"เดินป่า" ระวัง "โรคสครับไทฟัส" จากตัวไรป่า เสี่ยงแทรกซ้อน-ไตวาย

"เดินป่า" ระวัง "โรคสครับไทฟัส" จากตัวไรป่า เสี่ยงแทรกซ้อน-ไตวาย

"เดินป่า" ระวัง "โรคสครับไทฟัส" จากตัวไรป่า เสี่ยงแทรกซ้อน-ไตวาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"โรคสครับไทฟัส" โรคที่ติดต่อจากตัวไรป่า อันตรายหากพบ โรคแทรกซ้อน บางรายถึงขั้นไตวาย ไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่กินยาก็หายได้ แพทย์แนะสำหรับผู้ที่ชอบขึ้นเขา เดินป่า ขึ้นดอย โดยเฉพาะภาคเหนือ-อีสาน เสี่ยงที่สุด

โรคติดต่อจาก "ตัวไรป่า" มีรอยเหมือนกับโดนบุหรี่จี้ มีอาการไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว มีแผล เกิดจากตัวไรอ่อนนำพวกเชื้อ ที่ทำให้เกิดโรคสครับไทฟัส ตัวไรอ่อนพวกนี้มันอยู่ตาม ป่า ถ้าคนไปนอนกางเต็นท์ หรือเข้าป่า  ก็จะมีตัวไรเข้ามากัดได้ พอกัดแล้วตัวเชื้อสครับไทฟัสก็จะติด จากนั้นจะมีอาการไข้  ถ้าปล่อยลุกลามก็อันตราย"

"โรคสครับไทฟัส" คืออะไร ?

พญ.ชีวนันท์ เลิศพิริยสุวัฒน์ ผอ.กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กล่าวถึง "โรคสครับไทฟัส" ช่วงนี้หลายพื้นที่มีอากาศหนาวเย็น ตามป่าตามเขา จึงเป็นพื้นที่ที่คนมักนิยมไปเที่ยว เดินป่า หรือกางเตนท์นอน ทำให้มีความเสี่ยงที่จะถูกตัวไรอ่อนที่อาศัยอยู่ในป่ากัด จนอาจติดเชื้อและป่วยเป็นโรคสครับไทฟัส (scrub typhus) หรือ โรคไข้รากสาดใหญ่ได้


โรคสครับไทฟัส ติดต่อได้อย่างไร ?

โรคสครับไทฟัสหรือโรคไข้รากสาดใหญ่เกิดจากตัวไรอ่อนกัดหรือดูดเลือด ซึ่งในตัวไรอ่อนจะมีเชื้อ ริกแกตเซีย (rickettsia) เชื้อนี้อาศัยอยู่ในสัตว์ตระกูลฟันแทะ เช่น กระแต กระจ้อน หนู ซึ่งตัวไรอ่อนจะเข้าไปกัดตามตัวโดยเฉพาะที่พบบ่อยคือ บริเวณร่มผ้า เช่น ขาหนีบ เอว ลำตัวบริเวณใต้ราวนม รักแร้ และคอ โดยโรคนี้จะมีระยะฟักตัว โดยเฉลี่ยประมาณ 1 สัปดาห์


พื้นที่เสี่ยงโรคสครับไทฟัส 

พื้นที่ที่พบผู้ป่วยโรคสครับไทฟัสมากที่สุด ได้แก่ ภาคเหนือรองลงมาคือภาคอีสาน


อาการของโรคสครับไทฟัส

ลักษณะเฉพาะของโรคนี้ที่พบได้ คือ

  1. รอยแผลเหมือนโดนบุหรี่จี้ ตรงบริเวณที่ถูกไรอ่อนกัด
  2. มีไข้
  3. ปวดศีรษะ
  4. ปวดกล้ามเนื้อ
  5. ปวดกระบอกตา
  6. ตาอักเสบ
  7. ต่อมน้ำเหลืองโต
  8. ไอแห้ง
  9. อาจมีอาการอักเสบที่สมอง ปอดบวม  
  10. ในรายที่อาการรุนแรงหัวใจจะเต้นเร็วมาก ความดันโลหิตต่ำ

ถ้ามีรอยเหมือนกับบุหรี่จี้ก็ค่อนข้างชัดเจนว่า เป็นโรคสครับไทฟัส 


อันตรายจากโรคสครับไทฟัส 

อาการของโรคสครับไทฟัสไม่ได้รุนแรงเหมือนไข้มาลาเรีย แต่หากรักษาไม่ทันหรือไม่ทราบว่าเป็นอาการจากไรอ่อนกัด ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ไตเป็นพิษ ไตวาย 

นอกจากนี้การรักษาไม่สามารถรับประทานยาจำพวกแก้ไข้แก้ปวดได้ เนื่องจากโรคนี้ต้องใช้ยาปฏิชีวนะโดยแพทย์เท่านั้น ดังนั้นหลังกลับออกจากเที่ยวป่าภายใน 2 สัปดาห์ แล้วป่วยมีไข้ขึ้นสูง มีอาการปวดศีรษะ ควรรีบไปพบแพทย์และแจ้งประวัติการเข้าไปในป่าให้แพทย์ทราบเพื่อรับการ รักษา โดยเร็ว    

วิธีป้องกันโรคสครับไทฟัส 

เนื่องจากโรคสครับไทฟัสยังไม่มีวัคซีนป้องกัน จึงเตือนให้ทุกคนระมัดระวัง ดังนี้

  1. สำหรับผู้ที่จะไปเที่ยวป่าต้องรู้จักป้องกันตัวเอง ระวังอย่าให้ไรอ่อนกัด

  2. หลีกเลี่ยงการนั่ง และนอนบนพื้นหญ้า

  3. ควรสวมเสื้อให้มิดชิด เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว รองเท้าหุ้มข้อ เป็นต้น

  4. ทายากันยุงทุกครั้งที่เข้าป่า เพราะยากันยุงไม่แค่ไล่ยุงป่า สามารถไล่แมลงอื่นๆ ได้ด้วยที่เป็นอันตราย

  5. เวลาเข้าป่าถ้าไปนอนในเตนท์ ปัดพื้นรองเต็นท์ให้สะอาด อย่าไปนอนบนพื้นหญ้าหรือกลิ้งไปกลิ้งมาบนพื้นดิน เพราะมีหลายเชื้อที่เราไม่รู้ว่าเราจะติดอะไร

  6. หลังกลับจากเที่ยว ต้องอาบน้ำ เสื้อผ้าต้องรีบเอาไปซัก เพราะว่าแมลงต่าง ๆ ที่เกาะมาตัวเรือด ตัวไร บางทีมันเกาะอยู่บนเสื้อผ้า ถ้าเอากลับบ้านแล้วเรานำไปหมกไว้ มันก็สามารถเดินหรือกระโดดได้มาจากเสื้อผ้า ทางที่ดีหลังจากเข้าป่ากลับบ้านต้องรีบซักเสื้อผ้าให้เรียบร้อย และรีบอาบน้ำฟอกตัว แขน ขา เท้า ให้สะอาด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook