ทำความรู้จัก “ไวรัสโรต้า” สาเหตุ “ท้องร่วง” ในเด็กเล็ก

ทำความรู้จัก “ไวรัสโรต้า” สาเหตุ “ท้องร่วง” ในเด็กเล็ก

ทำความรู้จัก “ไวรัสโรต้า” สาเหตุ “ท้องร่วง” ในเด็กเล็ก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไวรัสโรต้า หนึ่งในสาเหตุของการระบาดของโรคอุจจาระร่วงในหน้าฝน และหน้าหนาว โดยเฉพาะเด็กดล็กที่เชื้อไวรัสมักพบอยู่ตามของเล่น จึงทำให้เชื้อติดต่อง่าย หากมีอาการรุนแรงอาจเสี่ยงซีด หรือเสียชีวิตได้ 


ไวรัสโรต้า สาเหตุท้องร่วง

โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันจากไวรัสโรต้า เป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน พบการระบาดมากในช่วงฤดูหนาวและฤดูฝน สามารถติดต่อโดยการรับประทานอาหารน้ำและน้ำแข็ง ที่ปนเปื้อนเชื้อสัมผัสกับคนสิ่งของหรือพื้นผิวต่าง ๆ ที่มีการปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วยและไม่ทำความสะอาด

นายแพทย์อุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา กล่าวว่าช่วงนี้ในพื้นที่ภาคใต้เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน และอาจเกิดแนวโน้มของการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วงที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อไวรัสจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูหนาวและฤดูฝน จากข้อมูลเฝ้าระวังโรคอุจจาระร่วงของประเทศไทย พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงจำนวน 863,146 ราย (คิดเป็นอัตราป่วย 1,299.65 ต่อประชากรแสน) เสียชีวิต 6 ราย คิดเป็น 0.01 ต่อแสนประชากร จังหวัดสงขลา มีรายงานผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงจำนวน 17,493 ราย (คิดอัตราป่วย 1241.60 ต่อประชากรแสนคน) ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต


เด็กเล็ก เสี่ยงติดเชื้อไวรัสโรต้ามากที่สุด

กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือกลุ่มอายุ 0 - 4 ปี (คิดเป็นอัตราป่วย 3901.76 ต่อประชากรแสนคน) 

รองลงมาคือกลุ่มอายุ 5 - 9 ปี และ 25 - 34 ปี ตามลำดับ

อำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด คือ อำเภอนาหม่อม รองลงมาคืออำเภอกระแสสินธุ์ เมืองสงขลา ตามลำดับ (ข้อมูล ณ 1 มกราคมถึง 8 พฤศจิกายน 2562)


เชื้อไวรัสโรต้า ระบาดในเด็กเล็ก จากของเล่น ของใช้เด็ก

โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันจากไวรัสโรต้า เป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน พบการระบาดมากในช่วงฤดูหนาวและฤดูฝน ที่สำคัญไวรัสโรต้าเป็นไวรัสชนิดที่ติดต่อกันได้ง่ายมากเพราะชอบแฝงตัวอยู่ตามสิ่งของเช่นของเล่นเด็ก และเป็นสาเหตุที่พบมากของโรคอุจจาระร่วงในเด็กเล็ก อาการมีไข้ต่ำๆ น้ำมูก ไอ อาเจียน และมีอาการทางเดินอาหารตามมา ปวดท้อง อุจจาระเป็นน้ำ ไม่มีมูก หรือเลือดปน หากอาการไม่รุนแรงเด็กจะหายได้เองใน 2 - 3 วันหรือไม่เกิน 1 สัปดาห์ แต่ถ้ามีอาการรุนแรงอาจเกิดภาวะขาดน้ำช็อกและเสียชีวิตได้ 


ไวรัสโรต้า ผู้ใหญ่ก็ติดได้

ผู้ใหญ่เองก็สามารถติดเชื้อไวรัสโรต้าได้ โดยการรับประทานอาหารน้ำและน้ำแข็ง ที่ปนเปื้อนเชื้อสัมผัสกับคนสิ่งของหรือพื้นผิวต่าง ๆ ที่มีการปนเปื้อนอุจจาระของผู้ป่วยและไม่ทำความสะอาด ทำให้ได้รับเชื้อจากมือที่สกปรกแล้วหยิบเข้าปาก และโรคนี้อาจติดต่อทางการหายใจได้ด้วย


ท้องร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า ไม่ควรกินยาหยุดถ่าย

การรักษาโดยการรับประทานยาลดไข้หรือให้สารละลายเกลือแร่ ที่สำคัญไม่ควรกินยาเพื่อให้หยุดถ่ายเพราะจะทำให้เชื้อโรคยังคงอยู่ในร่างกายซึ่งจะเป็นอันตรายมากขึ้น การใช้ยาปฏิชีวนะควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ 

หากประชาชนมีอาการของโรคอุจจาระร่วง ให้ดื่มสารละลายเกลือแร่โออาร์เอสทดแทน โดยผสมสารละลายหรือเกลือแร่โออาร์เอส 1 ซอง ในน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 แก้ว (240 ซีซี) เมื่อผสมแล้วดื่มไม่หมดภายใน 1 วัน ให้ทิ้งและผสมใหม่ผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำข้าว หรือแกงจืด ไม่งดอาหารในเด็ก ไม่ต้องงดนมแม่

แต่ถ้าผู้ป่วยยังถ่ายบ่อยและมีอาการมากขึ้น เช่น อาเจียนมากขึ้นรับประทานอาหารไม่ได้ กระหายน้ำมากกว่าปกติ ไข้สูงหรือชักถ่ายอุจจาระเป็นมูก หรือปนเลือด ควรรีบไปสถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน


วิธีป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากไวรัสโรต้า

  1. ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโรต้าไวรัส

  2. รักษาความสะอาด และสุขอนามัยที่ดี เช่น การล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนเตรียมอาหารเตรียมนมและรักษาความสะอาดภาชนะของเล่นเด็ก เป็นต้น 

  3. สำหรับเด็กที่ดื่มนมผสมให้ผสมเหมือนเดิม แต่ลดปริมาณลดลงและให้สลับกับสารละลายเกลือแร่

  4. ทำความสะอาดอุปกรณ์  และสิ่งของสถานที่ปนเปื้อน รวมทั้งเสื้อผ้าขยะติดเชื้อ เช่น ผ้าอ้อม ผ้าเปื้อนอาเจียน-อุจจาระผู้ป่วยให้ทำลายเชื้อ โดยแช่ในน้ำผสมน้ำยาซักผ้าขาว เช่น ไฮเตอร์ กรณีผ้าอ้อมสำเร็จรูปหลังจากแช่น้ำยาซักผ้าขาวแล้ว ให้แยกใส่ถุงขยะ 2 ชั้น และรัดปากถุงให้แน่นใส่ในถังขยะ และจัดเก็บเป็นขยะติดเชื้อ

  5. ปฎิบัติตามหลัก "กินร้อนช้อนกลางล้างมือ" โดยกินอาหารปรุงสุกใหม่ไม่มีแมลงวันตอม ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังจากขับถ่าย โดยเฉพาะผู้ประกอบการอาหารต้องล้างมือให้สะอาดก่อนทำอาหารเสมอ ใช้ช้อนกลาง ปกปิดอาหารให้มิดชิด อาหารที่เหลือจากการรับประทาน หรืออาหารสำเร็จรูป ควรอุ่นให้ร้อนจัดทุกครั้งก่อนรับประทาน 

  6. กำจัดขยะให้ถูกวิธี 

  7. ดูแลสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านให้สะอาด 

  8. ป้องกันแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน 

  9. ดื่มน้ำสะอาด 

  10. เลือกซื้อน้ำแข็งที่ถูกหลักอนามัย 

  11. ถ่ายอุจจาระลงส้วมที่ถูกสุขลักษณะ 

  12. ส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้เด็กมีภูมิคุ้มกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook