ใครต้องใส่ “หน้ากากอนามัย” ช่วง “โควิด-19” ระบาดบ้าง?

ใครต้องใส่ “หน้ากากอนามัย” ช่วง “โควิด-19” ระบาดบ้าง?

ใครต้องใส่ “หน้ากากอนามัย” ช่วง “โควิด-19” ระบาดบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ยังยืนยันว่าในช่วงที่ยังมีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19” (COVID-19) ในประเทศไทย และไม่แน่ใจว่าคนรอบตัวติดเชื้อจากการไปประเทศเสี่ยงหรือไม่ การใส่หน้ากากอนามัยยังคงเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยลดการติดเชื้อไวรัสจากคนสู่คนได้ (รองลงมาจากการล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ และเจลล้างมือ) แต่ในช่วงที่หน้ากากอนามัยขาดแคลนจนราคาพุ่งสูงเป็นหลายสิบเท่าตัวแบบนี้ เราจึงต้องให้ผู้ที่มีความจำเป็นในการใช้หน้ากากอนามัยมากจริงๆ ได้ใช้ก่อน

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมป์ มีคำแนะนำในการใช้หน้ากากอนามัยในช่วงการระบาดของเชื้อโควิด-19 มาฝากประชาชนชาวไทย ดังนี้


ใครต้องใส่ “หน้ากากอนามัย” ช่วง “โควิด-19” ระบาดบ้าง?

  1. ผู้ป่วยไข้หวัด มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล (ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ หรือติดเชื้อโควิด-19)

  2. ผู้ที่เพิ่งกลับจากการเดินทางไปในกลุ่มประเทศเสี่ยง

    - ประเทศไหนคนไทยอย่าไป ในสถานการณ์ไวรัส “COVID-19”

  3. บุคลากรที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัด และผู้ที่เพิ่งกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง

  4. ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ปิด ที่มีคนอยู่แออัด ทั้งผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการ เช่น รถสาธารณะ ร้านอาหาร ฮอลล์คอนเสิร์ต โรงพยาบาล เป็นต้น

  5. พนักงานขับรถสาธารณะ หรือให้บริการสาธารณะอื่นที่มีคนรวมอยู่ด้วยกันเป็นจำนวนมาก

  6. บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยทั่วไป และถ้าต้องรักษาหรือให้บริการผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด หรือผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ต้องใส่หน้ากาก N95 หรือเทียบเท่า เพราะหากได้รับเชื้อจากผู้ป่วยแล้ว จะไปแพร่เชื้อให้กับผู้ป่วยคนอื่นได้ง่าย


คนสุขภาพดีปกติ ไม่อยู่ในกลุ่มจำเป็นต้องใช้หน้ากากอนามัย ยังสามารถใช้ได้หรือไม่?

ถ้ายังสามารถจัดหาหน้ากากอนามัยมาใช้ได้ง่าย เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่จะใส่เมื่อออกไปที่สาธารณะ เพื่อป้องกันตนเอง และผู้อื่น ยังไม่มีหลักฐานรองรับทั้งด้านคัดค้าน และด้านสนับสนุนในเรื่องของประโยชน์ที่ได้รับกับผลเสีย เว้นแต่จะทำให้หน้ากากอนามัยมีใช้ไม่เพียงพอ

ทั้งนี้ ในกรณีที่หน้ากากอนามัยขาดแคลนมากจริงๆ จะเรียงลำดับความสำคัญจากผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ที่รักษาผู้ป่วย จึงตามด้วยประชาชนทั่วไป และการใช้หน้ากากอนามัยยังต้องควบคู่ไปกับการป้องกันการแพร่และติดเชื้อไวรัสวิธีอื่น เช่น ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ เจลล้างมือ หรือแอลกอฮอล์ กินร้อน ช้อนกลาง ไม่ใช้ช้อน ส้อม ตะเกียบ หลอดน้ำ แก้วน้ำ รวมถึงผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้าร่วมกันกับคนอื่น กักตัวอยู่คนเดียว 14 วันหากเพิ่งกลับจากพื้นที่เสี่ยง และเมื่อมีอาการไข้ขึ้นสูง ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ และหอบเหนื่อย ควรรีบพบแพทย์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook