ทำไม? ชาวออฟฟิศถึงเสี่ยงเป็น "กระเพาะปัสสาวะอักเสบ"

ทำไม? ชาวออฟฟิศถึงเสี่ยงเป็น "กระเพาะปัสสาวะอักเสบ"

ทำไม? ชาวออฟฟิศถึงเสี่ยงเป็น "กระเพาะปัสสาวะอักเสบ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บางคนอาจไม่เคยเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่เชื่อว่าหลายๆ คนที่เป็นพนักงานออฟฟิศ ที่นอกจากจะเคยประสบปัญหางานยุ่งจนไม่มีเวลาไปทานข้าว หรือทานข้าวผิดเวลา ต้องลงไปทานอาหารกลางวันตอนเกือบจะเย็น หรือบางทีอาจไม่ได้ทานด้วยซ้ำ นั่นเลยทำให้คนมักเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบกันมาก นอกจากนี้ยังมีโรคไมเกรนที่เกิดขึ้นจากความเครียดและพักผ่อนไม่เพียงพอ และอีกสารพัดโรคที่ค่อยๆ ทยอยมาตามเรื่อยๆ


ทำไมโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ถึงกลายเป็นโรคยอดฮิตของพนักงานออฟฟิศอีกโรคหนึ่ง Sanook! Health มีคำตอบค่ะ

 

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ คืออะไร?

เกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อเช้าแบคทีเรียขยายตัวมากกว่าส่วนที่ขับออกไปพร้อมกับปัสสาวะ จะทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบขึ้นมา

 

อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ปวดหน่วงๆ บริเวณท้องน้อย

  • ปวดท้องเวลาปัสสาวะ

  • ปัสสาวะบ่อย และรู้สึกปัสสาวะไม่สุด คือยังปวดปัสสาวะอยู่ แต่ไม่มีปัสสาวะออกมา

  • กลั้นปัสสาวะไม่ได้

  • ปัสสาวะสีขุ่น อาจมีกลิ่นเหม็นรุนแรง และอาจมีเลือดปน

 

iStock

 

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • เพศหญิงมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชาย เพราะอาจรับเชื้อแบคทีเรียจากรูทวารหนัก ซึ่งอยู่ใกล้กับรูเปิดของท่อปัสสาวะ

  • กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ซึ่งพนักงานออฟฟิศที่ทำงานยุ่งมาก หรือประชุมนานๆ จนไม่สามารถลุกขึ้นเข้าห้องน้ำทุกครั้งเมื่อปวดได้ อาจมีความเสี่ยงในข้อนี้มาก

  • หญิงตั้งครรภ์ ครรภ์อาจเบียดกดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะไม่หมด จนอาจมีแบคทีเรียตกค้าง

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีโอกาสที่อวัยวะต่างๆ จะอักเสบได้ง่าย

  • ผู้ป่วยที่ต้องใช้สายสวนปัสสาวะนานๆ อาจทำให้เกิดบาดแผล จนติดเชื้อ และเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้

  • ดื่มน้ำน้อย เป็นเหตุให้ไม่ค่อยปัสสาวะ จนแบคทีเรียตกค้างในกระเพาะปัสสาวะ

  • ผู้ป่วยโรคไต ทำให้อวัยวะติดเชื้อได้ง่าย

  • ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

  • ต่อมลูกหมากโต เป็นเหตุให้ปัสสาวะออกไม่หมด แบคทีเรียจึงตกค้างได้เช่นกัน

 

วิธีป้องกันจากโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างต่ำ 6-8 แก้ว

  2. รักษาความสะอาดของอวัยวะเพศอยู่เสมอ หรือเมื่อเช็ดด้วยกระดาษชำระ ให้แปะตรงๆ อย่าเช็ดจากหลังมาหน้า

  3. ไม่กลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน

  4. พยายามเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ

  5. ไม่ใช้สเปรย์ฉีดอวัยวะเพศ หรือครีม เซรั่มใดๆ ก็ตมที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ หรือระคายเคืองเนื้อเยื่อบริเวณนั้นได้

 

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบไม่ใช่โรคที่น่ากลัวจนถึงขั้นเสียชีวิต แต่สร้างความทรมานให้กับร่างกาย จนสามารถรบกวนการทำงาน และการดำเนินชีวิตปกติได้ ดังนั้นต้องดูแลสุขภาพกันให้ดีด้วยนะคะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook