โควิด-19: “น้ำยาฆ่าเชื้อโรค” ช่วยลดไวรัสนอกจากหน้ากากอนามัย-เจลล้างมือ

โควิด-19: “น้ำยาฆ่าเชื้อโรค” ช่วยลดไวรัสนอกจากหน้ากากอนามัย-เจลล้างมือ

โควิด-19: “น้ำยาฆ่าเชื้อโรค” ช่วยลดไวรัสนอกจากหน้ากากอนามัย-เจลล้างมือ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นอกจากหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ แอลกอฮอล์ และกินร้อน ช้อนตัวเอง ล้างมือแล้ว การทำความสะอาดสิ่งที่คนมักจะหยิบจับอยู่บ่อยๆ ก็ควรทำความสะอาดด้วย “น้ำยาฆ่าเชื้อโรค” ด้วยเช่นกัน

สิ่งที่ควรทำความสะอาดบ่อยๆ ในช่วงโควิด-19 ระบาด

  • โต๊ะ 

  • เก้าอี้ 

  • ราวบันได 

  • ลูกบิดประตู 

  • แผงกดลิฟต์ 

  • คีย์บอร์ด 

  • คอมพิวเตอร์ 

  • โทรศัพท์ 

เป็นต้น 


วิธีเลือกน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ลดโควิด-19

เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เผยว่า เราควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพโดยสามารถสังเกต 3 จุดที่สำคัญ ได้แก่

  1. มีข้อความระบุว่า สามารถ "ฆ่าเชื้อโรค" "ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย" หรือ "ฆ่าเชื้อไวรัส"

  2. มีสารสำคัญเป็นสารฆ่าเชื้อ เช่น เอทิลแอลกอฮอล์ ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ โซเดียมไฮโปคลอไรต์ คลอโรไซลีนอล อัลคิลไดเมทิลเบนซิล แอมโมเนียมคลอไรด์ (หรือเบนซัลโคเนียมคลอไรด์)

  3. มีเลขทะเบียนวัตถุอันตรายในกรอบเครื่องหมาย อย. วอส. เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย จาก อย.

ผู้บริโภคควรปฏิบัติตามวิธีใช้บนฉลากอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอัตราส่วนการผสมและระยะเวลาที่ให้ผลิตภัณฑ์สัมผัสพื้นผิวเพื่อประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ กรณีพื้นผิวสกปรกมากควรขจัดสิ่งสกปรกออกก่อนแล้วจึงใช้ผลิตภัณฑ์ เนื่องจากความสกปรกจะลดประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ ที่สำคัญควรฆ่าเชื้อบริเวณพื้นผิวและวัสดุต่างๆ เป็นประจำ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการสัมผัสบ่อย 


ข้อควรระวังในการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรค

ห้ามนำน้ำยาฆ่าเชื้อโรคมาใช้เช็ดทำความสะอาดฆ่าเชื้อบนผิวหนัง และห้ามนำผลิตภัณฑ์หลายชนิดมาผสมรวมกันเพราะอาจเกิดอันตรายหรืออาจลดประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook