7 สาเหตุ "ฟันเหลือง" และวิธีแก้ปัญหาด้วยการ "ฟอกสีฟัน"

7 สาเหตุ "ฟันเหลือง" และวิธีแก้ปัญหาด้วยการ "ฟอกสีฟัน"

7 สาเหตุ "ฟันเหลือง" และวิธีแก้ปัญหาด้วยการ "ฟอกสีฟัน"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
  • การแปรงฟันให้สะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน หลีกเลี่ยงอาหารเครื่องดื่มที่มีสี เลิกสูบหรี่ และ ตรวจสุขภาพฟันร่วมกับขูดหินปูนปีละ 2 ครั้ง เป็นวิธีการป้องกันฟันมีสีคล้ำที่ทุกคนสามารถทำได้

  • เทคโนโลยีฟอกสีฟัน White speed Technology : Advanced LED เป็นวิธีที่มีความปลอดภัย สามารถทำให้ฟันขาวขึ้นได้ 3-8 ระดับ ด้วยการรักษาเพียง 1 ครั้ง

  • หากมีปัญหาฟันไม่ขาว การพบทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจฟันและค้นหาสาเหตุที่แท้จริงจะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้อย่างปลอดภัยและตรงจุด


ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมีฟันที่ขาวสวย นอกจากจะเพิ่มความมั่นใจให้กับรอยยิ้มแล้ว ฟันที่เรียงสวยและขาวใสยังเป็นส่วนสำคัญของใบหน้า ช่วยให้ผู้ยิ้มดูน่ามองและสร้างเสริมบุคลิกภาพในการพูดคุย


สาเหตุฟันเหลือง

ทพ. ธัญญ์นิธิ ฐิติโชติอริยกุล แพทย์ชำนาญการด้านทันตกรรมรากฟันเทียม รพ. สมิติเวช สุขุมวิท ให้ข้อมูลถึงสาเหตุของอาการฟันเหลืองเอาไว้ ดังนี้

  1. ดื่มเครื่องดื่มที่มีสีเป็นประจำ เช่น ชา กาแฟ รวมถึงการอมลูกอมหรือยาอมบางชนิด

  2. การสูบบุหรี่ ร่วมกับการแปรงฟันไม่สะอาดพอ ทำให้คราบอาหาร  แบคทีเรีย และหินปูน  เกาะติดสะสมตามซอกฟัน กระทั่งเห็นเป็นสีเหลือง  น้ำตาล หรือดำ  สามารถรักษาด้วยการขูดหินปูน

  3. ฟันผุ ซึ่งมักพบว่ามีสีเหลืองเข้ม หรือสีน้ำตาล โดยเฉพาะฟันที่อยู่ด้านหน้าทำให้มองเห็นได้ชัดเจน ควรรักษาด้วยการอุดฟัน

  4. ฟันตาย ทำให้ฟันมีสี ทึบ ไม่โปร่งเหมือนฟันที่มีชีวิตอยู่ โดยฟันตายหมายถึง ฟันที่ไม่มีประสาทฟันและเลือดมาหล่อเลี้ยง เกิดขึ้นกับฟันที่ผุมาก ๆ และทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน จนฟันผุลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน ทั้งนี้ยังอาจเกิดจากอุบัติเหตุ หรือถูกกระแทกอย่างแรง จนมีการฉีกขาดของเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงฟัน หากทิ้งไว้โดยไม่มีการดึงประสาทฟันออก ฟันจะยิ่งมีสีคล้ำมากขึ้น วิธีรักษาคือ หลังรักษารากฟันแล้วทันตแพทย์สามารถใส่น้ำยาฟอกสีฟันภายในตัวฟันเพื่อฟอกสีให้ขาวขึ้นได้ แต่ในกรณีฟันสีคล้ำมากอาจต้องรักษาด้วยการทำครอบฟัน

  5. ฟันมีสีผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด เนื่องจากเป็นโรคหรือการได้รับยาบางชนิดมากเกินไป เช่น ยาเตตราไซคลีน ซึ่ง ส่งผลต่อสีของฟัน โดยเฉพาะในช่วงที่มีการสร้างฟันน้ำนม ในเด็กอายุ 3-9 เดือน และฟันแท้ในเด็กอายุ 3-12 ปี ทำให้ฟันแทบทุกซี่มีสีค่อนข้างเหลือง หรือมีแถบสีเทาดำเห็นชัดเจน

  6. การได้รับฟลูออไรด์มากเกินไป จนมีจุดสีน้ำตาลปนขาวบนฟัน ที่เรียกว่า ฟันตกกระ ซึ่งไม่สามารถทำให้ฟันขาวโดยการฟอกสีฟันได้ ควรทำครอบฟันหรือวีเนียร์

  7. อายุ เมื่ออายุมากขึ้น เคลือบฟันจะบางลง จนมองเห็นสีเหลืองหรือน้ำตาลของเนื้อฟันชัดมากขึ้น


วิธีทำให้ฟันขาว

ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย ทำให้การฟอกสีฟัน  เป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย และปลอดภัย ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

  1. ฟอกสีฟันที่คลินิกหรือโรงพยาบาลโดยทันตแพทย์ (In-office Bleaching)

  2. ฟอกสีฟันที่บ้าน (At Home Bleaching)

  3. การซื้อผลิตภัณฑ์ตามท้องตลาดมาใช้เอง (Over-the-counter Products)


ผลข้างเคียงจากการฟอกสีฟัน

การฟอกสีฟันอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ดังนี้

  • เสียวฟัน สามารถเกิดได้กับการฟอกสีฟันทุกชนิด  แต่อาการดังกล่าวจะหายไปเองภายใน 2-5 วัน หลังการฟอกสีฟันทุกครั้งควรงดรับประทานอาหารที่ร้อนหรือเย็นมาก ๆ  นอกจากนี้หากมีอาการเสียวฟันมากให้หยุดการฟอกสีฟัน 2-3 วัน ร่วมกับใช้ยาสีฟันช่วยลดอาการเสียวฟัน ซึ่งมีส่วนผสมของโพแทสเซียมไนเตรต หรือ ฟลูออไรด์

  • แสบเหงือกหรือเนื้อเยื่อในช่องปาก มักพบในกรณีที่ซื้อผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟันมาใช้เอง เนื่องจากถาดฟอกสีฟันไม่พอดี ทำให้น้ำยาฟอกสีฟันสัมผัสกับเนื้อเยื่อในช่องปาก ซึ่งต่างจากถาดพิมพ์ปากที่ได้จากทันตแพทย์โดยตรงจะมีความแนบมากกว่า ทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อยกว่ามาก


การดูแลหลังฟอกสีฟัน

เพื่อผลลัพธ์ที่ยาวนาน ควรแปรงฟันให้สะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำทุกวัน หลีกเลี่ยงอาหารเครื่องดื่มที่มีสี เลิกสูบหรี่ และ ตรวจสุขภาพฟันร่วมกับขูดหินปูนปีละ 2 ครั้ง

แม้การฟอกสีฟันจะทำได้ง่ายและปลอดภัย อีกทั้งยังสามารถทำได้เองที่บ้านโดยปรึกษาทันตแพทย์ หรือกระทั่งเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เอง อย่างไรก็ตามการพบทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจฟันและค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของฟันที่ไม่ขาวสวยเป็นการดูแลรักษาฟันให้ขาวสะอาดอย่างได้ผลและถูกวิธี มีผลกระทบข้างเคียงน้อย รวมถึงลดปัญหาช่องปากที่อาจตามมา

ปัจจุบันมีการฟอกสีฟันที่ทันสมัย ด้วยเทคโนโลยีฟอกสีฟัน  White speed Technology : Advanced LED เป็นวิธีที่มีความปลอดภัย สามารถทำให้ฟันขาวขึ้นได้ 3-8 ระดับ ด้วยการรักษาเพียง 1 ครั้ง โดยระยะเวลารักษาอยู่ที่ 30-60 นาที

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook