กิน “คอไก่-คอหมู-เครื่องใน” มาก เสี่ยง “ฮอร์โมนไทรอยด์สูงผิดปกติ”

กิน “คอไก่-คอหมู-เครื่องใน” มาก เสี่ยง “ฮอร์โมนไทรอยด์สูงผิดปกติ”

กิน “คอไก่-คอหมู-เครื่องใน” มาก เสี่ยง “ฮอร์โมนไทรอยด์สูงผิดปกติ”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาหารบางชนิดอย่าง คอไก่ คอหมู ที่อาจมีต่อมไทรอยด์ติดมาด้วย หากรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือในปริมาณมาก ๆ อาจทำให้เสี่ยงภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายสูงผิดปกติ มีอาการแขนขาอ่อนแรงเฉียบพลัน จนอาจเสี่ยงไทรอยด์เป็นพิษจนเสียชีวิตได้

>> สาธารณสุข เร่งหาสาเหตุแน่ชัด นักโทษเสียชีวิตในเรือนจำพิษณุโลก ติดกัน 4 ราย

>> ราชทัณฑ์แจงนักโทษดับ 4 ราย เพราะไทรอยด์เป็นพิษระบาด


คอไก่ คอหมู เครื่องใน มีฮอร์โมนไทรอยด์ปนเปื้อน กินมากเสี่ยงฮอร์โมนไทรอยด์สูงผิดปกติ

นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า โรคไทรอยด์เป็นพิษ เป็นโรคที่ไม่มีสาเหตุที่ระบุได้อย่างชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยง ทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก

ปัจจัยภายใน ได้แก่ 

  • สารที่ร่างกายสร้างเอง
     
  • ระบบภูมิคุ้มกันโรคทำงานผิดปกติ โดยเข้าไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ทำงานหนักเกินไป

ปัจจัยภายนอก ได้แก่

  • อาหารที่มีฮอร์โมนไทรอยด์ปนเปื้อน เช่น คอไก่ คอหมู เครื่องใน หากบริโภคมาก ๆ อาจทำให้ร่างกายได้รับฮอร์โมนไทรอยด์มากจนมีอาการผิดปกติได้


อาการของไทรอยด์เป็นพิษ

  1. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ

  2. ใจสั่น อ่อนแรง

  3. เหงื่อออกง่าย ขี้ร้อนง่ายขึ้น

  4. หงุดหงิดง่ายกว่าเดิม อารมณ์แปรปรวน

  5. น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ

  6. ประจำเดือนผิดปกติ

  7. คอโต คอโป่ง

  8. อาจมีอาการตาโปนร่วมด้วย


วิธีหลีกเลี่ยงโรคไทรอยด์เป็นพิษ

  1. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมจากคอไก่ คอหมู โดยหากมีการประกอบอาหารโดยใช้ทั้งตัว เช่น ไก่ทั้งตัว ควรตัดส่วนลำคอออกไปก่อนปรุงอาหารทุกครั้ง

  2. หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่บดละเอียดรวมกันโดยไม่สามารถระบุได้ว่ามาจากส่วนใดของสัตว์นั้น ๆ เพราะอาจมีส่วนของ “คอ” ที่มีการปนเปื้อนฮอร์โมนไทรอยด์อยู่ในนั้นได้

  3. ลดการบริโภคอาหารประเภท ลูกชิ้น ไส้กรอก เพื่อลดการปนเปื้อนของอาหาร หรือชิ้นส่วนของเนื้อสัตว์ที่ไม่ควรรับประทาน

  4. จำกัดปริมาณของเครื่องในที่รับประทานให้พอเหมาะ ไม่มากจนเกินไป

  5. หากมีคนในครอบครัวมีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับไทรอยด์ ควรเข้ารับการตรวจร่างกายทุกปี


>> โรคไทรอยด์ กับ 8 สัญญาณเตือนภัย "ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook