ทำงานกะกลางคืน เพิ่มเสี่ยงโรค “มะเร็ง”

ทำงานกะกลางคืน เพิ่มเสี่ยงโรค “มะเร็ง”

ทำงานกะกลางคืน เพิ่มเสี่ยงโรค “มะเร็ง”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถาบันอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม กรมการแพทย์ ให้ข้อมูลว่า ศูนย์วิจัยมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer หรือ IARC) ได้สรุปว่า การทำงานกะกลางคืน อาจก่อมะเร็งในมนุษย์ได้ (Probably carcinogenic to humans)

มีหลักฐานจำกัด (limited evidence) ในมนุษย์ว่าการทำงานกะดึกทำให้เกิดมะเร็ง โดยมีความเกี่ยวเนื่องระหว่างการอยู่เวรกะดึก และมะเร็งของเต้านม ต่อมลูกหมาก ลำไส้ใหญ่ และลำไส้ตรง มีหลักฐานเพียงพอในสัตว์ทดลองสำหรับการเกิดมะเร็งทเมื่อมีการเปลี่ยนสลับกันระหว่างแสงสว่างและความมืด และมีหลักฐานกลไกที่สำคัญในการทดลองโดยมีความเกี่ยวข้องกับการกดภูมิคุ้มกัน การอักเสบเรื้อรัง และการแบ่งตัวของเซลล์

*หลักฐานจำกัด หมายความว่ามีความเกี่ยวเนื่องเชิงบวกระหว่างการสัมผัสและโรคมะเร็ง แต่ก็สามารถอธิบายไปในแนวทางอื่นใด้เช่นกัน ได้แก่ โอกาส อคติ และการปนเปื้อน (chance, bias and confounding)

อาชีพที่มีเวรกะดึกได้แก่ คนงานโรงงานอุตสาหกรรม การแพทย์ บริการ พนักงานรักษาความปลอดภัย และการขนส่ง รวมไปถึงการทำงานในอากาศยานที่มีการข้ามเส้นเมอริเดียน


การทำงานกะดึกมีผลต่อนาฬิกาชีวิต (circadian system) อย่างไร ? 

เนื่องจากการทำงานกะ จะสัมผัสกับกลางวัน กลางคืน เป็นเวลา และรบกวนจังหวะเวลาชีวิต ผลที่สำคัญที่สุดคือการทำลายนาฬิกาชีวิตของหน้าที่ปกติของร่างกาย ซึ่งไม่เป็นที่ทราบว่าจะต้องขนาดไหนจึงจะทำให้เกิดมะเร็ง

คณะทำงานได้ระบุว่าการทำงานกะดึกมีหลักฐานจำกัดว่าทำให้เกิดมะเร็งชนิดต่าง ๆ ในมนุษย์ แต่ไม่ได้ประมาณระดับความเสี่ยงในการสัมผัสว่าต้องขนาดเท่าใดจึงจะทำให้เป็นมะเร็ง

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยมะเร็งนานาชาติ ไม่ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า คนทำงานที่สัมผัสกับการทำงานกะดึกจะลดการทำงานเป็นเท่าไรจึงจะลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง ถ้าต้องทำงานกะดึก ควรปรึกษาแพทย์

แม้ว่าตอนนี้การทำงานกะดึก มีหลักฐานจำกัด และจัดให้เป็น class 2 A คืออาจก่อมะเร็งได้ แต่ถ้าในอนาคตมีการศึกษาที่สามารถลบข้อจำกัดลงได้ ก็อาจจะกลายเป็น class 1 คือเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ได้


ถ้าจำเป็นต้องทำงานกะดึก ควรทำอย่างไร ?

ในหลาย ๆ อาชีพต้องมีการทำงานเป็นกะ และอาจต้องทำกะตอนกลางคืน สิ่งที่ทำได้คือต้องหลีกเลี่ยงการทำงานกะดึกเป็นระยะเวลานานหลายปี และต้องควรลด หรือเลิกการทำงานกะดึกติดต่อกันหลายวันในหนึ่งสัปดาห์ ลดการรบกวนนาฬิกาชีวิต เช่น การกินอาหารเย็นดึกเกินไป เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็ง และมะเร็งต่อมลูกหมาก และในการทำงานกะดึกนอกจากเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของการผลิตเมลาโตนินแล้วยัง รบกวนฮอร์โมนอื่นๆ เช่น เทสทอสเตอโรน (ฮอร์โมนเพศชาย) ด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook