"ยาปฏิชีวนะ" คืออะไร และมันไม่ใช่ "ยาแก้อักเสบ"

"ยาปฏิชีวนะ" คืออะไร และมันไม่ใช่ "ยาแก้อักเสบ"

"ยาปฏิชีวนะ" คืออะไร และมันไม่ใช่ "ยาแก้อักเสบ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ “ยาปฏิชีวนะ” มันคืออะไร ต่างจากยาปกติอย่างไร และเป็นยาชนิดเดียวกับยาแก้อักเสบหรือไม่ Sanook Health มีคำตอบจาก ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มาบอกกัน


ยาปฏิชีวนะ คืออะไร?

ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) คือ ยารักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย แต่มักถูกเรียกอย่างผิดๆ ว่า ยาแก้อักเสบ เช่น ทอนซิลอักเสบเป็นหนอง


ยาแก้อักเสบ คืออะไร?

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ระบุว่า ยาแก้อักเสบ หรือ ยาต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory drugs) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ลดบวมแดง เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย


เมื่อไรถึงควรกินยาปฏิชีวนะ?

  1. ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่เหมาะสม หรือที่แพทย์แนะนำ เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียก่อโรคให้หมดไป

  2. ไม่หยุดยาก่อนเวลาอันควร เพราะจะทำให้เชื้อโรคไม่ถูกกำจัดไปจนหมด โรคหายไม่สนิท และกลับมาเป็นซ้ำ รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงในการดื้อยาของแบคทีเรีย ที่เป็นต้นเหตุของโรค

  3. ควรกินยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลเสมอ คือกินเมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ไม่กินหากเป็นโรคติดเชื้อไวรัส

  4. ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะต่อจนหมด หากพบว่าเป็นการกินยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผล เช่น กรณีกินยาปฏิชีวนะไปแล้ว และต่อมาพบว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก หรือไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) เพราะการกินยาปฏิชีวนะต่อไปไม่เกิดประโยชน์ มีแต่โทษ


โทษของการกินยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผล คือ

  • เสี่ยงต่ออันตรายของยาโดยไม่เกิดประโยชน์ในการรักษา

  • รบกวนแบคทีเรียดีในร่างกาย และชักนำให้กลายเป็นแบคทีเรียร้ายที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ


ข้อควรจำ: อย่ากินยาปฏิชีวนะอย่างเดาสุ่ม โปรดจำให้แม่นว่าโรคส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ไม่ใช่แบคทีเรีย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook