การวิ่งมาราธอน กับ โรคหลอดลมอุดกั้น เกี่ยวข้องกันอย่างไร ?
การวิ่งมาราธอน คือการวิ่งระยะยาวตั้งแต่ 20 กิโลเมตรขึ้นไป ซึ่งใช้พลังงานไม่น้อยกว่าการออกกำลังกายแบบอื่นเช่นกัน จำเป็นต้องมีการฝึกฝนรู้ทักษะการวิ่งที่ถูกต้องปลอดภัย การฝึกการควบคุมระบบหายใจพร้อมกับจังหวะวิ่ง หากสุขภาพร่างกายคุณไม่พร้อมจะเกิดผลเสียและอันตรายที่ตามมาได้ภายหลัง ก่อนจะเริ่มวิ่งนั้นควรตรวจสอบสุขภาพร่างกายของคุณก่อนว่าพร้อมหรือไม่? วันนี้ Hello คุณหมอ นำความรู้เกี่ยวกับ การวิ่งมาราธอน กับ โรคหลอดลมอุดกั้น มาฝากกัน
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ โรคหลอดลมอุดกั้น
โรคหลอดลมอุดกั้นหรือเรียกอีกอย่างว่าโรคปอดอุดกั้น (COPD) คือ โรคปอดชนิดเรื้อรังทำให้เกิดการอุดกั้นของปอด หลอดลม มีอาการต้น ๆ คือหายใจไม่ออก ไอ มีเสมหะ และมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ และโรคที่รุนแรงอื่นๆอีกด้วย ทั้งนี้โรคหลอดลมอุดกั้นสามารถรักษาได้ด้วยการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอย่างถูกวิธี
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหลอดลมอุดกั้น
มีหลายปัจจัยมากมายที่ก่อให้เกิดโรคหลอดลมอุดกั้น แต่สาเหตุหลักๆที่ใกล้ตัวพบได้บ่อย คือ
การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ระยะเวลานานทำให้เกิดการสะสมของสิ่งจะเข้าไปทำลายสุขภาพคุณ ทำให้ปอดและหลอดลมของคุณนั้นทำงานช้าลง การพบเจอสภาพแวดล้อม อย่างมลภาวะต่างๆรอบตัวเราก็ทำให้เกิดภาวะโรคหลอดลมอุดกั้นได้และสามารถพัฒนาไปได้ถึงขั้นเรื้อรังเลยทีเดียว พันธุกรรมทางกรรมพันธุ์ทางครอบครัวส่งต่อกันมา
โรคหลอดลมอุดกั้นมีทั้งหมด 4 ระยะ แต่ละระยะมีอาการแตกต่างกัน ดังนี้
ระยะที่ 1 : ร้อยละ 80 มีสุขภาพที่แข็งแรง การไหลเวียนอากาศ การหายใจติดขัดค่อนข้างน้อย
ระยะที่ 2 : เริ่มมีอาการหายใจติดขัดมากขึ้นหรือหายใจไม่ค่อยออก มีอาการไอปะปน ร้อยละ 50-80 ด้วยกัน
ระยะที่ 3 : มีอาการที่แย่ลง ส่งผลทำให้การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันค่อนข้างไม่สะดวกไม่คล่องแคล่วอย่างที่เคย
ระยะที่ 4 : เป็นระยะสุดท้ายขั้นเรื้อรังอย่างรุนแรง ออกซิเจนในเลือดต่ำ ทำให้ส่งผลไปถึงการทำงานปอดและหลอดลมเกิดการอุดกั้นอันตรายถึงชีวิต
เช็ก! อาการแรกเริ่มที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเป็น โรคหลอดลมอุดกั้น
โรคหลอดลมอุดกั้นเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจโดยตรง ส่งผลให้ผู้ที่ป่วยทำกิจกรรมหนัก ๆ ไม่ได้ ก่อนที่คุณจะทำกิจกรรมอื่นๆคุณควรสำรวจอาการของตัวเองก่อนว่าคุณมีความเสี่ยงของการเป็น โรคหลอดลมอุดกั้น อยู่หรือเปล่า
สังเกตตัวเองจากอาการเหล่านี้กันเถอะ
หายใจแรงและถี่ในขณะออกกำลังกายหรืออาการเหนื่อยเมื่อทำกิจกรรมที่หนัก เกิดการแน่นหน้าอก ไอ มีเสมหะเป็นระยะเวลานาน บริเวณเท้าหรือข้อเท้าบวมขึ้น อ่อนเพลียไม่มีแรง มีภาวะติดเชื้อในทางเดินหายใจบ่อย
หากกำลังเริ่มมีอาการเหล่านี้ สามารถพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญรับการตรวจสอบที่ถูกต้องและแน่ชัดอีกที เพื่อป้องกันการเป็นโรคอื่นๆ ที่ทำลายสุขภาพของคุณ
การวิ่งมาราธอน อย่างปลอดภัยสำหรับผู้ที่เป็น โรคหลอดลมอุดกั้น
เพราะมาราธอนเป็นการวิ่งออกกำลังกายที่มีระยะทางยาว ควรมีการฝึกขั้นพื้นฐานโดยเตรียมพร้อมร่างกาย ฟื้นฟูร่างกายให้สมดุล สำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดลมอุดกั้นควรเริ่มจากขั้นตอนต่อไปนี้
ตรวจสุขภาพ : การตรวจสุขภาพควรบอกรายละเอียดในจุดประสงค์การวิ่งของคุณให้ชัดเจนและขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่าร่างกายของคุณพร้อมที่จะวิ่งหรือไม่ ? แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะจัดโปรแกรมให้คุณว่าควรเริ่มจากอย่างไรเป็นอันดับแรก ขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
พื้นฐานการหายใจ : เมื่อเราหายใจเข้าร่างกายของเราจะนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและขับคาร์บอนไดออกไซด์เมื่อเราหายใจออก กำหนดลมหายใจเข้า-ออกให้เป็นเป็นจังหวะไปพร้อมๆกับการเดินช้าและค่อยๆพัฒนาจนไปถึงการวิ่ง
ฝึกการวิ่งเป็นระยะ : เริ่มจากการเดินวอร์มให้ร่างกายพร้อมก่อนออกวิ่ง เริ่มวิ่งเหยาะ ๆ ในระยะสั้น ไม่เกิน 5 กิโลเมตร ไม่ควรฝึกวิ่งทุกวันอาจทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าและทรุดลงกว่าเดิม ควรวิ่งอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ เมื่อร่างกายคุ้นชินในระยะสั้นให้ค่อยพัฒนาระยะในการวิ่งเพิ่มขึ้น
หลักการกินก่อนวิ่งมาราธอน : รับประทานของที่มีประโยชน์และส่งผลให้มีพลังงานในการวิ่ง เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน งดการกินอาหารที่มีไขมันสูง ควรกินล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ชั่วโมงครึ่ง ก่อนการวิ่ง เพื่อป้องกันการจุกเสียดเจ็บท้องในขณะวิ่ง
หลักการกินหลังวิ่งมาราธอน : เลือกทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และผลไม้ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อพลังงานที่เสียไปลดความเจ็บปวด บรรเทาอาการล้าของกล้ามเนื้อได้
ผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นสามารถฝึกระบบการหายใจและการทำงานของปอดได้ดียิ่งขึ้นด้วยการวิ่งมาราธอน ทั้งนี้ขั้นตอนการวิ่งนั้นควรอยู่ในโปรแกรมที่ทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจัดให้จะเป็นผลดีที่สุดเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงทั้งภายในและภายนอกของคุณเอง