คนกรุงเสี่ยง "มะเร็งปากมดลูก" มากกว่าชนบทจากความละเลย

คนกรุงเสี่ยง "มะเร็งปากมดลูก" มากกว่าชนบทจากความละเลย

คนกรุงเสี่ยง "มะเร็งปากมดลูก" มากกว่าชนบทจากความละเลย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ร่วมกับ มูลนิธิหนึ่งคนให้หลายคนรับ จัดพิธีเปิดโครงการ แม่หญิงม่วนใจ๋ ปลอดภัยห่างไกลมะเร็งปากมดลูก โดยใช้วิธีตรวจชนิดของเชื้อไวรัสเอชพีวีร่วมกับการตรวจเซลล์ปากมดลูกแบบแผ่นบาง เพื่อป้องกันและตรวจพบโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะแรกเริ่มแก่สตรีไทยชาติพันธุ์ เมี่ยน ม้ง ขมุ ลัวะ และ มลาบรี ภายในพื้นที่ อ.ท่าวังผา อ.ปัว และ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน เริ่มที่แรกที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ต.บ้านน้ำกิ อ.ท่าวังผา จ.น่าน จะให้บริการตรวจเลือดพื้นฐาน ตรวจหาเบาหวาน ตรวจค่าการทำงานของไต ตรวจหาพาหะธาลัสซีเมีย และตรวจการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และซี โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือสตรีไทยชาติพันธุ์ที่มีอายุระหว่าง 30-60 ปี จำนวน 800 ราย

นพ.ณัฐวุฒิ กันตถาวร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาสูติ-นรีเวชวิทยา ด้านมะเร็งนรีเวช รพ.จุฬาภรณ์ กล่าวว่า มะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาอันดับสองของสตรี เมื่อก่อนพบในสตรีอายุ 40-50 ปี แต่ปัจจุบันสามารถพบได้ในสตรีอายุ 30-40 ปี มีอัตราผู้ป่วยสูงถึง 8,000-10,000 รายต่อปี การตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยปกติใช้วิธีการตรวจแบบแปปเสมียร์ ซึ่งมีความแม่นยำ 50%

แต่การตรวจโดยใช้วิธีตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวีมีความแม่นยำสูงถึง 95% แต่จะมีราคาค่อนข้างสูง หรือหากตรวจทั้งสองวิธีร่วมกัน มีความแม่นยำมากถึง 99% จากการสำรวจในพื้นที่สามอำเภอดังกล่าว พบว่า มีชาวเขาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก การเข้าถึงค่อนข้างลำบาก โครงการนี้จึงน่าจะมีประโยชน์ต่อคนด้อยโอกาส ทั้งนี้มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้ การติดเชื้อเอชพีวีไม่ได้แสดงว่าจะต้องเป็นมะเร็งปากมดลูกเสมอไป กว่า 95% เชื้อสามารถหายได้เอง

นพ.ณัฐวุฒิกล่าวว่า ประชาชนในชนบทพื้นที่ห่างไกล การเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกยังไม่น่ากลัวเท่ากับประชาชนในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากในต่างจังหวัดจะมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านคอยให้ข้อมูลตามบ้านและกระตุ้นเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอยู่เป็นประจำแต่ในเมืองใหญ่ไม่มีการให้บริการแบบนี้ประชาชนต้องไปหาหมอเองโดยบางครั้งอาจละเลยทำให้มีความเสี่ยงสูง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook