แพทย์เตือน! อย่าเหยียบฝาท่อระบายน้ำ เสี่ยงบาดเจ็บหนัก

แพทย์เตือน! อย่าเหยียบฝาท่อระบายน้ำ เสี่ยงบาดเจ็บหนัก

แพทย์เตือน! อย่าเหยียบฝาท่อระบายน้ำ เสี่ยงบาดเจ็บหนัก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เฟซบุ๊คเพจ ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว กล่าวเตือนประชาชนถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากเหยียบฝาท่อระบายน้ำตามถนนสาธารณะต่างๆ ว่าถึงแม้จะดูแน่นหนาปลอดภัยดี แต่ก็ยังมีสิทธิ์พลัดตกท่อ บาดเจ็บหนักกันได้บ่อยๆ เพราะฝาท่อระบายน้ำที่เป็นเหล็ก มีจุดเสี่ยอันตรายอยู่หลายแห่ง เช่น


- วัสดุที่ใช้ทำฝาท่อ อาจรับน้ำหนักมากไม่ได้ หรือยิ่งหากเป็นตะแกรงเหล็ก ยิ่งเสี่ยงตะแกรงทะลุ หรือส้นรองเท้าติดสะดุดหกล้มก็ยังได้

- ขอบฝาท่อ ที่ถึงแม้ฝาท่อดูแน่นหนามั่นคงดี แต่หากฝากท่อเปราะบาง รับน้ำหนักไม่ได้ หรือมีสนิมเกาะ ชำรุด ก็เสี่ยงรับน้ำหนักของเราไม่ได้จนพลัดตกลงไป

เมื่อตกท่อระบายน้ำ ควรทำอย่างไร?

1. ตั้งสติให้ดี อย่าตกใจลนลานจนทำอะไรไม่ถูก

2. ร้องตะโกนขอความช่วยเหลือจากผู้ที่ผ่านไปผ่านมา ไม่ว่าจะตกลงไปแค่เฉพาะส่วนขา ลงไปครึ่งตัว หรือลงไปทั้งตัวก็ตาม เพราะคุณอาจไม่ได้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

3. สังเกตอันตรายรอบตัว ว่าที่ตรงท่อระบายน้ำนี้เสี่ยงอันตรายต่อรถราบนถนนหรือไม่ โดยเฉพาะมอเตอร์ไซค์ การตะโกนขอความช่วยเหลือจึงนอกจากจะให้คนอื่นเข้ามาช่วยคุณแล้ว ยังเป็นการแสดงให้ผู้คนรับรู้ว่าที่ตรงนี้มีคนบาดเจ็บอยู่ จะได้ระมัดระวังในการขับขี่ หรือเดินผ่านตรงจุดเกิดเหตุมากขึ้น

4. สำรวจอาการบาดเจ็บของตัวเอง มีแผลหรือไม่ มีอะไรเสียบปักคาอยู่หรือเปล่า หากมีอะไรปักขาอยู่ อย่าดึงออก ให้ไปแพทย์จัดการเอาออกเองที่โรงพยาบาล

5. หากสำรวจดูแผลแล้วไม่มีอะไรปักคาอยู่ หรือมีเพียงบาดแผลเล็กน้อย พอช่วยเหลือตัวเองได้ ก็ค่อยๆ พยุงตัวเองออกมา แต่หากมีสิ่งใดปักคาอยู่ที่แขนขา หรือร่างกาย ให้อยู่นิ่งๆ รอคนมาช่วยพยุงออก

6. หากมีคนมาช่วยพยุง พยายามประคองตัวเองให้นิ่ง ระวังอย่าให้เกิดบาดแผลเพิ่ม

7. รีบไปโรงพยาบาลทันที

วิธีการรักษาจากโรงพยาบาล

1. ล้างแผล ซึ่งอย่างไรก็แสบ ต้องทน ปริมาณความแสบขึ้นอยู่กับอาการของบาดแผล

2. หากแผลไม่หนักมาก อาจจะใส่ยา หรืออาจจะเย็บแผล แต่หากแผลใหญ่หรือลึกมาก อาจเย็บแผลหลวมๆ แล้วรอดูอาการติดเชื้อ

3. หากจำได้ว่าเคยฉีดยาป้องกันบาดทะยักไปเกิน 10 ปีมาแล้ว ต้องฉีดเพิ่มใหม่อีก 1 เข็ม หรือหากแผลหนักมากจริงๆ ไม่เกิน 5 ปีก็ต้องฉีดอีก 1 เข็ม

4. การรักษาหากมีอะไรปักคาอยู่ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์แต่ละคน การรักษาไม่เหมือนกัน

5. ถ้าพบเส้นเลือดใหญ่ขาด กระดูกหัก อาจจะต้องทำการรักษาตามอาการ และอาจจะรักษากันยาวนานกว่าบาดแผลปกติ

ดังนั้นสุดท้ายแล้ว ฝากไว้ว่า อยากให้เลี่ยงการเหยียบท่อระบายน้ำทุกชนิดจะดีที่สุดค่ะ เพราะไม่ใช่แค่เจ็บตัว แต่เสียเงิน เสียเวลา และเสี่ยงอันตรายต่างๆ ที่อาจเกิดตามมาจากรถราที่วิ่งตามท้องถนนอีกด้วย


ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊คเพจ ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว 
ภาพประกอบเพิ่มเติมจาก @หมอจ๊วด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook