ฉีดพ่นฆ่าเชื้อ "โควิด-19" บนร่างกาย-ถนน ป้องกันไวรัสได้จริงหรือ?
สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยชี้แจงเรื่อง การฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อลงบนตัวบุคคลหรือสถานที่ เพื่อฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) เอาไว้ดังนี้
ในขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ป่วยโควิด-19 ต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลานานพอสมควร ด้วยความกังวลเรื่องของการ ปนเปื้อนเชื้อในสถานที่สาธารณะต่างๆ และที่พักอาศัย ตลอดจนในร่างกายของผู้ป่วย จึงเกิดการปฏิบัติที่หลากหลายด้วย ความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าจะช่วยทำลายเชื้อ หรือลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น การฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบนร่างกายของ บุคคลทั่วไป ทั้งในลักษณะของการสร้างอุโมงค์ให้เดินผ่านหรือเดินผ่านไปตามทางเดินปกติการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบนถนนหรือ สถานที่สาธารณะต่างๆ ตลอดจนภายในอาคารบ้านเรือนที่พักอาศัยหรือร้านค้า ทางสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ขอเรียนชี้แจง ดังนี้
การฉีดพ่นทําลายเชื้อโควิด-19 บนร่างกายของบุคคล
การฉีดพ่นทําลายเชื้อบนร่างกายของบุคคล ไม่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อการติดเชื้อ เนื่องจากหากบุคคลมีเชื้อไวรัสอยู่ เชื้อจะอยู่ที่ทางเดินหายใจ ซึ่งการพ่นยาฆ่าเชื้อในลักษณะดังกล่าว จะไม่สามารถทำลายเชื้อได้นอกจากนี้ยาฆ่าเชื้อยัง อาจจะเป็นอันตรายต่อคนได้จึงไม่ควรทําโดยเด็ดขาด การป้องกันการแพร่เชื้อที่ถูกต้อง คือการรักษาระยะห่างระหว่าง บุคคล การใช้หน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง และการรักษาความสะอาดของมือ
การฉีดพ่น และอบฆ่าเชื้อด้วยสารเคมีตามสถานที่ต่างๆ เพื่อทําลายเชื้อโควิด-19
ทางสมาคมฯ ยืนยันว่า ไม่มีความจําเป็นที่จะต้องฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อหรืออบฆ่าเชื้อด้วยสารเคมีต่างๆ บนถนน สถานที่สาธารณะ หรืออาคาร บ้านเรือนใดๆ ไม่ว่าในสถานที่นั้นจะมีผู้ป่วยโรคนี้หรือไม่
การปฏิบัติดังกล่าว เป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ เพราะไม่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแต่ประการใด นอกจากนี้หากในบริเวณนั้นมีเสมหะหรือสารคัดหลั่งจากทางเดิน หายใจของผู้ป่วยที่ยังไม่แห้ง การฉีดพ่นน้ำยา อาจทําให้เชื้อฟุ้งกระจายขึ้นมา เป็นอันตรายได้
การทำความสะอาดเพื่อกำจัดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ส่วนกลาง สามารถทำได้ด้วยการปิดพื้นที่ส่วนที่ผู้ป่วยใช้ชั่วคราว แล้วให้เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่ได้รับการอบรมการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อแล้วเข้ามาจัดการ หรือสามารถใช้น้ำผสมน้ำยาฟอกขาวเช็ดทำความสะอาด (พื้นที่ทั่วไป) และปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งอย่างน้อย 15 นาที (ห้องน้ำ โถส้วม และพื้นที่ที่อาจพบสารคัดหลั่ง) ในบริเวณอื่นๆ ที่ผู้ป่วยไม่ได้ใช้งาน สามารถทำความสะอาดด้วยวิธีทั่วไปได้