โควิด-19: Social Distancing คืออะไร ต้องอยู่ห่างกันแค่ไหนถึงจะไม่ติดไวรัส

โควิด-19: Social Distancing คืออะไร ต้องอยู่ห่างกันแค่ไหนถึงจะไม่ติดไวรัส

โควิด-19: Social Distancing คืออะไร ต้องอยู่ห่างกันแค่ไหนถึงจะไม่ติดไวรัส
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Social Distancing คือการรักษาระยะห่างระหว่างเรากับคนอื่นในสังคม สามารถลดการระบาดของโควิด-19 ได้อย่างไร

ในช่วงนี้มีการพูดถึงคำว่า Social Distancing กันมากขึ้น เพราะเป็นหนึ่งในมาตรการที่เริ่มจากผู้นำทั่วโลกให้การยอมรับว่าเป็นวิธีที่จะช่วยลดการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี แต่มาตรการนี้ต้องทำอย่างไร ดีอย่างไร และลดการระบาดของไวรัสได้จริงหรือไม่ Sanook Health มีคำตอบ


Social Distancing คืออะไร?

Social Distancing แปลตรงตัวคือ การรักษาระหว่างในสังคม กล่าวคือ การงดพบปะพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ในสังคม ทั้งในเชิงจำนวน และระยะเวลา (ไม่พบปะกับคนจำนวนมากในคราวเดียว และไม่ใช้เวลาอยู่ร่วมกับคนอื่นนานเกินไป) ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แพร่เชื้อไวรัสให้กับคนอื่นๆ ใกล้เคียง ดังจะเห็นได้จากการที่ภาครัฐ และเอกชนรณรงค์ให้คนที่เดินทางจากประเทศเสี่ยงกักตัวเองอยู่แต่ในบ้าน ไม่ออกไปพบปะพูดคุยกับคนภายในเป็นเวลา 14 วัน (ระยะฟักตัว)จึงช่วยลดการแพร่ระบาดของไวรัสได้


การรักษาระยะห่างระหว่างผู้อื่น ทำอย่างไร?

อาจจะเป็นเรื่องยากที่เราไม่พบปะพูดคุยกับใครเลยในทุกๆ วัน แต่เราสามารถเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด และชัดเจนได้ ดังนี้

  1. งดการสังสรรค์ ชุมนุม รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่างๆ กับคนจำนวนมาก เช่น งานปาร์ตี้ ชุมนุม คอนเสิร์ต ทำพิธีกรรมทางศาสนา มหกรรมต่างๆ

  2. รักษาระยะห่างจากอีกคนหนึ่งไม่ต่ำกว่า 2 เมตร เพื่อลดความเสี่ยงในการสูดเอาละอองน้ำลายจากการพูด ไอ จาม เข้าสู่ร่างกาย ถ้าจำเป็นต้องคุยใกล้ๆ ควรใส่หน้ากากอนามัย

  3. ลดการสัมผัสกันในระยะใกล้ เช่น จับมือ กอด หอมแก้ม ทักทายแบบฝรั่ง

  4. ลดการประชุมกันในห้องที่นั่งเรียงติดกัน และระยะเก้าอี้ค่อนข้างใกล้ ถ้าสามารถใช้การประชุมทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตในช่วงนี้ได้ก็จะดีมาก

  5. ลดการนั่งรับประทานอาหารในร้าน หรือโรงอาหารที่มีคนจำนวนมากนั่งติดกัน หรือใกล้กัน

  6. ลดการเดินทางไปในที่สาธารณะที่มีคนอยู่รวมกันจำนวนมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า โดยสามารถเลือกซื้อของผ่านทางออนไลน์ได้

  7. บางบริษัท หรือบางงานสามารถลดการติดต่อพูดคุยกับคนอื่นได้จากการทำงานที่บ้าน (work from home)

  8. บางสถานศึกษาอาจแนะนำการเรียนการสอนแบบออนไลน์แทน

  9. เปลี่ยนเวลาในการพบปะพร้อมกันครั้งละหลายๆ คน เช่น จัดรอบในการรับประทานอาหารเป็นกลุ่มย่อยๆ ต่างเวลากัน

  10. ลดการรับคนภายนอกเข้ามาในที่ทำงาน รวมทั้งคัดกรองคนภายนอกที่จะเข้ามาให้ดีด้วย

  11. ลดการเดินทางให้น้อยครั้งที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงในการพบปะใกล้ชิดกับคนอื่นๆ ให้ได้มากที่สุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook