อาการ “ลงแดง” คืออะไร อันตรายแค่ไหน พร้อมวิธีรักษา

อาการ “ลงแดง” คืออะไร อันตรายแค่ไหน พร้อมวิธีรักษา

อาการ “ลงแดง” คืออะไร อันตรายแค่ไหน พร้อมวิธีรักษา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คนที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ถ้าจู่ๆ ก็หยุดดื่มทันที อาจมีอาการ “ลงแดง” ได้ โดยอาจมีอาการตั้งแต่ปวดศีรษะ มือสั่น นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย หงุดหงิด ไปจนถึงเห็นภาพหลอน หรือชักได้


ทำความรู้จัก อาการ “ลงแดง”

อาการลงแดง หรือภาษาทางการในทางการแพทย์เรียกว่า อาการเนื่องจากการขาดสุรา (alcohol withdrawal syndrome) เกิดขึ้นในผู้ที่หยุดดื่มหรือลดการดื่มสุราลงกะทันหัน หลังจากที่ดื่มติดต่อกันมานาน เป็นระยะเวลาหนึ่ง (เทียบได้กับการดื่มวิสกี้ปริมาณ 16 ออนซ์ หรือ 2/3 ขวดต่อวันติดต่อกันเป็นเวลานาน 14-21 วัน)


อาการลงแดง (alcohol withdrawal) มีอะไรบ้าง

  1. อาการที่พบได้ในระยะแรก ได้แก่ ตัวสั่น มือสั่น หงุดหงิด คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งอาจเกิดขึ้นหลังจากหยุดดื่มไปได้เพียงไม่กี่ชั่วโมง และเห็นอาการชัดในเช้าวันรุ่งขึ้น

    นอกจากนี้ยังอาจพบอาการอื่นๆ เช่น อ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะ วิตกกังวล กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ชีพจรเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก ความดันโลหิตสูงขึ้น ไปจนถึงประสาทหลอน แต่พบได้น้อย
    อาการในช่วงนี้อาจพบได้ 1-2 วัน และจะค่อยๆ ลดลงภายใน 5-7 วัน แต่อาการหงุดหงิดง่าย นอนไม่หลับ อาจพบได้ถึง 10 วัน

  2. อาจพบอาการชักในช่วง 7-48 ชั่วโมงหลังหยุดแอลกอฮอล์ได้ โดยพบได้ราว 90% ราว 2-6 ครั้ง  และไม่ได้หมายถึงว่ามีอาการรุนแรงของโรคพิษสุราแต่อย่างใด

  3. หลัง 48 ชั่วโมง อาจพบอาการประสาทหลอน ได้ยินเสียงที่ไม่เรื่องจริง เช่น เสียงนาฬิกา รถยนต์ เสียงคนคุยกัน แต่พบอาการประสาทหลอนที่เห็นเป็นภาพหลอนได้น้อย โดยผู้ป่วยไม่มีอาการเพ้อ หลงลืม หรืองุนงงสับสน ผู้ป่วยจะค่อยๆ รู้ได้ด้วยตัวเองว่าไม่ใช่เรื่องจริง

  4. เมื่อหยุดแอลกอฮอล์ได้ 2-3 วัน ไปจนถึงอาการรุนแรงมากขึ้นในวันที่ 4-5 ผู้ป่วยอาจจะเริ่มเห็นภาพหลอนที่ทำให้รู้สึกหวาดกลัว เช่น มีคนมาทำร้าย เห็นสัตว์ไต่ตามตัว เสียงคนพูดข่มขู่ พูดฟังไม่เข้าใจ ร้องตะโกน หรือหลบซ่อนตัว อาการเป็นๆ หายๆ ระหว่างวัน ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะเป็นไม่นานนัก


วิธีรักษาอาการลงแดง

ปกติแล้วผู้ป่วยที่มีอาการไม่มากนัก ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือรับการรักษาด้วยยา อาการจะค่อยๆ ทุเลาได้เอง แต่หากมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ทีมแพทย์จะพิจารณา และวินิจฉัยอาการเป็นกรณีๆ ไป

ทั้งนี้ ในผู้ป่วยอาการเนื่องจากการขาดสุราบางราย อาจพบอาการขาดสารอาหาร โดยเฉพาะ thiamine B12 และ folic acid ในบางรายแพทย์อาจพิจารณาฉีดสารอาหารที่ขาดเข้ากล้าม และในรายที่อาการไม่รุนแรง จะให้เป็นเกลือแร่ทดแทน และรับประทานอาหารที่เหมาะสมแทน

ในกรณีที่มีอาการหนักจนแพทย์พิจารณาให้ยา อาจเลือกเป็นยากิน ยาฉีด เพื่อช่วยลดอาการประสาทหลอน กระสับกระส่าย หรืออาการหวาดกลัว คู่ไปกับการรักษาทางร่างกายในบางรายที่มีอาการเจ็บป่วยทางร่างกายร่วมด้วย เช่น โรคตับ โรคติดเชื้อ หรืออุบัติเหตุต่างๆ เป็นต้น


วิธีลดความเสี่ยงอาการลงแดง

ต้องแก้กันที่ต้นเหตุว่า ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันนานจนเกินไป ไม่ดื่มในปริมาณมากเกินไป หากรู้สึกว่าเมื่อไรที่ขาดแอลกอฮอล์แล้วมีอาการผิดปกติ เช่น มือสั่น หงุดหงิด กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ควรหยุดดื่มทันที

หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอคำปรึกษา สามารถติดต่อได้ที่ สายด่วนเลิกเหล้า 1413 ศูนย์ปรึกษาปัญหาสุราทางโทรศัพท์ (Alcohol Helpline Center) เว็บไซต์ www.1413.in.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook