ไวรัสโคโรนา: 4 วิธีการง่ายๆ ทดสอบ “แอลกอฮอล์” ปลอมหรือไม่

ไวรัสโคโรนา: 4 วิธีการง่ายๆ ทดสอบ “แอลกอฮอล์” ปลอมหรือไม่

ไวรัสโคโรนา: 4 วิธีการง่ายๆ ทดสอบ “แอลกอฮอล์” ปลอมหรือไม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายวิธีทดสอบแอลกอฮอล์ว่าเป็นของจริงหรือไม่ ท่ามกลางกระแสการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 และไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้แอลกอฮอล์เริ่มขาดตลาด และอาจมีมิจฉาชีพเอา "เมทิลแอลกอฮอล์" มาหลอกขาย ปลอมว่าเป็น "เอทิลแอลกอฮอล์" บรรจุขวด ติดฉลากให้คนหลงเชื่อ ซื้อไปทำเจลแอลกอฮอล์ใช้กันก็อันตรายมาก

มีวิธีทดสอง 4 วิธีง่ายๆ ดังนี้

  1. วัดจุดเดือด 

ใส่แอลกอฮอล์ในภาชนะทางเคมี ตั้งไฟ แล้วใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิเมื่อถึงจุดเดือด

  • เอทิลแอลกอฮอล์ จะมีจุดเดือดประมาณ 78 องศาเซลเซียส 

  • เมทิลแอลกอฮอล์ จะมีจุดเดือดประมาณ 65 องศาเซลเซียส 

  1. ดมกลิ่น

วิธีง่ายๆ ที่อาจไม่แม่นยำนัก เอทิลแอลกอฮอล์ จะมีกลิ่นแบบแอลกอฮอล์ที่แรงกว่าเมทิลแอลกอฮอลฺมาก แต่เมทัลแอลกอฮอล์จะดมแล้วแสบจมูกมากกว่า (อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ต้องระวัง อย่าสูดดมเข้าไปมากเกินไป เพราะจะเป็นพิษต่อร่างกายได้)

  1. ทำปฏิกิริยาไอโอโดฟอร์ม 

iodoform reaction คือการเอาตัวอย่างแอลกอฮอล์นั้น ใส่หลอดทดลอง เอาไปเติมสารละลายไอโอดีน (เช่น เบตาดีน) ผสมกับโซเดียมไฮดรอกไซด์ (ก็คือ โซดาไฟ) แช่หลอดในอ่างน้ำอุ่น เขย่าหลอด แล้วทิ้งไว้ซัก 2 นาที ถ้าเป็นเอทิลแอลกอฮอล์ จะมีตะกอนสีเหลืองของหมู่ไตรไอโอโดมีเทน CHI3 (triiodomethane) เกิดขึ้น ส่วนเมทิลแอลกอฮอล์ จะไม่มีตะกอน (การทดลองนี้ อาจจะทำค่อนข้างยากหน่อย)

  1. ลองจุดไฟ ดูลักษณะสีของเปลวไฟ 

เปรียบเทียบกับในคลิปวิดีโอนี้ เอทิลแอลกอฮอล์ (ด้านขวา) จะติดไฟโชติช่วงและสว่างเป็นสีเหลืองมากกว่า ขณะที่ เมทิลแอลกอฮอล์ (ด้านซ้าย) จะติดไฟน้อยกว่า และแสงจะออกไปทางสีฟ้า

(วิธีทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ใช้ทดสอบในส่วนของแอลกอฮอล์ที่เป็นของเหลวบริสุทธิ์ ไม่ใช่ในรูปของเจลแอลกอฮอล์นะครับ ซึ่งจะมีสารอื่นเข้ามาปนแ ละทำให้ผลการทดลองผิดเพี้ยนได้)

วิธีทั้งหมด ควรทำด้วยความระมัดระวัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใช้ไฟ หรือการสูดลม

เตือนอีกครั้งว่า วิธีการทดสอบเจลแอลกอฮอล์ที่แชร์ๆ กันอยู่ เช่น เอาไปจุดไฟ หรือเอาไปทาบนใบเสร็จรับเงิน ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้องนะครับ มีสารเคมีอีกหลายตัวที่ผสมอยู่ในเจล และทำให้ผลการทดลองไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ (เช่น กรีเซอรีนในเจล จะทำให้จุดไฟไม่ติด เป็นต้น)

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook