อันตรายจากการ “หกล้ม” ของผู้สูงอายุ

อันตรายจากการ “หกล้ม” ของผู้สูงอายุ

อันตรายจากการ “หกล้ม” ของผู้สูงอายุ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เคยได้ยินเรื่องที่ว่า “คนแก่อย่าลืม” กันบ้างไหม ? เพราะเชื่อกันว่า หากผู้สูงอายุสะดุดล้ม หรือหน้ามืดเป็นลมล้มลงกระแทกพื้นอย่างแรงไปครั้งหนึ่งแล้ว มีความเป็นไปได้ว่าสุขภาพร่างกายอาจไม่กลับมาแข็งแรงดังเดิมได้อีก ความเชื่อนี้เป็นความจริงอยู่บ้าง เพราะคนสูงวัยจะเกิดอันตรายต่อร่างกายมากกว่าคนในวัยอื่น ๆ เมื่อหกล้ม


อันตรายจากการ “หกล้ม” ของผู้สูงอายุ

นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะหกล้ม และเกิดอันตรายกับร่างกายได้มากกว่าคนวัยอื่น ๆ เนื่องจากความเสื่อมของร่างกาย เช่น กระดูก กล้ามเนื้อต่าง ๆ ที่ทำให้สูญเสียการทรงตัวได้ง่าย ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง เช่น แขน ขา ศีรษะ สะโพก เข่า หลัง ฯลฯ โดยอาการบาดเจ็บเหล่านี้มีตั้งแต่เจ็บปวดเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่กี่วันหาย ไปจนถึงปวดเรื้อรังรักษาเป็นเดือน ๆ หรืออาจอันตรายถึงชีวิตได้


ปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุ

  • การเปลี่ยนแปลงของสายตา สายตาสั้น-ยาว หรืออาจสายตาพร่ามัวโรคตาต่าง ๆ ที่อาจทำให้กะคาดคะเนการหยิบจับ หรือเดินได้ไม่สะดวกนัก

  • สภาพกระดูกข้อต่อ และเอ็น ที่เสื่อมสภาพลง

  • ระบบทางเดินปัสสาวะ อาจทำให้เข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น เสี่ยงลื่นล้มในห้องน้ำได้มากกว่าเดิม

  • โรคประจำตัวต่าง ๆ

  • การใช้ยาบางชนิด ที่อาจมีความเสี่ยงทำให้ง่วงนอน เช่น ยานอนหลับ ยาลดความดันโลหิต ฯลฯ

  • พื้นบ้าน ที่อาจมีสิ่งกีดขวาง ที่อาจทำให้สะดุดหกล้มได้ง่าย

  • สภาพแสงไฟภายในบ้านที่อาจจะมืดสลัวไปจนยากต่อการมองเห็น

  • ขั้นบันได ที่สูงหรือแคบเกินไป ทำให้เดินไม่สะดวก

  • ห้องน้ำ ที่พื้นห้องน้ำเปียก หรือลื่นเกินไป

  • ห้องครัว ที่อาจคับแคบ และมีของใช้ในครัวเรือนที่จัดเอาไว้ไม่เป็นระเบียบ

  • รองเท้าของผู้สูงอายุ ที่อาจไม่เหมาะสม ไม่สามารถยึดเกาะพื้นได้ดี หรือไม่สบายเท้า ทำให้สะดุดหกล้มได้ง่าย


วิธีลดความเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุ

นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กล่าวเพิ่มเติมว่า วิธีลดความเสี่ยงของการหกล้มที่ได้ผลมากที่สุดคือ การออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นของกระดูกและข้อต่อ ช่วยเรื่องการทรงตัว การเดิน การเคลื่อนไหวของร่างกายได้คล่องแคล่วมากขึ้น ทำให้อัตราการหกล้มลดลง แต่ต้องเลือกท่าทางให้เหมาะกับบุคคลด้วย


แนวทางป้องกันการเสี่ยงต่อการหกล้ม

  1. เลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับเท้า พื้นรองเท้ามีดอกหรือไม่ลื่น วัสดุมีความยืดหยุ่น ระบายอากาศได้ดี

  2. ใช้ไม้เท้าช่วยในการเดิน

  3. ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเองอย่างสม่ำเสมอ 

  4. ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและรอบบ้าน ให้โปร่งโล่ง เดินสบาย และมองเห็นทุกพื้นที่ได้อย่างชัดเจน 

  5. กินยาให้ถูกต้อง หากยามีผลข้างเคียงให้ง่วงซึม ควรรับประทานแล้วไม่ลุกเดินไปไหน นั่งหรือนอนอยู่นิ่ง ๆ เท่านั้น

  6. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของร่างกาย

  7. สังเกตอาการข้างเคียงอื่น ๆ หากพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook