จริงหรือไม่? เป็นไวรัสตับอับเสบบี เสี่ยงเป็นมะเร็งตับเพิ่ม
ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน หัวหน้าหน่วยตรวจ NAT(Nucleic acid testing) ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวถึงกรณีข่าวของนายภูชนก รักไทย ผู้สื่อข่าว สังกัดสถานีข่าว TNN24 ที่ป่วยเป็นมะเร็งตับระยะอันตราย และแพทย์แจ้งว่าเกิดขึ้นจากการได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ผ่านทางกรรมพันธุ์ โดยไขข้อสงสัยว่า หากเป็นไวรัสตับอับเสบบี จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งใยภายหลัง จริงหรือไม่?
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับโรคไวรัสตับอีกเสบบีเพิ่มเติม คลิกที่นี่
ไวรัสตับอับเสบบี ติดเชื่อผ่านกรรมพันธุ์ได้หรือไม่?
“ไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อได้จากทางเลือด จากการติดเชื้อขณะคลอดจากแม่ที่มีเชื้อ และการมีเพศสัมพันธ์ ได้ข่าวว่าครอบครัวของน้องนักข่าวก็มีประวัติติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีด้วย”
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี
“เมื่อได้รับเชื้อนี้เข้าไป เชื้อก็จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆภายในตับ และ ใช้เวลานานเฉลี่ย 1-6 เดือนจึงจะเริ่มมีอาการ ขึ้นอยู่กับว่าใครได้รับเชื้อมากหรือน้อย ได้รับเชื้อจากทางไหน และขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน บางคนก็ไม่มีอาการ
สำหรับผู้ที่มีอาการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน (Acute Infection) ผู้ป่วยอาจมีอาการ เพลีย เบื่ออาหาร หรือมีไข้ต่ำๆได้ ในวันแรกๆ แน่นท้อง ปวดท้อง ตัวเหลือง ตา เหลือง เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนแล้วจะหาย เป็นปกติ”
โอกาสหายจากโรคไวรัสตับอักเสบบี
“โชคดีที่ว่า ผู้ที่ ได้รับเชื้อประมาณ 90-94 % จะหายเป็นปกติ และร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ตลอดชีวิต ที่เราเรียกว่ามีภูมิแล้วนั่นเอง”
แล้วอีก 6-10% ที่เหลือ ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี แล้วไม่หาย?
“เรียกว่าติดเชื้อแบบเรื้อรัง (Chronic Infection) ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสตับ อักเสบบี ได้หมด ยังมีเชื้อหลงเหลืออยู่ในร่างกาย กลายเป็นพาหะเรื้อรัง สามารถแพร่เชื้อได้ตลอดเวลา ตับก็ยังคงทำงานได้ตามปกติ แต่กลุ่มนี้แหละครับ บางส่วนสามารถกลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับได้”
“อย่างไรก็ตามกว่าจะมีอาการรุนแรงขนาดนี้ต่อตับ ผู้ป่วยก็ต้องอยู่ร่วมกับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีนานนมกว่า 10-30 ปีขึ้นไป”
ทั้งนี้ ตามคำบอกเล่าของเจ้าตัว ที่โพสลงเฟซบุ๊ค ถึงอาการเจ็บป่วยบ่อยๆ เช่น เป็นไข้หวัด ปวดท้อง และเริ่มท้องอืด ทานข้าวไม่ลงนั้น เป็นสัญญาณของโรคร้าย ที่เจ้าตัวไม่เคยเอะใจ และพลาดการตรวจร่างกายประจำปี เพราะมัวแต่ทำงาน เพราะฉะนั้น Sanook Health แนะนำว่า ให้ตรวจสุขภาพเป็นประจำ และหมั่นเช็คสภาพร่างกายของตัวเองอยู่เสมอ ว่ามีความผิดปกติอะไรมากกว่าเดิมหรือไม่ อย่าปล่อยให้สายเกินไปเหมือนกับคนอื่นๆ นะคะ
ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ค ทนพ.ภาคภูมิ เดชหัสดิน และ Mee-Pooh Poochanok
ภาพประกอบจาก istockphoto