แหล่งปนเปื้อน "สารตะกั่ว" ในชีวิตประจำวัน ที่เราอาจคาดไม่ถึง

แหล่งปนเปื้อน "สารตะกั่ว" ในชีวิตประจำวัน ที่เราอาจคาดไม่ถึง

แหล่งปนเปื้อน "สารตะกั่ว" ในชีวิตประจำวัน ที่เราอาจคาดไม่ถึง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายคนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับอันตรายของ สารตะกั่ว และเราทุกคนต่างก็พยายามหลีกเลี่ยงสารอันตรายเหล่านี้กันอย่างสุดฝีมือ แต่สารตะกั่วเหล่านี้อาจมาในรูปแบบที่เราคาดไม่ถึง และแฝงตัวอยู่ภายในสิ่งของที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน แต่สิ่งของเหล่านั้นมีอะไรบ้าง หาคำตอบได้จากบทความนี้


สารตะกั่ว ส่งผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย

สารตะกั่ว (Lead) เป็นโลหะหนักที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ด้วยคุณสมบัติอ่อนตัวและสามารถดัดเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ สารตะกั่วจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆ มากมาย เช่น แบตเตอรี่ บัดกรี สีทาบ้าน หรือนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสารตะกั่วนั้นจะมีประโยชน์มากมาย แต่สารนี้ก็เป็นพิษอย่างรุนแรงต่อทั้งคนและสัตว์

การเป็นพิษจากสารตะกั่วสามารถส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและสติปัญญา โดยเฉพาะการพัฒนาของสมอง พิษจากสารตะกั่วนี้สามารถทำลายระบบประสาทและทำให้ไตเสียหาย ทำให้เกิดอาการชัก หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้

การเป็นพิษจากสารตะกั่วนั้นจะเกิดจากการที่มีสารตะกั่วสะสมภายในร่างกายเป็นเวลานานกว่าหลายเดือนหรือหลายปี แม้ว่าจะเป็นปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ตาม เด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี มักจะได้รับผลกระทบต่อพิษจากสารตะกั่วเหล่านี้มากเป็นพิเศษ

แม้เราสามารถรักษาภาวะเป็นพิษจากสารตะกั่วได้ แต่พิษจากสารตะกั่วนั้นก็อาจส่งให้เกิดความเสียหายที่ไม่อาจแก้ไขได้ต่อพัฒนาการของร่างกาย ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดจึงควรระมัดระวังในการรับสารตะกั่ว โดยเฉพาะสารตะกั่วที่แอบซ่อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน


อาการของคนเป็นพิษจากสารตะกั่ว

อาการในช่วงแรกของภาวะเป็นพิษจากสารตะกั่วนั้นอาจจะระบุได้ยาก เพราะโดยปกติแล้วสัญญาณและอาการของภาวะเป็นพิษจากสารตะกั่วนั้นจะไม่แสดงจนกว่าจะมีปริมาณของสารตะกั่วสะสมในร่างกายในอยู่ระดับที่รุนแรงแล้ว


อาการของภาวะเป็นพิษจากสารตะกั่วในทารกแรกเกิด

  • คลอดก่อนกำหนด
  • น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย
  • เติบโตช้า

อาการของภาวะเป็นพิษจากสารตะกั่วในเด็ก

  • การเจริญเติบโตช้า
  • เรียนรู้ช้า
  • หงุดหงิดง่าย
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลด
  • เหนื่อยล้า
  • ปวดท้อง
  • อาเจียน
  • ท้องผูก สู
  • สูญเสียการได้ยิน
  • ชัก

อาการของภาวะเป็นพิษจากสารตะกั่วในผู้ใหญ่

  • ความดันโลหิตสูง
  • ปวดข้อและปวดกล้ามเนื้อ
  • สูญเสียความทรงจำ หรือตั้งสมาธิได้ยาก
  • ปวดหัว
  • ปวดท้อง
  • มีความผิดปกติทางอารมณ์
  • อสุจิลดลง
  • แท้งบุตร หรือคลอดก่อนกำหนด


สิ่งของในชีวิตประจำวันที่อาจปนเปื้อนสารตะกั่ว

  • ของเล่นเด็ก

ของเล่นเด็กนั้นอาจจะมีการปนเปื้อนของสารตะกั่วอยู่มาก ไม่ว่าจะปนเปื้อนอยู่ในสีหรือพลาสติกที่ใช้ทำของเล่นนั้น การอม เลีย หรือเคี้ยวของเล่นเหล่านี้อาจทำให้เด็กได้รับสารตะกั่วมากเพียงพอที่จะทำให้เกิดอันตรายได้

  • สี

สารตะกั่วนั้นจะใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตสี เพื่อเพิ่มสี เพิ่มคุณสมบัติในการปกปิด และทำให้สีนั้นอยู่ได้ทนนานมากขึ้น แต่ตั้งแต่ในปี 1978 รัฐบาลหลายๆ แห่งทั่วโลกได้มีการแบนไม่ให้ใช้สีที่ปนเปื้อนสารตะกั่วสำหรับสีทาบ้าน ของเล่น และเครื่องใช้ภายในบ้านต่างๆ

  • ฝุ่นควัน

สารตะกั่วส่วนใหญ่ที่เราพบเจอมักจะมาในรูปแบบของฝุ่น สำหรับภายในบ้านนั้น ฝุ่นที่ปนเปื้อนสารตะกั่วส่วนใหญ่มักจะอยู่ในสีที่บิ่นหรือหลุดลอก หรือเวลาที่เราขูด หรือขัดสีออกในช่วงที่ต่อเติมบ้าน สีที่หลุดลอกออกมาเหล่านี้มักจะไปเกาะติดอยู่กับบริเวณอื่นในบ้าน ที่ทำให้เด็กมีโอกาสเข้าไปสัมผัส และได้รับพิษจากสารตะกั่วได้

  • ดิน

อนุภาคของตะกั่วจากน้ำมันที่มีสารตะกั่ว และจากสีที่เทลงบนพื้นดิน สามารถอยู่ได้นานหลายปี ดังนั้นดินที่ปนเปื้อนสารตะกั่วเหล่านี้อาจพบได้ตามพื้นที่รอบท้องถนน หรือภายในบ้านเก่าๆ ทั้งหลาย

  • น้ำประปา

ในบางครั้งสารตะกั่วก็อาจจะเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ ภายในแหล่งน้ำ  เช่น แม่น้ำ ลำคลอง และทะเลสาบ สารตะกั่วเหล่านี้จะเข้าสู่ระบบน้ำประปาและน้ำดื่มได้จากการกัดกร่อนสึกหรอของวัสดุที่มีสารตะกั่วภายในระบบประปา และกระจายน้ำที่ปนเปื้อนสารตะกั่วเหล่านี้เข้าสู่ครัวเรือนต่างๆ

  • เสื้อผ้า

บางอาชีพอาจจะต้องเจอกับสารเคมีและสารตะกั่วในระหว่างทำงาน เช่น ช่างซ่อมรถยนต์ ช่างทาสี ช่างก่อสร้าง ผู้ที่ทำงานในโรงงานแบตเตอรี่ และอื่นๆ สารตะกั่วเหล่านี้อาจจะติดอยู่กับเสื้อผ้าได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook