3 วิธีลดความเสี่ยง “เส้นเลือดขอด”

3 วิธีลดความเสี่ยง “เส้นเลือดขอด”

3 วิธีลดความเสี่ยง “เส้นเลือดขอด”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม้ไม่ได้เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ “เส้นเลือดขอด” ก็เป็นสาเหตุของอาการปวดขา ขาบวม จนลำบากในการเดิน และยังนอกจากเส้นเลือดบวมปูดที่เห็นได้ชัดแล้ว ยังอาจมีสีดำคล้ำขึ้นจนแลดูไม่สวยงามอีกด้วย ดังนั้นเราจึงควรลดความเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดขอดโดยเร็ว ก่อนเป็นแล้วจะรักษาลำบาก


เส้นเลือดขอด คืออะไร ?

เส้นเลือดขอด เกิดจากการที่เส้นเลือดดำส่วนหนึ่งที่อยู่ใต้ผิวหนังเสียความยืดหยุ่น เส้นเลือดขยายตัวขึ้นทั้งด้านกว้างและด้านยาว ทำให้คดเคี้ยวไปมา ทำให้ลักษณะเหมือนตัวหนอนหรือไส้เดือนใต้ผิวหนัง สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากภายนอก

เส้นเลือดขอด พบบ่อยได้ที่ขา แต่ก็ยังเกิดในส่วนอื่น ๆ ในร่างกายได้ เช่น เส้นเลือดขอดที่หลอดอาหาร เกิดจากพยาธิสภาพที่เกิดจากมีตับแข็ง และทำให้เกิดเป็นความดันในระบบช่องท้องสูงขึ้น ทำให้มีเส้นเลือดขอดเกิดขึ้นบริเวณข้อต่อของอาหารและกระเพาะอาหาร เป็นต้น

ผศ.นพ. กฤตยา กฤตยากีรณ ฝ่ายศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า จากผู้ป่วยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์พบว่า กว่า 70% ของผู้ป่วยเส้นเลือดขอดเป็นเพศหญิง โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ อายุที่มากขึ้น 

>> “เส้นเลือดขอด” เกิดขึ้นได้อย่างไร ? อันตรายแค่ไหน ?


อันตรายของเส้นเลือดขอด
 

จริง ๆ แล้ว เส้นเลือดขอดชนิดที่ไม่ร้ายแรง ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาแพทย์ก็ได้ หากไม่ได้มีอาการเจ็บปวด บวม หรือผิดปกติอื่นๆ แต่หากมีอาการอื่นๆ ตามมา เช่น เท้าบวม ขาบวม คันเป็นแผลที่เท้า และแผลค่อนข้างที่หายยาก เพราะเป็นบริเวณที่เลือดไปคั่งอยู่ และความดันของผิวหนังบริเวณนั้นค่อนข้างสูง ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือเส้นเลือดขอดเริ่มโปน ปวดบวม แดง มีขนาดใหญ่ หรือมีเลือดออก ควรรีบพบแพทย์

ความอันตรายของเส้นเลือดขอดอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาการตกเลือด โดยอาจเป็นการตกเลือดที่หลอดอาหาร ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ และการตกเลือดเส้นเลือดขอดที่ขาก็จะไม่มีอาการใดมาก ถ้าผู้ป่วยไม่ตกใจจนเกินไปสามารถกดเส้นเลือดเอาไว้ และไปพบแพทย์


อาการของเส้นเลือดขอด

หากไม่ร้ายแรง อาจไม่มีอาการอะไรนอกจากเห็นเป็นเส้นเลือดชัดเจนในบริเวณที่เป็น แต่หากมีอาการรุนแรงมากขึ้น อาจมีลักษณะอาการดังนี้

  • บวม

  • เจ็บ

  • คัน

  • เป็นแผล และแผลหายยาก

  • มีรอบคล้ำดำ ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเกิดขึ้น

  • เส้นเลือดขอดเริ่มปวดบวม แดง

  • มีเลือดออก


3 วิธีลดความเสี่ยงเป็นเส้นเลือดขอด

อ.พญ. ปัณฑิตา เอี่ยมศุภนิมิตร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ข้อมูลเอาไว้ ดังนี้

  1. ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อไม่ให้ขารองรับน้ำหนักมากเกินไป

  2. ออกกำลังกาย ให้กล้ามเนื้อขาแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

  3. หลีกเลี่ยงการยืนอยู่กับที่ในท่าเดิมนาน ๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง

>> 6 พฤติกรรมเสี่ยง “เส้นเลือดขอด” ที่คุณอาจไม่ทราบมาก่อน


เมื่อสงสัยว่าเป็นเส้นเลือดขอด ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้อง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook