อันตรายจากพฤติกรรม “ดื่มน้ำน้อยเกินไป”

อันตรายจากพฤติกรรม “ดื่มน้ำน้อยเกินไป”

อันตรายจากพฤติกรรม “ดื่มน้ำน้อยเกินไป”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากดื่มน้ำน้อยเกินไป อาจเสี่ยงไตทำงานหนักขึ้น ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง และยังเสี่ยงนิ่วอีกด้วย ควรดื่มน้ำไม่ต่ำกว่า 8 แก้วต่อวัน จนกว่าสีปัสสาวะจะใส หากออกกำลังกายควรดื่มน้ำเพิ่มขึ้น


วิถีชีวิตอันเร่งรีบของคนในสังคมปัจจุบัน อาจทำให้เราละเลยสิ่งที่เป็นพื้นฐานและสำคัญต่อร่างกายของเรามากที่สุด นั่นคือ “น้ำ” มนุษย์เราสามารถอดอาหารได้นานถึง 2-3 สัปดาห์ แต่หากเป็นน้ำแล้ว เราสามารถงดดื่มน้ำได้เพียง 3-4 วัน หรือไม่เกิน 1 อาทิตย์เท่านั้น และการเดินทาง ทำงานจนยุ่ง ไม่มีเวลาดื่มน้ำให้เพียงพอ อาจส่งผลต่อร่างกายในแบบที่คุณอาจคาดไม่ถึงได้


อันตรายจากการดื่มน้ำน้อยเกินไป

ศ. กิตติคุณ นพ. เกรียง ตั้งสง่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย การดื่มน้ำน้อยเกินไป ส่งผลเสียต่อร่างกาย เนื่องจากร่างกายมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักถึง 2 ใน 3 ทั้งในเลือด และในเซลล์ต่าง ๆ ในแต่วันร่างกายมีการขับถ่ายของเสียในรูปแบบต่าง ๆ ที่ทำให้สูญเสียน้ำ ดังนั้น เราจำเป็นต้องดื่มน้ำชดเชย และควรดื่มน้ำในปริมาณที่ร่างกายต้องการ

หากดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาจส่งผลดังนี้

  1. ไตทำงานหนักขึ้น และปัสสาวะมีสีเข้ม (และอาจมีกลิ่นฉุน) เพราะน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  2. มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่างได้ง่ายกว่าคนทั่วไป

  3. มีสารก่อนิ่วที่ตกตะกอนมากกว่าปกติ จึงอาจเป็นเหตุให้เกิดโรคนิ่วในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ เช่น นิ่วในถุงน้ำดี


อย่างไรก็ตาม ในกรณที่เป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น เบาหวาน โรคไต ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลเกี่ยวกับปริมาณน้ำดื่มที่ควรดื่มในแต่ละวัน เพราะในบางโรค เช่น โรคไต อาจมีการจำกัดปริมาณน้ำที่ควรดื่มเอาไว้ด้วย


ดื่มน้ำอย่างไรให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

แม้ว่าจะมีคำแนะนำให้ดื่มน้ำ 8-10 แก้วต่อวัน แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้มีปริมาณที่ตายตัวว่าเราควรดื่มน้ำเท่าไร เพราะอาหารที่เรากิน และพฤตกรรมในการใช้ชีวิตของเราต่างกัน จึงอาจทำให้ความต้องการน้ำในแต่ละคนไม่เท่ากันไปด้วย เช่น หากออกกำลังกาย ควรดื่มน้ำเพิ่มมากกว่าเดิมอีก 1.5-2.5 แก้ว เพื่อชดเชยปริมาณของน้ำที่เสียออกไปผ่านเหงื่อ เป็นต้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook