"เบาหวานขณะตั้งครรภ์" อันตรายแค่ไหน ป้องกันได้อย่างไร ?

"เบาหวานขณะตั้งครรภ์" อันตรายแค่ไหน ป้องกันได้อย่างไร ?

"เบาหวานขณะตั้งครรภ์" อันตรายแค่ไหน ป้องกันได้อย่างไร ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนไม่ได้ป่วยเป็นเบาหวานมาก่อน แต่เมื่อตั้งครรภ์ กลับมีโอกาส หรือความเสี่ยงเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร ทำไมคุณหมอถึงต้องให้ระมัดระวังมากเป็นพิเศษ อันตรายแค่ไหน จะป้องกันได้อย่างไร

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ มี 2 ประเภท

  1. เบาหวานที่เป็นมาก่อนการตั้งครรภ์ หมายถึง ตรวจพบ หรือ รู้ตัวว่าป่วยเป็นหวานมาตั้งแต่ก่อนจะตั้งครรภ์แล้ว ซึ่งหากตัดสินใจตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะได้รับคำแนะนำการดูแล ปฎิบัติตัวจากคุณหมออยู่แล้ว

  2. เบาหวานที่เกิดจากการตั้งครรภ์ หมายถึง ก่อนตั้งครรภ์ไม่เป็นเบาหวาน พอตั้งครรภ์ขึ้นมาทำให้เป็นเบาหวาน


โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes)

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หมายถึง โรคเบาหวานที่ตรวจเจอครั้งแรกในขณะตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่จะหมายถึงโรคเบาหวาน ที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ โดยรวมถึงโรคเบาหวาน หรือความทนต่อกลูโคสผิดปกติ (glucose intolerance) ที่เกิดขึ้นก่อนการตั้งครรภ์ แต่ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยมาก่อน โดยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มีผลกระทบต่อทั้งตัวแม่ตั้งครรภ์เอง และทารก จึงต้องตรวจคัดกรอง วินิจฉัย เพื่อดูแลรักษาอย่างเหมาะสม


โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร ?

รกสร้างฮอร์โมนต้านอินซูลิน เมื่อตั้งครรภ์ ร่างกายจะสร้างรกขึ้น เพื่อทำหน้าที่ให้อาหารตัวอ่อนหรือทารก รกจะสร้างฮอร์โมนขึ้นมาซึ่งจะต้านฤทธิ์อินซูลิน (อินซูลินมีหน้าที่ลดน้ำตาล) ดังนั้นอินซูลินจึงออกฤทธิ์ได้น้อยลง ฉะนั้นหญิงตั้งครรภ์ทุกคนจึงมีโอกาสเป็นเบาหวานได้ เพราะมีฮอร์โมนจากรกที่ต้านฤทธิ์อินซูลิน


โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายแค่ไหน ?

  1. อันตรายต่อแม่ตั้งครรภ์

             - เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ร้อยละ 15-20

             - มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด เช่น การคลอดยาก การตกเลือดหลังคลอด เพิ่มขึ้น

             - มีโอกาสเป็นเบาหวานซ้ำ ในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป ถึงร้อยละ 35-50

             - มีโอกาสเป็นเบาหวานชนิด 2 ถึงร้อยละ 40-60 เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี

       2. อันตรายต่อทารก

             - หากแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้ทารกที่คลอดออกมาพิการ หรือเสียชีวิตในแรกคลอด (ระยะปริกำเนิด) ได้

             - ทารกที่คลอดอาจบาดเจ็บจากการคลอด เนื่องจากทารกตัวโตกว่าปกติ (macrosomia)

             - เกิดภาวะแทรกซ้อน จากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ


ดูแล รักษาอย่างไร เมื่อเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ?

  1. ควบคุมอาหาร สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ นอกจากนี้การควบคุมอาหาร ยังสามารถลดภาวะแทรกซ้อน และลดอุบัติการณ์การเกิดทารกตัวโตกว่าปกติ โดยการควบคุมอาหาร ทำได้ดังนี้

  2. รับประทานครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง โดยแบ่งอาหารเป็น 2 ส่วนคืออาหารมื้อหลัก เช้า เที่ยง เย็น ให้เลือกรับประทานข้าวและกับข้าวที่เน้นเนื้อสัตว์และผักเป็นส่วนใหญ่ ส่วนอาหารมื้อว่างให้เลือกรับประทานนมและผลไม้

  3. ควบคุมปริมาณอาหารแต่ละมื้อให้ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคาร์โบไฮเดรต เลือกรับประทานข้าวซ้อมมือ หรือขนมปังโฮสวีต ซึ่งจะมีใยอาหารมากกว่าข้าวขัดขาว และควรหลีกเลี่ยงข้าวเหนียว เพราะมีพลังงานที่สูง

  4. เลือกผลไม้สดชนิดหวานน้อย ไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง ชมพู่ ส้มเขียวหวาน ส้มโอ มะละกอ แอปเปิ้ล สาลี่ แก้วมังกรปริมาณ 2-3 ส่วน/วัน โดยแบ่งทานในแต่ละมื้อ

  5. หลีกเลี่ยงขนมหวาน น้ำหวาน ไอศกรีม ผลไม้แห้ง น้ำผลไม้ น้ำอัดลม นมรสหวาน นมเปรี้ยว

  6. หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน ลูกชิ้น หมูบด

  7. หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร ให้ใช้การต้ม ตุ๋น นึ่ง ลวก อบ ย่าง แทนการผัดและทอด

  8. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควรมีการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง เป็นประจำ เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด

  9. รักษาด้วยอินซูลิน การรักษาด้วยอินซูลินจะทำเมื่อควบคุมด้วย อาหาร 1-2 สัปดาห์ แล้วไม่ได้ผล คือไม่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ โดยการใช้อินซูลินร่วมกับการควบคุมอาหารสามารถลดอุบัติการณ์ของการเกิดทารกตัวโตกว่าปกติได้มากกว่าการควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้อินซูลินยังสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook