“กินข้าวไม่ตรงเวลา” เสี่ยงโรค “กระเพาะอาหาร” จริงหรือ?

“กินข้าวไม่ตรงเวลา” เสี่ยงโรค “กระเพาะอาหาร” จริงหรือ?

“กินข้าวไม่ตรงเวลา” เสี่ยงโรค “กระเพาะอาหาร” จริงหรือ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การกินข้าวไม่ตรงเวลา ข้ามมื้ออาหาร กินมื้อกลางวันรวบมื้อเช้า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารหรือไม่?


คิดว่าน่าจะไม่ใช่แค่ตัวผู้เขียนคนเดียวที่เคยได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆ ว่า หากไม่กินข้าวให้ตรงเวลา หรือข้ามมื้ออาหาร ไม่กินข้าวเช้า กินรวบหลายมื้อในมื้อเดียว อาจทำให้เป็นโรคกระเพาะอาหารได้ เรื่องนี้จริงแท้แค่ไหน

 
สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

เชื่อหรือไม่ว่าสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร มาจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เชื้อเอชไพโลไร H. Pylori (Helicobacter Pylori) ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถเกาะเกี่ยวตัวเองไว้กับเยื่อบุผิวกระเพาะ รวมถึงสามารถผลิตด่างขึ้นป้องกันตัวเอง แทรกอยู่ระหว่างช่องเซลล์ของผิวเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะผู้ติดเชื้อนานนับ 10 ปี โดยอาจไม่มีอาการใดๆ

เชื้อแบคทีเรียตัวนี้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอันตรายต่อกระเพาะอาหาร และอวัยวะอื่นๆ ในระบบทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง มะเร็งในกระเพาะอาหาร มะเร็งในหลอดอาหาร รวมไปถึงมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดด้วย

 
เชื้อเอชไพโลไร เข้าสู่ร่างกายของเราได้อย่างไร?

เชื้อเอชไพโลไร สามารถเข้าสู่ร่างกายได้จากพฤติกรรมเหล่านี้

  • รับประทานอาหารดิบ กึ่งสุกกึ่งดิบ หรือของหมักดอง รวมถึงผักสดเป็นประจำ

  • ดื่มน้ำไม่สะอาด

  • อุปกรณ์ประกอบอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ

  • อาศัยในสิ่งแวดล้อมหรือรับประทานอาหารร่วมกับผู้ติดเชื้อ เนื่องจากเชื้อเอชไพโลไร สามารถติดต่อทางน้ำลายและสารคัดหลั่ง

 
น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร กัดเยื่อบุผนังจนเป็นแผลได้ไหม?

น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร กัดกระเพาะอาหารไม่ได้ เพราะในกระเพาะอาหารมีเมือกเคลือบไว้ปกป้องอยู่แล้ว

 
แล้วทำไมโรคกระเพาะอาหารทำให้ปวดท้อง?

อาการปวดท้องที่เกิดขึ้นจากโรคแผลในกระเพาะอาหาร มาจากการที่เชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่บริเวณเยื่อบุอาหาร เมื่อมีจำนวนมากอาจกระตุ้นให้เกิดอาการอักเสบเรื้อรัง และทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากขึ้น เมื่อกระเพาะอักเสบเรื้อรังนาน ผิวกระเพาะอาหารเริ่มฝ่อ ความแข็งแรงของผิวเยื่อบุลดลง ส่งผลให้กระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังหรือเกิดแผลในกระเพาะอาหารหรือในลำไส้เล็ก จนทำให้เกิดอาการปวดท้องได้

ผู้ที่มีอาการของโรคแผลในกระเพาะอาหาร มักพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ที่เยื่อบุกระเพาะอาหารมากถึง 90%

 
อาการของโรคกระเพาะอาหาร

ผู้ติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรมักไม่แสดงอาการ แต่จะพบแพทย์เมื่อมีอาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง เช่น

  • ปวดท้อง 

  • แสบท้อง 

  • แน่นเฟ้อ 

  • รับประทานอาหารแล้วจุก อิ่มแน่น

  • บางรายอาจคลื่นไส้ อาเจียน

 
วิธีรักษาโรคกระเพาะอาหาร

หากมีอาการดังกล่าว และกินยาแล้วเป็นๆ หายๆ ตลอด แพทย์อาจพิจารณาตรวจหาเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร และหากพบเชื้อ แพทย์อาจสั่งยาฆ่าเชื้อให้กิน หากกินยาตามที่หมอสั่งจนสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียนี้ออกไปได้ ก็จะความเสี่ยงต่ำมากที่จะกลับมาเป็นซ้ำ

 
หากเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ยังต้องกินข้าวให้ตรงเวลา

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีแผลในกระเพาะอาหารแล้ว ควรกินข้าวให้ตรงเวลา เพราะหากกินข้าวไม่ตรงเวลา แล้วกระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมา มันไม่ได้ไปกัดเยื่อบุกระเพาะอาหารจนเป็นแผล แต่มันจะไปโดนแผลในกระเพาะอาหารจนเกิดอาการระคายเคืองจนปวดแสบท้องได้นั่นเอง

นอกจากต้องกินข้าวให้ตรงเวลาแล้ว ยังควรลดอาการเผ็ดจัด งดดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ หรืองดกินยาที่มีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหารด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการระคายเคืองแผลในกระเพาะอาหารจนทำให้ปวดแสบท้องนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook