วิจัยชี้ การบริโภค "น้ำตาล" ให้ผลไม่ต่างจากการ "เสพยา"
งานศึกษาวิจัยใหม่พบว่า การกินน้ำตาลให้ผลไม่ต่างจากยาเสพติด โดยน้ำตาลในจะไปกระตุ้นระบบโอปิออยด์ของสมองซึ่งหมายถึง การเสพติด และการบริโภคน้ำตาลติดต่อกันเกิดผลกระทบอย่างมากต่อการหลั่งโดปามีน
จากการศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย ออร์ฮูส ประเทศเดนมาร์ก ใช้วิธีศึกษาด้วยการป้อนหมูด้วยการให้ดื่มน้ำตาลเป็นเวลา 12 วัน และศึกษาผลการทดลองกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับสมองของหมู พบว่าน้ำตาลสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างน่าทึ่งกับระบบการหลั่งสารโดปามีนในสมองและทำให้เกิดการเสพติด ไม่ต่างจากการใช้สารเสพติดชนิดอื่น ๆ
ไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่น้ำตาลจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อร่างกาย อีกทั้งยังมีอีกหลายเหตุผลที่ชี้ชัดว่าทำไมมันจึงไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ หลังจากรับน้ำตาลสู่ร่างกายอย่างต่อเนื่อง 12 วัน เราสามารถเห็นผลกระทบอย่างมากกับระบบหลั่งโดปามีนและเกิดความเสพติด
ที่จริงแล้วระบบการเสพติดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางเคมีของสมองที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่และความสุข โดยจะถูกเปิดใช้งานตั้งแต่หลังจากการบริโภคน้ำตาลครั้งแรก
การทดลองกับลูกหมูจำนวน 7 ตัวด้วยการให้ดื่มน้ำตาลวันละ 2 ลิตรทุกวันเป็นเวลา 12 วัน โดยนักวิจัยได้เก็บภาพของสมองของพวกมันตั้งแต่แรกเริ่มการวิจัยจนถึงวันสุดท้าย เหตุผลที่ทดลองในหมูเป็นเพราะสมองของหมูมีความซับซ้อนและขนาดใหญ่พอที่จะใช้กับเครื่องสแกนของมนุษย์ พบว่าผลกระทบของน้ำตาลที่ส่งผลกับโดปามีนในสมองและการเสพติดนั้นน่าเป็นห่วง เพราะมันหมายความว่ามันสร้างความปั่นป่วนให้กับสมองในการควบคุมการหลั่งสารโดปามีน(ซึ่งหลั่งมาเมื่อเรามีความสุข)
โดยเป็นเรื่องน่าเป็นห่วงเพราะการผลิตโดปามีนของสมองเรานั้นมีความเชื่อมโยงกับโรคซึมเศร้าและโรคพาร์กินสัน หากน้ำตาลเข้าไปเปลี่ยนระบบของการหลั่งสารโดปามีนของเรา ภายในเวลาเพียง 12 วัน(ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นจากการทดลองกับหมู) ความสุขที่ปกติเราจะได้จากสิ่งเร้าทางสังคม หรือเรื่องใด ๆ ก็ตาม อาจไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายต้องการโดปามีนมากขึ้นและปัจจัยของการได้รับความสุขนั้นก็คือ น้ำตาล ซึ่งทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าน้ำตาลส่งผลอย่างไรกับร่างกายเราได้บ้าง