"โรคความจำดี" โรคแปลกสุดเจ๋งที่หลายคนอาจอยากเป็น

"โรคความจำดี" โรคแปลกสุดเจ๋งที่หลายคนอาจอยากเป็น

"โรคความจำดี" โรคแปลกสุดเจ๋งที่หลายคนอาจอยากเป็น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคร้ายแรงที่อยู่รอบๆ ตัวคุณในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่ทุกคนย่อมหลีกเลี่ยงและไม่อยากให้มันเกิดขึ้น ไม่ว่าจะกับครอบครัว หรือตัวคุณเอง นอกจากจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังทำให้คุณต้องเสียค่ารักษาเป็นอย่างมาก แต่ โรคความจำดี ไม่เป็นหนึ่งในนั้นกลับตรงกันข้ามด้วยซ้ำ เพราะใครๆ ก็อยากมีความจำที่แม่นยำเพื่อช่วยในการจดจำเรื่องราวที่ดีไว้ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมารู้จักโรคแปลกนี้ไปพร้อมๆ กัน


ทำความรู้จัก กับ โรคความจำดี (Hyperthymesia) ให้มากขึ้น

โรคความจำดี (Hyperthymesia) เป็นอาการของสมองที่มีการจดจำมากกว่าคนปกติ พวกเขาสามารถระลึกถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้นทั้งในอดีต ปัจจุบัน ได้อย่างละเอียด เรียกได้ว่าเป็นทั้งโรคแปลก และความสามารถชั้นสูงที่ใครๆ ก็อยากเป็น แต่อาจมีข้อเสียบางอย่างของโรคนี้เช่นกัน เพราะการจดจำที่ดีเกินไปเมื่อต้องพบเจอเรื่องราวที่กระทบจิตใจทำให้พวกเขาเหล่านั้นยากจะลืมมันลงได้ และอาจเก็บมาคิด วิตกกังวล จนเป็นผลเสียก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า

นักประสาทวิทยา แห่งมหาลัยแคลิฟอร์เนียร์ เออร์ไวน์ (University of California, Irvine) ได้ประกาศให้โรคความจำดี เป็นโรคที่น่าทึ่งในเรื่องของการจดจำ ทีมวิจัยได้พิสูจน์ความสามารถของสตรีผู้หนึ่ง ชื่อว่า จิลล์ ไพรซ์ (Jill Price’s) ด้วยแบบทดสอบที่ทางทีมนักวิจัยได้ให้ทำ แสดงให้เห็นว่าเธอมีความสามารถในการจำรายละเอียดแม้แต่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่พบเห็นรวมทั้งเรื่องในอดีต และประวัติของเธอตั้งแต่เยาว์วัย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเหลือเชื่อของบรรดาทีมวิจัยอย่างมาก แต่ยังคงไม่สามารถระบุถึงสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคความจำดีได้เพียงแต่สังเกตเห็นถึงโครงสร้างสมองบางส่วนนั้นแตกต่างจากคนทั่วไป และเริ่มศึกษาวิเคราะห์ของโรคนี้ให้มากขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการรักษาผู้ป่วยที่เป็นความจำเสื่อม และอาการบาดเจ็บของสมอง


ประเภทหน่วยความจำหลัก ที่เกี่ยวข้องกับ โรคความจำดี

1. หน่วยความจำระยะสั้นและระยะยาว

เป็นหน่วยความจำที่สมองของคุณถูกสั่งการให้เก็บเรื่องราวต่างๆ ไว้ อย่างหน่วยความจำระยะสั้นอาจเป็นเรื่องที่คุณปฏิบัติอยู่ทุกวัน เช่น เมื่อวานนี้รับประทานอาหารอะไร ใส่เสื้อแบบไหน เป็นต้น ส่วนความจำระยะยาวนั้น เป็นสิ่งที่เชื่อมกับจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ยิ่งความทรงจำนั้นทำให้คุณมีความสุข หรือมีค่าทางจิตใจมากเท่าไหร่ ยิ่งจดจำได้นานมากขึ้น ยกตัวอย่างได้ดังนี้

  • เหตุการณ์การโดนขอแต่งงาน

  • เทศกาลรวมญาติของครอบครัว และอื่นๆ

2. หน่วยความจำด้านชีวประวัติ

ชีวประวัติในที่นี้ไม่ได้หมายถึงประวัติศาสตร์แต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องราวส่วนตัวของคุณเอง เช่น การพบปะสังคม การสนทนา อุบัติเหตุที่เคยเกิดขึ้น ส่วนใหญ่มักเริ่มจดจำอย่างละเอียดตั้งแต่ตอนที่คุณยังเด็ก หรืออายุราวๆ ประมาณ 10 ปีขึ้นไป


3. หน่วยความจำที่ใช้ตัวช่วยจำ

คุ้นๆ กันหรือไม่ ว่าอะไรบ้างที่เป็นตัวช่วยในการจดจำ ยกตัวอย่าง เช่น ในขณะที่คุณกำลังเป็นเด็กเล็ก คุณพ่อคุณแม่ก็เริ่มส่งเสริมการพัฒนาการของสมอง เช่น การเปิดเพลง ABC เสริมทักษะให้คุณได้จดจำง่ายขึ้น และฝึกคุณจากระดับง่ายๆ จนไปถึงระดับยากตามวัย


4. หน่วยความจำแบบหลอดไฟ

สำหรับผู้ที่เคยเผชิญเหตุการณ์ตราตรึงใจ เช่น อุบัติเหตุรถชน ที่ทำให้คุณเกิดการจดจำแสงไฟหน้ารถ เมื่อพบเห็นวัตถุรอบตัว ไม่ว่าจะถนน สภาพแวดล้อม รวมถึงแสงไฟหน้ารถ สมองของคุณจะปรากฎเป็นภาพออกมาทำให้คุณรู้สึกผวา หวาดกลัว และมีอาการเหม่อลอย


ฝึกพฤติกรรมในการเพิ่มความจำให้สมองของคุณ

การมีประสิทธิภาพด้านความจำที่ดี คุณสามารถเริ่มฝึกตนเองได้ โดยไม่ต้องรอโรคนี้ให้เกิดขึ้น เพราะมีเปอร์เซ็นต์น้อยมากที่จะเกิดกับบุคลทั่วไป พัฒนาสมองของคุณให้ดีขึ้นด้วยพฤติกรรมเหล่านี้

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

  • การออกกำลังกายในระดับปานกลาง ไม่หักโหม เช่น การเดินเร็ว

  • เพิ่มความทรงจำด้วยกิจกรรมเสริมทักษะ เช่น เกมปริศนาอักษรไขว้ เล่นดนตรี เรียนรู้ด้านของภาษาต่างประเทศ

  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โภชนาการสูง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook