ช่วง “โควิด-19” ระบาด สั่งอาหาร “เดลิเวอรี่” อย่างไรให้ปลอดภัยจริง

ช่วง “โควิด-19” ระบาด สั่งอาหาร “เดลิเวอรี่” อย่างไรให้ปลอดภัยจริง

ช่วง “โควิด-19” ระบาด สั่งอาหาร “เดลิเวอรี่” อย่างไรให้ปลอดภัยจริง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บริการ “เดลิเวอรี่” หรือบริการส่งของ กลายเป็นธุรกิจที่กำลังไปได้สวยในระหว่างสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) กำลังระบาด นอกจากบริการส่งของ ที่กำลังมาแรงว่าคือการส่งอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผู้ที่มีความเสี่ยงโดยกักตัว 14 วัน และผู้ที่กำลังทำงานจากที่บ้าน (work from home) แต่บางคนอาจสงสัยว่า บริการส่งอาหารเหล่านี้มีความปลอดภัยจากการเสี่ยงติดโควิด-19 มากน้อยแค่ไหน

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ให้คำแนะนำถึงร้านอาหารที่จัดส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่เอาไว้ดังนี้

  1. อาหารปรุงสำเร็จต้องปรุงสุกใหม่ สำหรับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ปรุงให้สุกด้วยความร้อนไม่น้อยกว่า 70 องศาเซลเซียส หลีกเลี่ยงการจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก

  2. หากผู้ปรุงอาหารมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ ให้หยุดปฏิบัติงานและไปพบแพทย์ทันที

  3. จัดให้มีที่ล้างมือพร้อมสบู่สำหรับล้างมือ หรือจัดให้มีเจลแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือ

  4. จัดสถานที่ให้เพียงพอกับจำนวนคนขนส่งอาหารที่เข้ามาใช้บริการโดยจัดระยะห่าง 1 เมตร และมีการระบายอากาศที่เหมาะสม

  5. จัดหาภาชนะบรรจุอาหารที่เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท แข็งแรง ปกปิดมิดชิดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนในระหว่างการขนส่ง ไม่ใช้โฟมในการบรรจุอาหาร

  6. อาหารปรุงสำเร็จ มีการติดฉลากที่ระบุรายละเอียดอย่างชัดเจน เช่น ชื่อร้านอาหาร วัน/เดือน/ปี เวลาที่ผลิต ระยะเวลา และอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษาอาหาร เป็นต้น กรณีจัดส่งอาหารเสี่ยง เช่น อาหารที่ใช้มือสัมผัสมาก เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ข้าวหมูกรอบและอื่นๆ อาหารที่มีส่วนประกอบของกะทิ นม ควรแนะนำให้ผู้บริโภคนำไปอุ่นร้อนก่อนรับประทาน


คำแนะนำสำหรับผู้ให้บริการส่งอาหาร หรือเดลิเวอรี่

  1. สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตนเอง ไอ จาม ปนเปื้อนอาหาร และลดความเสี่ยงการได้รับเชื้อโรคระหว่างให้บริการ

  2. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานขนส่งอาหาร ก่อนเข้าร้านอาหาร หลังการส่งอาหารให้ผู้บริโภค หลังเข้าส้วม หลังจับสิ่งสกปรก และจับเงิน

  3. หากมีอาการป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ ให้หยุดปฏิบัติงานและไปพบแพทย์ทันที

  4. จัดหากล่องบรรจุอาหารท้ายยานพาหนะสำหรับขนส่งอาหารที่มีโครงสร้างที่แข็งแรง ปกปิดมิดชิดในลักษณะที่ช่วยป้องกันการปนเปื้อน และใช้กล่องบุฉนวนเพื่อรักษาอุณหภูมิให้อยู่ในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสม ต้องทำความสะอาดด้วยน้ำและน้ำยาทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคด้วย Alcohol 70% โดยสเปรย์หรือหยด Alcohol 70% ลงบนผ้าสะอาดพอหมาดๆ เช็ดไปในทิศทางเดียวกันเป็นประจำทุกวัน

  5. ตรวจสอบคุณภาพอาหารทันทีหลังได้รับจากร้านอาหาร เช่น ความสะอาด สภาพอาหารและไม่มีกลิ่นเน่าเสีย บรรจุอยู่ในภาชนะที่มีสภาพดี ไม่ชำรุด การปกปิดอาหาร ฉลากอาหาร เป็นต้น

  6. การส่งอาหารต้องแยกเก็บอาหารเป็นสัดส่วน ระหว่างอาหารปรุงสำเร็จและเครื่องดื่ม และจัดส่งถึงมือผู้บริโภคให้เร็วที่สุด

  7. ไม่ควรเปิดกล่องบรรจุอาหารท้ายยานพาหนะจนกว่าจะพบผู้สั่งซื้ออาหาร โดยก่อนเปิดกล่องใส่อาหารทุกครั้งควรทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ จัดส่งอาหารให้ผู้สั่งซื้อโดยตรงหรือจุดที่ผู้สั่งซื้อกำหนดเพื่อลดความเสี่ยงการได้รับเชื้อโรคระหว่างให้บริการผู้สั่งซื้อ ในการส่งอาหาร คนขนส่งอาหารควรอยู่ห่างผู้รับอาหารอย่างน้อย 1 เมตร หรือในกรณีที่ไม่ได้ส่งอาหารให้กับผู้สั่งอาหารได้โดยตรง สถานที่หรือบริเวณที่จะส่งอาหารต้องไม่ทำให้อาหารเกิดการปนเปื้อน เช่น ไม่ส่งอาหารบริเวณใกล้ถังขยะ เป็นต้น และภายหลังส่งอาหารและหลังการจับเงินให้ทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์

  8. ถอดถุงมือผ้าในระหว่างการหยิบจับอาหาร เพราะอาจเกิดการปนเปื้อนของฝุ่นละอองและเชื้อโรคที่สะสมในถุงมือผ้า กรณีใส่ถุงมือผ้าในระหว่างการใช้ยานพาหนะขนส่งให้ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ก่อนการสวมใส่ทุกครั้ง และเปลี่ยนถุงมือทุก 4 ชั่วโมง ทำความสะอาดถุงมือด้วยน้ำยาทำความสะอาดทุกวัน

  9. ใช้วิธีการส่ง 1 รายการผู้บริโภคต่อ 1 ครั้งในการส่ง เพื่อการวางแผนระยะเวลาการส่งอาหารถึงผู้บริโภคอย่างเหมาะสม และลดการสัมผัสพื้นที่ในการส่งอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อไวรัสจากการส่งสินค้าหลายจุด


คำแนะนำสำหรับผู้บริโภคที่ใช้บริการเดลิเวอรี่

  1. ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์สำหรับทำความสะอาดมือ หลังการรับอาหารจากคนขนส่งอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร

  2. สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยหากมีอาการป่วย ในระหว่างการรับอาหารจากคนขนส่งอาหาร

  3. หลีกเลี่ยงการสั่งซื้ออาหารกลุ่มเสี่ยง เช่น อาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือเครื่องในสัตว์ที่ปรุงไม่สุก อาหารที่เน่าเสียง่าย อาหารที่ปรุงด้วยนม กะทิ เป็นต้น ควรนำไปอุ่นร้อนก่อนรับประทาน

  4. ตรวจสอบคุณภาพอาหาร เช่น ความสะอาด สภาพอาหารและไม่มีกลิ่นเน่าเสีย ความเหมาะสมของภาชนะบรรจุ การปกปิดอาหาร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook