รู้หรือไม่ ? "กินเผ็ด" มากเกินไปเสี่ยงต่อโรค "ความจำเสื่อม"

รู้หรือไม่ ? "กินเผ็ด" มากเกินไปเสี่ยงต่อโรค "ความจำเสื่อม"

รู้หรือไม่ ? "กินเผ็ด" มากเกินไปเสี่ยงต่อโรค "ความจำเสื่อม"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รสชาติที่เผ็ดจัดจ้านสามารถช่วยกระตุ้นให้เรานั้นรับประทานอาหารได้เยอะขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็สามารถให้โทษกับร่างกายของคุณได้ โดยแรกเริ่มอาจมีอาการปวดท้อง มึนหัว จนถึงขั้นทำให้คุณสูญเสียความทรงจำได้เลยทีเดียว วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมารู้ถึงอันตรายจากการ กินเผ็ด กัน


โรคความจำเสื่อม (Alzheimer's Disease)

โรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นโรคที่ทำให้เซลล์ในสมองเสื่อมสภาพลงส่งผลให้สูญเสียความทรงจำช่วงใดช่วงหนึ่งที่เคยเกิดขึ้นหรือจดจำเหตุการณ์ในปัจจุบันได้เพียงเลือนลาง การรับประทานยารักษาโรคอัลไซเมอร์สามารถทำได้เพียงแค่ให้อาการบรรเทาลงได้เพียงชั่วคราวและช่วยยืดการทำงานของสมองได้เพียงระยะเวลาสั้นๆ เนื่องจากโรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

หากคนใกล้ชิดของคุณรวมถึงตัวคุณเริ่มมีอาการหลงลืม มึนงง มีบทสนทนาหรือพฤติกรรมที่ซ้ำไปซ้ำมา ควรเข้าพบเพื่อได้รับการรักษาและการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุด


พฤติกรรมที่ทำให้คุณเสียความทรงจำ

มีหลายปัจจัยด้วยกันที่อาจทำให้คุณสูญเสียความทรงจำ รวมถึงพฤติกรรมเหล่านี้

  • การอดนอนหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ

  • การดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป

  • การรับประทานอาหารไม่ครบตามหลักโภชนาการ ควรเน้นหรือรับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของวิตามินบี 12

  • การทำกิจกรรมที่ส่งผลให้กระทบต่อศีรษะ สมองหรือก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น กิจกรรมผาดโผน การขับยานพาหนะด้วยความเร็วสูง

  • รับประทานรสชาติที่เผ็ดจัดจ้านในปริมาณมาก

นอกเหลือจากพฤติกรรมข้างต้น ยังรวมถึงอาการและโรคต่าง ๆ ที่สามารถส่งผลให้คุณเกิดการสูญเสียความทรงจำได้ ดังนี้

  • การฉีดยาระงับความรู้สึกจากการผ่าตัด

  • ผลกระทบจากการการรักษาโรคมะเร็ง เช่น เคมีบำบัดรังสีหรือการปลูกถ่ายไขกระดูก

  • มีภาวะขาดออกซิเจนที่ส่งไปยังสมอง

  • อาการชัก

  • เนื้องอกในสมองหรือการติดเชื้อ

  • การผ่าตัดบายพาสหัวใจ

  • ความผิดปกติทางจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า โรคไบโพล่า (bipolar)

  • ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์

  • การบำบัดด้วยไฟฟ้า

  • มีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA)

  • โรคเกี่ยวกับระบบประสาท

  • โรคฮันติงตัน (Huntington's disease)

  • อาการไมเกรน


กินเผ็ด ทำให้เป็นโรคความจำเสื่อมจริงหรือ ?

เป็นที่ทราบกันดีว่า พริก มีสารชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในแกนกลาง สามารถส่งความเผ็ดร้อนไปช่วยเผาผลาญแคลอรี่และช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี สารชนิดนี้เรียกว่า แคปไซซิน (Capsaicin) จากการวิจัยโดยทีม ซูมิน ชิ (Zumin Shi) แห่งมหาวิทยาลัยกาตาร์ ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลของผู้เข้าร่วมชาวจีนที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ทั้งหมด 4,582 คน ผลของการวิจัยนี้สรุปได้ว่า ในกลุ่มคนที่บริโภคพริกอย่างต่อเนื่อง ในปริมาณมากกว่า 50 กรัมต่อวัน ทำให้ไปยับยั้งระบบสมองเกี่ยวกับการรับรู้ และทำให้การทำงานของสมองนั้นลดลง หากไม่แก้ไขพฤติกรรมการกินเผ็ดเกินที่ร่างกายจะรับไหวนั้นอาจทำให้คุณเริ่มก้าวเข้าสู่โรคความจำเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ได้อย่างไม่รู้ตัว


สุดยอดอาหารที่มีประโยชน์และบำรุงสมอง

สมองเป็นส่วนสำคัญที่คอยสั่งการไปยังระบบต่างๆ ของร่างกาย เราจึงต้องคอยรับประทานสารอาหารที่มีประโยชน์เพื่อให้การทำงานของสมองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

  1. ไขมันดีจากปลา เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน หรือปลาที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 (Omega-3s ) เพราะโอเมก้า 3 นี้มีบทบาทในการพัฒนาความจำและอารมณ์รวมถึงปกป้องสมองของคุณจากโรคความจำเสื่อม

  2. ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ผลเบอร์รี่ประกอบด้วยสารแอนโธไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งเป็นสารประกอบของพืชที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ทำหน้าที่ต่อต้านความเครียดและการอักเสบเงื่อนไขที่อาจนำไปสู่สมองเสื่อมและโรคเกี่ยวกับระบบประสาท

  3. ขมิ้น มีสาระสำคัญออกฤทธิ์ต้านการอักเสบและสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ในการวิจัยขมิ้นสามารถบรรเทาอาการซึมเศร้าและโรคอัลไซเมอร์ได้

  4. บร็อคโคลี่ (Broccoli) เต็มไปด้วยสารที่มีประสิทธิภาพรวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินเค ซึ่งมีความจำเป็นต่อการสร้าง สฟิงโกลิพิด (sphingolipids) ซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่บรรจุอยู่ในเซลล์สมองช่วยในให้คุณมีการจดจำที่ดีขึ้น

  5. ถั่ว มีสารอาหารหลายชนิดและไขมันที่ดีต่อสุขภาพรวมถึงวิตามินอี ที่เป็นประโยชน์ต่อสมองจาการศึกษาในปี 2014 พบว่าถั่วสามารถช่วยป้องกันโรคระบบประสาทรวมถึงการควบคุมอารมณ์และจิตใจให้สมดุล

  6. ไข่ ประกอบด้วยสารอาหารหลากหลายชนิดที่เชื่อมโยงกับสมองรวมถึงวิตามินบี 6  วิตามินบี 12 โฟเลต (Folate) และโคลีน (Choline) ใช้ในการสร้างสารสื่อประสาทที่ช่วยควบคุมอารมณ์และความทรงจำได้เป็นอย่างดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook