเด็กเล็กอายุ 1-3 ปี ว่ามีบทบาทในการช่วยส่งเสริมภาวะสมดุลโภชนาการในวัยเด็กเล็ก เนื่องจากมีการเติมสารอาหารจำเป็นในกลุ่มวิตามิน แร่ธาตุซึ่งเป็นสารอาหารกลุ่มรอง (Micronutrient) เช่น ธาตุเหล็ก วิตามินซี  วิตามินดี เป็นต้น โดยมีการกำหนดปริมาณการเติมสารอาหารแต่ละชนิดได้ตามที่ WHO/FAO แนะนำ

แต่การให้ลูกกินนมมากกว่าอาหารมื้อหลักไม่ใช่พฤติกรรมการกินที่ดีนัก จึงให้ถือเป็นอาหารทางเลือกเท่านั้น แต่สิ่งสำคัญคือ ให้คุณแม่ยึดหลักสมดุลการจัดอาหารตามวัยครบคุณค่า 5 หมู่ที่หลากหลาย และให้ลูกกินนมร่วมด้วยทุกวัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook