"กระดูกข้อสะโพกตาย" โรคอันตรายของวัยทำงาน

"กระดูกข้อสะโพกตาย" โรคอันตรายของวัยทำงาน

"กระดูกข้อสะโพกตาย" โรคอันตรายของวัยทำงาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เตือนโรคกระดูกข้อสะโพกตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยงกระดูกทำให้เกิดอาการปวด และสร้างปัญหาต่อการเดิน ควรใส่ใจก่อนจะสายเกินไป


โรคกระดูกข้อสะโพกตาย คืออะไร? เกิดจากสาเหตุใด?

นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีการการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคกระดูกข้อสะโพกตาย พบได้ในช่วงอายุ 30-40 ปี เกิดจากเส้นเลือดที่มาเลี้ยงหัวกระดูกข้อสะโพกเกิดการอุดตัน หรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุ ทำให้เลือดไม่สามารถนำสารอาหารมาหล่อเลี้ยงหัวกระดูกข้อสะโพกได้จนทำให้เซลล์หัวกระดูกข้อสะโพกค่อยๆ ตาย และผิวข้อสะโพกเสีย หลังจากนั้นหัวกระดูกข้อสะโพกจะไม่สามารถรับน้ำหนักร่างกายได้จึงเกิดการยุบตัวของหัวกระดูก สร้างความเจ็บปวดต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และทำให้ไม่สามารถเดินได้ตามปกติ

นอกจากนี้ยังเกิดจากอุบัติเหตุโดยตรงต่อผิวข้อ ที่พบบ่อยคือ พบการแตกหักของกระดูกบริเวณข้อสะโพก ส่งผลทำให้เส้นเลือดที่มาเลี้ยงถูกทำลาย  เส้นเลือดที่ฝังตัวอยู่ฉีกขาด  จนทำให้เกิดการตายของหัวกระดูกต้นขา ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ทานยาสเตียรอยด์จำนวนมากเป็นประจำ  มีไขมันในเลือดสูง และการได้รับเคมีบำบัด เป็นต้น


อาการของโรคกระดูกข้อสะโพกตาย

นายแพทย์ศักรินทร์ วงศ์เลิศศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กล่าวว่า ในระยะแรกที่อาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดที่ขาหนีบหรือข้อสะโพก และเวลาเดินจะมีอาการปวดมากขึ้น ต่อมาจะยืนเดินลำบากมาก และรู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อขยับข้อสะโพก


การตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกข้อสะโพกตาย

การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธี x-ray และ MRI โดย x-ray จะเห็นถึงความแข็งแรงของโครงสร้างและหัวกระดูกสะโพกทรุดตัวมากน้อยแค่ไหน ส่วน MRI สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างกระดูกในช่วงแรก  ซึ่งอาจไม่เห็นในภาพถ่าย x-ray และ MRI ยังช่วยประเมินได้ว่าโรคนี้ส่งผลกระทบต่อกระดูกมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ยังตรวจพบภาวะกระดูกข้อสะโพกตายได้ตั้งแต่เริ่มต้น


การรักษาโรคกระดูกข้อสะโพกตาย

สำหรับการรักษาโรคนี้โดยการทำกายภาพบำบัด เป็นเพียงประคับประคองตามอาการเท่านั้น เมื่อถึงจุดหนึ่งผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัดข้อสะโพก  แต่จะผ่าตัดเล็กหรือผ่าตัดใหญ่ขึ้นอยู่กับการตรวจพบเร็วแค่ไหน ดังนั้นถ้ามีอาการที่สงสัยหรือทำให้เกิดการกังวลอย่านิ่งนอนใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์และรักษาทันที

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook