รู้จัก “ไซโคพาธ” (Psychopaths) อาการต่อต้านสังคมที่ "ฆาตกรต่อเนื่อง" หลายคนอาจเป็น

รู้จัก “ไซโคพาธ” (Psychopaths) อาการต่อต้านสังคมที่ "ฆาตกรต่อเนื่อง" หลายคนอาจเป็น

รู้จัก “ไซโคพาธ” (Psychopaths) อาการต่อต้านสังคมที่ "ฆาตกรต่อเนื่อง" หลายคนอาจเป็น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คนที่เป็นไซโคพาธ จะขาดความเห็นใจผู้อื่น ขาดความสำนึกผิด ความรู้สึกด้านชาไม่เกรงกลัว ขาดความยับยั้งชั่งใจ จนอาจเป็นเหตุให้ก่อเหตุอาชญากรรมอย่างต่อเนื่องได้

หลาย ๆ คดีในสังคมไทย และในโลก มีฆาตรกรต่อเนื่องที่ทำการฆาตกรรมอย่างทารุณและโหดเหี้ยมหลายคน โดยที่เราไม่อาจเข้าใจถึงแรงจูงใจของเขาได้ว่าทำไปเพื่ออะไร กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลลักษณะของผู้ที่มีอาการ ไซโคพาธ(Psychopaths) ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับฆาตกรที่ไม่สามารถระบุเหตุจูงใจในการก่ออาชญากรรมได้อย่างชัดเจนเอาไว้ ดังนี้

ไซโคพาธ(Psychopaths)

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้ช้อมูลว่า ไซโคพาธ เป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder) โดยมีลักษณะ ขาดความเห็นใจผู้อื่น ขาดความสำนึกผิด ความรู้สึกด้านชาไม่เกรงกลัว ขาดความยับยั้งชั่งใจ เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง

สาเหตุของอาการไซโคพาธ

  • ทางกาย มีความผิดปกติของสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนหน้า และสมองส่วนอะมิกดะลา
  • ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง อาจเกิดจากอุบัติเหตุทางสมอง และพันธุกรรม รวมไปถึงความผิดปกติของฮอร์โมน Estosterone, Serotonin และ Cortisol
  • ด้านจิตใจ และสังคม ถูกกระทำทารุณกรรมในวัยเด็ก ถูกเลี้ยงดูแบบละเลย เพิกเฉย
  • อาชญากรรมในครอบครัว ความแตกแยกในครอบครัว สภาพสังคมรอบตัวที่โหดร้าย


อาการไซโคพาธ

ผู้ที่มีอาการไซโคพาธจะมีอาการที่สามารถสังเกตได้ ดังนี้

  • แสดงออกถึงความรู้สึก และจิตใจที่แข็งกระด้าง ไม่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น 

  • มีพฤติกรรมตอบสนองต่อความต้องการของตัวเอง โดยไม่สนใจผู้อื่นในสังคม 

  • มีความผิดปกติทางอารมณ์ และความคิด โดยเฉพาะเมื่อต้องเข้าสังคม

  • มักกระทำความรุนแรงซ้ำ ๆ และมีความเสี่ยงที่จะก่ออาชญากรรมได้


การรักษาอาการไซโคพาธ

ไซโคพาธเป็นหนึ่งในภาวะที่รักษาได้ยาก และมักมีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี มักไม่ร่วมมือกับการรักษา การทำจิตบำบัดจึงได้ประโยชน์ค่อนข้างน้อย

อย่างไรก็ตาม สามารถทำการรักษาได้โดย

  1. รักษาด้วยยารักษาโรคทางจิตเวช

  2. ปรับพฤติกรรม โดยเน้นพัฒนาในกิจกรรมที่สนใจในทางที่ดี และให้รางวัลเมื่อกระทำพฤติกรรมดี

  3. ไม่ควรลงโทษ เพราะไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เนื่องจากอาการด้านชาทางอารมณ์

หากพบบุคคลที่เข้าข่ายอาการไซโคพาธ ควรแนะนำให้พบแพทย์ เพื่อตรวจเช็กอาการให้แน่ใจ และรีบเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องโดยเร็วที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook