“ไฟโบรมัยอัลเจีย” โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังทั่วทั้งตัว ที่คนยังไม่ค่อยรู้จัก

“ไฟโบรมัยอัลเจีย” โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังทั่วทั้งตัว ที่คนยังไม่ค่อยรู้จัก

“ไฟโบรมัยอัลเจีย” โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังทั่วทั้งตัว ที่คนยังไม่ค่อยรู้จัก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรค “ไฟโบรมัยอัลเจีย” คือ โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังทั่วทั้งตัว ที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนัก ผู้ป่วยจะมีความทรมานจากการปวดกล้ามเนื้อ เจ็บป่วยอยู่ตลอดเวลา และยังไม่มีทางรักษาให้หายขาด

โรคไฟโบรมัยอัลเจีย คืออะไร ?

อ.พญ. พิณทิพย์ งามจรรยาภรณ์ สาขาวิชาโรคภูมิแพ้อิมมูโนวิทยาและโรคข้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ ให้ข้อมูลผ่านรายการ พบหมอรามา ว่า โรคไฟโบรมัยอัลเจีย คือโรคที่ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมากกว่าปกติจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดไปทั้งตัว ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เกิดความผิดปกติใด ๆ ต่อกล้ามเนื้อเลย อาการปวดรบกวนคุณภาพชีวิตจนอาจมีปัญหาในการดำเนินชีวิต ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักพบในวัยทำงาน วัยกลางคนราวอายุ 30-50 ปีมากที่สุด

ปัญหาของผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจีย คือ มักเข้ารับการตรวจตรวจหาสาเหตุของอาการปวดได้ยาก ต้องเปลี่ยนวิธีการตรวจมากกว่า 1 ครั้ง เพราะอาจพบแพทย์แผนกกล้ามเนื้อก่อน และไม่อาจพบสาเหตุได้จากการตรวจเลือด 

สาเหตุของโรคไฟโบรมัยอัลเจีย  

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคอย่างแน่ชัด แต่จากรายงานการศึกษาบางชิ้นพบว่า เกิดจาดระบบประสาททำงานผิดปกติ ระบบประสาทที่รับความเจ็บปวดทำงานมากเกินไป มีความผิดปกติของสารสื่อประสาท ทำให้ร่างกายรู้สึกเจ็บปวดโดยทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีอาการกล้ามเนื้ออักเสบแต่อย่างใด 

อย่างไรก็ตาม โรคไฟโบรมัยอัลเจียจะมีอาการหนักขึ้น จากภาวะความเครียดทั้งร่างกาย และจิตใจ เช่น คุณแม่เตรียมตัวคลอดบุตร ที่มีภาวะเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นต้น รวมถึงความเครียดทางอารมณ์ด้วย

อาการของโรคไฟโบรมัยอัลเจีย

  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเริ่มจากปวดกล้ามเนื้อที่เดียว จนค่อย ๆ ลามไปทั่วร่างกาย มากกว่า 7 จุดขึ้นไป

  • ปวดเรื้อรังมากกว่า 3 เดือน

  • เหนื่อยง่าย

  • อ่อนเพลีย เหมือนนอนไม่พอ

  • ปวดศีรษะ

  • กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง

  • อารมณ์แปรปรวน

  • นอนไม่หลับ

 

การรักษาโรคไฟโบรมัยอัลเจีย

โรคไฟโบรมัยอัลเจีย ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถทำให้อาการทุเลาลงได้

  • รักษาโดยไม่ใช้ยา ผู้ป่วยควรออกกำลังกาย เช่น แอโรบิค ไฮโดรแอโรบิค (ออกกำลังกายในน้ำ) พักผ่อนให้เพียงพอ

  • รักษาโดยใช้ยา แพทย์อาจพิจารณาด้วยการใช้ยาที่ช่วยลดความเครียด หรือทำจิตบำบัด ใช้เฉพาะช่วงที่มีอาการหนัก เช่น ยาลดอาการปวด ยาที่ช่วยปรับระดับของสารสื่อประสาท 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook