"ยาคลายกล้ามเนื้อ" กับ "แอลกอฮอล์" ส่วนผสมอันตราย ห้ามกินเด็ดขาด

"ยาคลายกล้ามเนื้อ" กับ "แอลกอฮอล์" ส่วนผสมอันตราย ห้ามกินเด็ดขาด

"ยาคลายกล้ามเนื้อ" กับ "แอลกอฮอล์" ส่วนผสมอันตราย ห้ามกินเด็ดขาด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวด ตึงกล้ามเนื้อ ยาคล้ายกล้ามเนื้อ เป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดต่างๆ เช่น อาการปวดหลัง ปวดต้นคอ หรือปวดขา ในขณะที่เรากำลังรักษาอาการปวด เมื่อมีการรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อ คุณหมอมักจะเตือนว่า ไม่ควร ดื่มแอลกอฮอล์ขณะที่มีการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงมีบทความเกี่ยวกับ ยาคลายกล้ามเนื้อ แอลกอฮอล์ เกี่ยวข้องกันอย่างไร ทำไมจึงห้ามรับประทานพร้อมกัน หากมีการรับประทานทั้งสองอย่างนี้พร้อมกันจะเกิดอะไรขึ้น


รูปแบบของการออกฤทธิ์ของ ยาคลายกล้ามเนื้อ แบบต่าง ๆ

ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นยาที่ใช้ในการผ่อนคลายและลดอาการตึงในกล้ามเนื้อ ยาบางตัวทำงานในสมอง บางตัวทำงานที่ระบบประสาทที่ไขสันหลัง เพื่อสกัดกั้นหรือทำให้เซลล์ประสาทลดการถูกกระตุ้นมากเกินไป เช่น ยาแบคโคลเฟน (Baclofen) ยาเมโทาร์บามอล (Methocarbamol) และยาทิซานิดีน (tizanidine) หรือยาบางตัวทำหน้าที่โดยตรงกับเส้นใยกล้ามเนื้อ แต่อาจจะมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางและทำให้มีอาการมึนงงร่วมด้วย ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบการออกฤทธิ์ของยาคลายกล้ามเนื้อได้ดังนี้ 


ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Spasticity)

ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Spasticity) เป็นความผิดปกติของระบบประสาทที่พบได้บ่อย เช่น สมองพิการ (cerebral palsy) โรคปลอกประสามเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส (multiple sclerosis) ภาวะบาดเจ็บทางสมอง (traumatic brain injury) หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้ยาแบคโคลเฟน (Baclofen) และยาแดนโทรลีน (dantrolene) 


กล้ามเนื้อหดตัว (Muscle spasms) 

เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อเกิดการหดตัวอย่างทันทีทันใด ทำให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อผังผืดเกิดอาการปวด ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการบาดเจ็บอย่างเฉียบพลัน เมื่อกล้ามเนื้อมีอาการล้าและปวด อาการปวดจะส่งผลให้กล้ามเนื้อมีความแข็งโดยทันที หากยังไม่ได้รับการทำให้ผ่อนคลายลงจะทำให้มีอาการปวดเรื้อรัง เช่น อาการปวดหลัง ปวดศีรษะจากความตึงเครียด ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) กลุ่มยาที่ใช้ก็จะมี เมตาซาโลน (Metaxalone) ไซโคลเบนซาพรีน (Cyclobenzaprine) และเมโทคาร์บามอล (Methocarbamol)  


ทำไมห้ามใช้ ยาคลายกล้ามเนื้อ แอลกอฮอล์ ร่วมกัน ?

หลายๆ คนคงมีคำถามว่าทำไมห้ามดื่มแอลกอฮอล์ในขณะที่อยู่ระหว่างการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ จริงๆ แล้วยาคลายกล้ามเนื้อและแอลกอฮอล์ ทั้งสองสิ่งต่างก็มีฤทธิ์ในการกดประสาทสวนกลางด้วยกันทั้งคู่ พวกมันทำงานเพื่อชะลอการทำงานของสมอง ซึ่งหากได้รับในปริมาณที่มากก็อาจส่งผลต่อการชะลอการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจได้เช่นกัน และทั้งแอลกอฮอล์และยาคลายกล้ามเนื้อยังทำให้รู้สึกง่วงได้อีกด้วย ซึ่งหากร่วมกันอาจทำให้ร่างกายได้รับสารที่ทำงานกดประสาทในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นจนอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ ซึ่งผลข้างเคียงของการรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อที่ทำให้ง่วง เวียนศีรษะ ก็อาจจะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเมื่อดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย


หากใช้ ยาคลายกล้ามเนื้อ แอลกอฮอล์ ร่วมกันจะเกิดอะไรขึ้น ?

แน่นอนว่าการดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยเพิ่มความรุนแรงของผลข้างเคียงของยาคลายกล้ามเนื้อที่รุนแรงขึ้น ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่อันตรายต่าง ๆ ได้ เช่น

  • ง่วง หรือเหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น

  • ปวดหัว

  • หายใจได้ช้าลง

  • การควบคุมตัวเองลดลง 

  • มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ

  • เพิ่มความเสี่ยงในการชัก

  • เพิ่มความเสี่ยงในการได้รับยาเกินขนาด


สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่ออยู่ระหว่างการใช้ ยาคลายกล้ามเนื้อ

จริง ๆ แล้วแอลกอฮอล์ไม่ใช่สิ่งเดียวที่ควรหลีกเลี่ยง หากคุณกำลังอยู่ระหว่างการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ จริง ๆ แล้วมียาบางชนิดที่อาจทำปฏกิริยาเมื่อใช้ร่วมกับยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น 

  • ยาระงับปวดกลุ่ม โอปิออยด์ เช่น ยาออกซิโคโดน (OxyContin) ยาไวโคดิน (Vicodin)

  • ยาระงับประสาท คลายความวิตกกังวล ในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีนส์ (ฺBenzodiazepines) เช่น อัลปราโซแลม (Alprazolam) และ โคลนาซีแพม (Clonazepam)

  • ยาต้านเศร้ากลุ่มไตรไซคลิกส์ (Tricyclics Antidepressants)

  • ยาต้านเศร้ากลุ่มเอ็มเอโอไอ (Monoamine Oxidase Inhibitors หรือ MAOI)

  • ยาฟลูวอกซามีน (fluvoxamine) เป็นยาที่อยู่ในกลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI)

  • ยาไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มควิโนโลน (Quinolones)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook